รู้จัก "ไขกระดูกบกพร่อง" โรคร้ายแรงที่อดีตนางเอกดัง "นิ้ง กุลสตรี" กำลังต่อสู้อยู่

รู้จัก "ไขกระดูกบกพร่อง" โรคร้ายแรงที่อดีตนางเอกดัง "นิ้ง กุลสตรี" กำลังต่อสู้อยู่

รู้จัก "ไขกระดูกบกพร่อง" โรคร้ายแรงที่อดีตนางเอกดัง "นิ้ง กุลสตรี" กำลังต่อสู้อยู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการไขกระดูกบกพร่อง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีการพัฒนาของโรคกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันได้

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลเลิดสิน ชี้กลุ่มอาการไขกระดูกบกพร่องหรือ MDS ไขกระดูกอยู่บริเวณแกนกลางของของกระดูกชิ้นใหญ่ทั่วร่างกาย มีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดทุกชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดโดยภาวะปกติไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดออกมาตลอดเวลา กลุ่มอาการไขกระดูกบกพร่องหรือ MDS เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูกทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดออกมาได้ ส่วนใหญ่พบในคนไข้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และพบได้น้อยมากในคนไข้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี เมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ได้จะเกิดความผิดปกติ ได้แก่ โลหิตจางทำให้มีอาการซีด เม็ดเลือดขาวทำให้ร่างกายภูมิคุ้มกันลดลง เกร็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการไขกระดูกบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน อีกส่วนหนึ่งเกิดหลังจากผู้ป่วยเคยได้รับยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีมาก่อนในอดีต หรือได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น เบนซีน

กลุ่มโรคไขกระดูกบกพร่องนี้ ไม่ได้เป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม จึงไม่ติดต่อสู่คนในครอบครัว การดำเนินโรคกรณีที่โรคเป็นไม่รุนแรง จะมีอัตราการรอดชีวิตอยู่ได้เกิน 6 ปี มักเริ่มจากสร้างเม็ดเลือดตั้งแต่ 1-3 ชนิดได้น้อยลงจนมีอาการโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำและเกร็ดเลือดต่ำ หลังจากนั้นประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีการพัฒนาของโรคกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันได้ซึ่งเป็นชนิดรุนแรง มีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ประมาน 5 เดือน

นายแพทย์ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาในกรณีที่โรคเป็นไม่รุนแรงและไม่ได้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน โดยทั่วไปจะให้การรักษาโดยให้เลือด เกล็ดเลือด และยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดขาวหรือเม็ดเลือดแดงขึ้น กับชนิดของเม็ดเลือดผู้ป่วยที่ต่ำ ซึ่งเป็นการรักษาแบบประคับประคอง แต่ในกรณีที่โรคเป็นรุนแรงหรือเริ่มกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน การรักษาคือการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ซึ่งสามารถทำให้หายขาดได้

อย่างไรก็ตามจะสามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ในกรณีที่ไม่สามารถปลูกถ่ายไขกระดูกได้ อาจให้ยากลุ่มเคมีบำบัดแบบฉีดบางชนิด ร่วมกับการรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้เม็ดเลือดกลับมาใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook