“วัวเรอ” ปัจจัยที่ทำให้ระดับการปล่อย “ก๊าซมีเทน” ทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น

“วัวเรอ” ปัจจัยที่ทำให้ระดับการปล่อย “ก๊าซมีเทน” ทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น

“วัวเรอ” ปัจจัยที่ทำให้ระดับการปล่อย “ก๊าซมีเทน” ทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่า การปล่อยก๊าซมีเทนมีระดับที่สูงขึ้นมาก เนื่องจากการเกษตรกรรม การใช้เชื้อเพลงฟอสซิล และการคมนาคมที่ขยายตัวมากขึ้น นักวิจัยจาก Global Carbon Project ได้แสดงแบบจำลองภูมิอากาศโลก ที่ชี้ว่า หากระดับของก๊าซมีเทนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น 4-5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100

ในการศึกษาวิจัย นักวิจัยได้เก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซมีเทน ในระหว่างปี 2000 ถึง 2017 และเตือนว่าวิถีการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซในปัจจุบัน จะนำไปสู่ “การเริ่มต้นอุณหภูมิที่เป็นอันตราย” ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น ไฟป่า น้ำท่วม และภัยแล้ง หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การอพยพย้ายถิ่นฐาน และภาวะข้าวยากหมากแพง จะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ก๊าซมีเทนยังส่งผลต่อการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 100 ปี ขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของกิจกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์ทำ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งสิ้น

ระดับการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก พุ่งสูงขึ้นกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี 2000 ทั้งนี้ “การปศุสัตว์” ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระดับของก๊าซีเทนเพิ่มสูงขึ้น

“การปล่อยก๊าซมีเทนจากการปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีปริมาณที่มากเท่า ๆ กับอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเลยทีเดียว” Rob Jackson หัวหน้านักวิจัยในครั้งนี้ กล่าว ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังได้ระบุว่า ภาคเกษตรกรรมปล่อยก๊าซมากกว่า 2 ใน 3 ของปัจจัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว หรือการเผาไหม้ชีวมวล

แม้ว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนจะลดลงในช่วงการล็อกดาวน์เพื่อยับยั้งการระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากต้องปิดโรงงานอุตสาหกรรม และไม่อนุญาตให้มีการเดินทาง แต่ Jackson ก็ชี้ว่า การล็อกดาวน์ไม่ได้ทำให้ระดับของการปล่อยก๊าซมีเทนลดน้อยลง “เนื่องจากเรายังเปิดฮีตเตอร์ในบ้านและในอาคาร รวมทั้งภาคการเกษตรก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป”

แอฟริกาและตะวันออกกลาง ประเทศจีน เอเชียใต้ และโอเชียเนีย มีระดับการปล่อยก๊าซมีเทนที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ขณะที่สหรัฐอเมริกาตามมาติด ๆ ส่วนยุโรปกลับ ทวีปเดียวที่ระดับการปล่อยก๊าซมีเทนลดลง เนื่องจากประสิทธิภาพของภาคเกษตรกรรม และการลดการปล่อยก๊าซจากโรงงานเคมี

“นโยบายและการจัดการที่ดี ทำให้การปล่อยก๊าซจากการกำจัดขยะมูลฝอยและปุ๋ยคอกลดน้อยลง ขณะเดียวกัน ผู้คนก็เริ่มกินเนื้อน้อยลงด้วย” Marielle Saunois ผู้เขียนบทความวิชาการใน Earth System Science Data กล่าว อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็ระบุว่า การหาที่มาของการปล่อยก๊าซมีเทนตามธรรมชาติ เป็นเรื่องยากเมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์

นอกจากนี้ นักวิจัยยังชี้ว่า การลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนสามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งคือ มนุษย์ต้องลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และควบคุมการปล่อยก๊ายจากท่อที่มีรอยรั่ว รวมถึงบ่อพักน้ำเสีย ขณะที่ Jackson มองว่า โดรน ดาวเทียม และเครื่องบิน สามารถทำหน้าที่จับตาดูบ่อพักน้ำเสียได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่ในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ยังสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มได้อีกด้วย เช่น ใช้สาหร่ายเลี้ยงวัว เพื่อลดปริมาณการเรอก๊าซมีเทนของวัว เป็นต้น ทั้งนี้ เบอร์เกอร์คิง (Burger King) ได้ประกาศใช้ตะไคร้เลี้ยงวัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเปลี่ยนแปลงอาหารวัวของเบอร์เกอร์คิงในครั้งนี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนของวัวได้มากถึง 33 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook