วัดดังเชียงใหม่บูรณะประตูอายุกว่า 100 ปี ลบลวดลายโบราณทิ้ง อ้างเดี๋ยววาดใหม่ลายเดิม

วัดดังเชียงใหม่บูรณะประตูอายุกว่า 100 ปี ลบลวดลายโบราณทิ้ง อ้างเดี๋ยววาดใหม่ลายเดิม

วัดดังเชียงใหม่บูรณะประตูอายุกว่า 100 ปี ลบลวดลายโบราณทิ้ง อ้างเดี๋ยววาดใหม่ลายเดิม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วัดดังเชียงใหม่บูรณะบานประตูโบราณ ลบลวดลายทิ้งเกลี้ยง อาจารย์ มช. ชี้แค่ทำความสะอาดก็พอแล้ว

(26 ก.ค.63) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Bos Za นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์ภาพบานประตูโบราณอายุร้อยกว่าปี ภายในวิหารวัดหมื่นล้าน ประตูท่าแพชั้นในเมืองเชียงใหม่ ถูกบูรณะด้วยการลบทิ้งลวดลายจดหมดสิ้น แม้จะคัดลอกลายเพื่อเขียนขึ้นใหม่ในแบบฉบับเดิม แต่ก็ถูกตั้งคำถามถึงการบูรณะในลักษณะนี้ ซึ่งทำให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์สูญหายไป

โดยระบุว่า “เมื่อวันก่อนเข้าไปเยี่ยมชมการบูรณะพระวิหารวัดหมื่นล้าน ประตูท่าแพชั้นในเมืองเชียงใหม่ บานประตูนี้เป็นบานประตูที่ทำด้วยเทคนิคการทำลายรดน้ำ (เป็นหนึ่งในไม่กี่บานที่มีขนาดใหญ่และเป็นบานของวิหารหลักของวัดในเชียงใหม่ที่ยังเหลือ)”

ตรงที่ประตูมีการจารึกเป็นตัวธรรมล้านนาว่า “พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ แล จุลศักราช ๑๒๗๙ เดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๔ ได้สลางหน้ามุกวิหารหนังนี้ นิพพานปจฺจโยโหตุโนนิจจํ”

จากจารึกแล้วบานนี้ได้เขียนสร้างถวายพร้อมมุกหน้าพระวิหาร (ต่อเติมจากหลังเดิม) ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นบานประตูที่มีอายุไล่เลี่ยกันมาตลอดกับวันในเชียงใหม่หลายที่ แต่ในปัจจุบันเนื้องานโบราณได้รับการบูรณะด้วยการทำพื้นงานใหม่ทับลงไปบนงานโบราณ โดยได้รับข้อมูลมาว่าได้คัดลอกลายและจะเขียนขึ้นใหม่ในแบบฉบับเดิม

บทเรียนครั้งนี้เราทุกท่านขออย่ามองข้าม เพราะต่อไปอาจมีแบบนี้เกิดขึ้นอีกที่ไหนก็ได้ขอท่านทั้งหลายมองเป็นบทเรียน “การปล่อยให้สิ่งที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นโดยไม่ทำอะไรเลยเท่ากับการสนับสนุนสิ่งนั้น” จะเสียดายก็แต่ว่างานโบราณนั้นไม่ได้ถูกการรักษาเนื้องานชั้นครูและเรื่องราวผ่านกาลเวลาเอาไว้ ประตูบานนี้คงอยู่ในมโนสำนึกสืบไป"

ต่อมาผู้ใช้เฟซบุ๊ก Momosang Kung ของ ผศ.สุรชัย จงจิตงาม อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มาคอมเมนต์ว่า

“ประตูลายรดน้ำที่วัดหมื่นล้านอายุตามจารึกก็ร้อยกว่าปี ถือว่าเก่าแก่มาก แม้ว่าสภาพจะซีดจางตามกาลเวลา แต่ลวดลายก็ยังชัดเจนอยู่มาก เนื้อไม้ก็ยังดีอยู่ ปัญหา คือ สภาพก่อนโดนลบมันยับเยินเสียหายหนักจนกระทั่งถึงกับต้องเขียนใหม่เลยหรือ

ซูมจากภาพที่แชร์กัน (และก็เคยขี่รถผ่านไปดูอยู่บ้าง) รอยชำรุดเหล่านั้น น่าจะสามารถเช็ดทำความสะอาดได้อยู่ ฝากสาธารณชนช่วยตรวจสอบกระบวนการการทำงานบูรณะ "ก่อนที่จะลบทิ้ง" ว่าดำเนินการกันอย่างไร เหมาะสมไหม...เพราะที่จริง ไม่จำเป็นต้องลบทิ้งเขียนใหม่ ของเก่าอายุร้อยกว่าปี ถึงเขียนเส้นใหม่ ก็อปปี้อย่างไรลายเส้นลายมือก็จะไม่เหมือนเดิมแน่นอน ได้เพียงเค้าโครงเท่านั้น ถ้าอยากได้ของที่ใหม่ปิ๊ง ก็ควรถอดบานเดิมเก็บแล้วเขียนใหม่ อย่างกรณีบานประตูวิหารวัดดวงดีครับ

ลายเส้นพู่กันร้อยกว่าปี มีสภาพตามที่เห็น แจ่มชัดขนาดนี้ ลองถามแต่ละท่านดูว่ามันถึงขนาดต้องลบทิ้งจริงๆ เหรอ ...การอนุรักษ์สิ่งสำคัญคือความเป็นเนื้อแท้”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook