สมช.โชว์แมน ไม่ใช้มาตรา 9 ควบคุมการชุมนุม ยัน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่หวังผลการเมือง

สมช.โชว์แมน ไม่ใช้มาตรา 9 ควบคุมการชุมนุม ยัน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่หวังผลการเมือง

สมช.โชว์แมน ไม่ใช้มาตรา 9 ควบคุมการชุมนุม ยัน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่หวังผลการเมือง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมช.ยันต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉิน 1 เดือนไม่ได้หวังผลทางการเมือง ยืนยันบริสุทธิ์ใจจะยกเว้น "มาตรา 9" ให้ทุกการชุมนุม กันไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานการณ์

วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 - พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยหลังการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยรายวัน ถึงประเด็นศบค.ชุดใหญ่ ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 1 เดือน โดยยืนยันว่า ศบค.ไม่ได้หวังผลทางการเมือง หรือใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อเข้าควบคุมกลุ่มนักศึกษาที่มาชุมนุมทางการเมือง หรือกลุ่มใดที่จะชุมนุมก็ตาม ดังนั้น เพื่อให้เกิดการยืนยันที่ชัดเจน จึงเสนอให้ "ยกเว้น" การใช้อำนาจตามมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะให้อำนาจเข้าควบคุมการชุมนุมทางการเมืองใดๆ ทั้่งสิ้น

"รัฐบาลยึดเอาเรื่องสุขภาพของคนไทย และเศรษฐกิจของชาติเป็นหลัก แต่สำหรับการชุมนุมจะมีการเสนอให้ยกเว้นมาตรา 9 เอาไว้ แต่ก็ให้ใช้กฎหมายตามปกติ คือ พ.ร.บ.การชุมนุม และพ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อในการดูแล แต่ทั้งนี้ การชุมนุมก็ต้องปฏิบัติตามการป้องกันโรคด้วย" พล.อ.สมศักดิ์ กล่าว

วันเดียวกัน แฟนเพจเฟซบุ๊ก “มอกะเสด (KU Daily)” ซึ่งคาดว่าเป็นของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์เชิญชวนประชาชน และนักศึกษา ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ถึงอำนาจประชาชนโดยพร้อมเพรียงกันในงานชุมนุมใหญ่ครั้งนี้ โดยประกาศว่า

“ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” และจบเรื่องเลวร้ายนี้ให้ได้ในยุคสมัยของเรา โดยจะจัดขึ้น ณ หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป

ทั้งนี้ การชุมนุมดังกล่าว เกิดขึ้นหลังกลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย (สนท.) และกลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้จัดกิจกรรมชุมนุม เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยการชุมนุมดังกล่าวนั้น อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการชุมนุมทางการเมือง ที่มีผู้ร่วมชุมนุมมากกว่า 2,000 คน ซึ่งถือว่าอาจจะมากที่สุดครั้งหนึ่ง ตั้งแต่มีการชุมนุมหลังการรัฐประหารปี 2557 ด้วยข้อเรียกร้อง 3 ข้อคือ หยุดคุกคามคนเห็นต่าง ยุบสภา และ แก้รัฐธรรมนูญ

ขณะที่หลังจากการชุมนุมนี้จบลง ในเวลา 00.00 น. ของวันที่ 19 ก.ค. แต่กระแสการต่อต้านรัฐบาล กลับลุกลามไปทั่วประเทศ โดยในเย็นวันเดียวกัน (19 ก.ค.) เกิดการชุมนุมที่ ตัวเมือง จ.เชียงใหม่ และ จ.อุบลราชธานี ซึ่งก็มีผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมาก นับพันคนเช่นกัน และต่อมาได้มีการนัดชุมนุมหลายจุดทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย ทั่วประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม เมื่อโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป มีชาวเน็ตร่วมถึงเพื่อนนิสิต นักศึกษาต่างเข้ามากดไลก์กดแชร์และเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook