นักวิทย์ชี้ “คลื่นความร้อน” ในไซบีเรีย มีแนวโน้มเกิดจากฝีมือมนุษย์

นักวิทย์ชี้ “คลื่นความร้อน” ในไซบีเรีย มีแนวโน้มเกิดจากฝีมือมนุษย์

นักวิทย์ชี้ “คลื่นความร้อน” ในไซบีเรีย มีแนวโน้มเกิดจากฝีมือมนุษย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นับตั้งแต่ต้นปี 2020 ไซบีเรียต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน รายงานชิ้นใหม่ระบุว่า อุณหภูมิในเขตอาร์กติกสูงถึง 38 องศาเซลเซียส ซึ่งวัดจากเมืองเวียร์โคยันสค์ ประเทศรัสเซีย แต่จากการวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ พบว่า คลื่นความร้อนที่โจมตีไซบีเรียในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีกิจกรรมของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์สภาพอากาศชี้ให้เห็นว่า ความร้อนที่กินเวลายาวนานในไซบีเรีย ตั้งแต่เดือนมกราคม มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ได้ถึง 600 เท่า ซึ่งทีมวิจัยระบุว่า ผลการวิเคราะห์ครั้งนี้ถือเป็นผลลัพธ์ที่แข็งแกร่งที่สุดในการศึกษาวิจัยของ World Weather Attribution ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

คลื่นความร้อนในไซบีเรีย ส่งผลให้อุณหภูมิในพื้นที่นี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 5 องศาเซลเซียส ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จนทำให้ปีนี้กลายเป็นหนึ่งในปีที่ร้อนที่สุดของเขตอาร์กติก ทั้งยังก่อให้เกิดไฟป่า ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายล้านตันขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และนำไปสู่ภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังส่งผลให้ “ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว” (Permafrost) ละลาย ทำให้ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเสียหาย และน้ำมันจำนวนมากรั่วไหลในเดือนพฤษภาคม รวมทั้งเกิดการระบาดของผีเสื้อกลางคืน ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชของไซบีเรีย

นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ทั้งสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ได้ใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ในการหาสาเหตุของคลื่นความร้อนในไซบีเรีย และตรวจสอบอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของไซบีเรีย รวมทั้งอุณหภูมิสูงสุดรายวันของเมืองเวียร์โคยันสค์ ประเทศรัสเซีย ในเดือนมิถุนายน

แม้ว่าจะมีวิกฤตเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเกิดจากอิทธิพลของกระแสลมกรดในช่วงฤดูหนาว ที่ก่อให้เกิดสภาพอากาศที่อุ่นขึ้นและทำให้หิมะและน้ำแข็งละลาย ก็ยังไม่มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อน โดยจากเงื่อนไขนี้ คลื่นความร้อนจะเกิดขึ้นทุก 130 ปี และเมื่อไม่มีกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ โดยคลื่นความร้อนนี้จะเกิดขึ้นทุกๆ 80,000 ปี

หัวหน้าทีมวิจัย แอนดรูว์ เซียวาเรลลา จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า คลื่นความร้อนและอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเกิดขึ้นได้ทั้งตามธรรมชาติ และมนุษย์เองก็มีส่วนในการกำหนดว่าอากาศจะร้อนแค่ไหน ช่วงอากาศร้อนจะเกิดขึ้นเมื่อไร และจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งแค่ไหน

“เราพบว่าอุณหภูมิที่ภูมิภาคนี้เผชิญอยู่ตลอดระยะเวลา 6 เดือน มีแนวโน้มอย่างน้อย 600 เท่า ที่จะเกิดจากฝีมือมนุษย์ และเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง”

ด้าน ดร.ฟรีเดอริค ออตโต รักษาการผู้อำนวยการสถาบันการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมของอ็อกซ์ฟอร์ด และผู้ร่วมวิจัยในโครงการของ World Weather Attribution ระบุว่า การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นเกี่ยวข้องกับคลื่นความร้อนมากแค่ไหน และปรากฏการณ์คลื่นความร้อนก็ถือเป็นปรากฏการณ์ด้านสภาพอากาศที่เป็นอันตรายอย่างมากในหลายพื้นที่ทั่วโลก ที่เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook