UN ชี้ “ปัญหาความไม่เท่าเทียม” ของโลกถึง “จุดแตกหัก” แล้ว
Thailand Web Stat

UN ชี้ “ปัญหาความไม่เท่าเทียม” ของโลกถึง “จุดแตกหัก” แล้ว

UN ชี้ “ปัญหาความไม่เท่าเทียม” ของโลกถึง “จุดแตกหัก” แล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) เตือนว่า โลกของเรากำลังอยู่ใน“จุดแตกหัก” และเรียกร้องให้สร้างธรรมาภิบาลโลก (Global Governance) รูปแบบใหม่ เพื่อจัดการกับปัญหาความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 โดยกูเตอร์เรสชี้ว่า การระบาดของโรคโควิด-19 “เชื่อมโยงกับการเปิดเผยโครงสร้างอันบอบบางของสังคมที่เราทุกคนสร้างขึ้น”

โควิด-19 กำลังเผยให้เห็นการหลอกลวงและความเท็จที่ปรากฏอยู่ในทุกหนทุกแห่ง เช่น คำโกหกที่ว่า ตลาดเสรีจะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ หรือนิยายที่บอกว่า งานผู้ดูแลที่ไม่ได้รับเงินตอบแทนไม่ใช่งาน ไปจนถึงภาพลวงตาที่แสดงว่า เราอยู่ในโลกที่ไม่มีการเหยียดเชื้อชาติอีกต่อไป และความเชื่อที่ว่า เราทุกคนอยู่บนเรือลำเดียวกัน” กูเตอร์เรสกล่าว

เขาระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม มีทั้งการเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบ มรดกของลัทธิอาณานิคม ระบบชายเป็นใหญ่ ช่องว่างการเข้าถึงเทคโนโลยี และความไม่เท่าเทียมเรื่องธรรมาภิบาลโลก ทั้งนี้ กูเตอร์เรสยังมองว่า การรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 นั้น “ต้องขึ้นอยู่กับสัญญาทางสังคมฉบับใหม่และข้อตกลงระดับโลก ที่จะช่วยสร้างโอกาสที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน รวมทั้งเคารพในสิทธิและเสรีภาพของทุกคน” ทั้งนี้ สัญญาและข้อตกลงใหม่นี้จะนำไปสู่ความร่วมมือที่เท่าเทียมและครอบคลุมในสถาบันต่าง ๆ ของโลก โลกาภิวัฒน์ที่มีความยุติธรรม น้ำเสียงที่หนักแน่นของประเทศกำลังพัฒนาในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ และระบบการแลกเปลี่ยนพหุภาคีที่สมดุลมากขึ้น

Advertisement

ยิ่งไปกว่านั้น กูเตอร์เรสยังกล่าวว่า ประเทศพัฒนาแล้วจดจ่ออยู่กับการลงทุนเพื่อความอยู่รอดของตัวเองเท่านั้น และ “ล้มเหลวที่จะให้การช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ในช่วงเวลาที่แสนอันตราย” และสิ่งที่โลกต้องการมากที่สุดในตอนนี้ คือ “การคุ้มครองทางสังคม” ซึ่งรวมไปถึงการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า และการจัดสรรรายได้ขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชน ขณะที่การใช้เงินเพื่อการศึกษาในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ ต้องมีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นภายในปี 2030 เช่นเดียวกับปัญหาโลกร้อนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากให้กับสิ่งแวดล้อม รัฐบาลก็ควรเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ให้มากขึ้น แทนที่จะเรียกเก็บจากประชาชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้