หมอฟันงงทั้งประเทศ ยันวงการทันตกรรมเลิกใช้ "โคเคน" ในการรักษาฟันมานานแล้ว

หมอฟันงงทั้งประเทศ ยันวงการทันตกรรมเลิกใช้ "โคเคน" ในการรักษาฟันมานานแล้ว

หมอฟันงงทั้งประเทศ ยันวงการทันตกรรมเลิกใช้ "โคเคน" ในการรักษาฟันมานานแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทันตแพทย์พร้อมใจยืนยัน "โคเคน" ใช้ในการรักษาฟันเมื่อ 150 ปีก่อน ปัจจุบันเลิกใช้ไปนานแล้ว

จากกรณีพนักงานสอบสวน คดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ถึงสาเหตุที่ไม่แจ้งข้อหาพบสารแปลกปลอมที่เกิดจากยาเสพติดในร่างกายของผู้ต้องหา ทั้งที่มีผลตรวจทางนิติเวชวิทยายืนยันจากการตรวจเลือดของนายวรยุทธ 

โดยให้เหตุผลว่า ทันตแพทย์ยืนยันว่า ได้ให้ยาที่มีส่วนผสมของโคเคนในการรักษาทำฟัน ซึ่งเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปผสม จะทำให้เกิดสารแปลกปลอมดังกล่าวในร่างกาย แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจน และไม่มีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่า สารดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรักษาฟันจริงหรือไม่ เป็นการชี้แจงปากเปล่าเท่านั้น

เพจเฟซบุ๊ก ห้องทำฟันหมายเลข 10 ระบุว่า "เรื่องนี้จะไม่แปลกถ้าเป็นเมื่อ ศตวรรษที่ 18 !!! หมอฟันคนนั้นต้องนั่งไทม์แมชชีนมาแน่นอน

หนึ่งในยาที่ใช้มากที่สุดในทางทันตกรรม คือ ยาชา โดยยาชาตัวแรกที่นำมาใช้ทางการแพทย์คือโคเคน (cocaine) ในปี ค.ศ. 1859 (150 ปีมาแล้ว!!!) แต่ด้วยข้อเสียของโคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปี ค.ศ. 1904

แต่ในปี ค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก cocaine และ procaine ได้แก่ lidocaine และมียาชาที่พัฒนาต่อเนื่องตามมาได้แก่ mepivacaine (ค.ศ. 1965) prilocaine (ค.ศ. 1983; ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศไทย) และ articaine (ค.ศ. 2000)

โดยยาชาทั้งสามกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับโคเคน"

ทางด้าน เพจเฟซบุ๊ก ใกล้หมอฟัน ระบุว่า "การรักษาทางทันตกรรมปัจจุบันเราไม่ใช้โคเคนแล้วครับ มีการใช้โคเคนเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เพื่อใช้ระงับอาการปวดจากการทำฟันตัวแรกๆ แต่โคเคนได้เสื่อมความนิยมลงเพราะขนาดที่ใช้รักษาใกล้เคียงกับขนาดที่เป็นพิษและฤทธิ์เสพติด ซี่งไม่มีการใช้แล้วในปัจจุบันสำหรับใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในงานทันตกรรมการรักษาทางทันตกรรมโดยเฉพาะการใช้ยาชาเฉพาะที่ ในปัจจุบัน จะใช้สารที่พัฒนาจากโคเคน ที่มีความปลอดภัย หรือมีพิษน้อยกว่า เช่น ลิโดเคน เมพิวาเคน อะทิเคน ซึ่งยาชาที่เราฉีด จะไม่ฉีดเข้าเส้นเลือด แต่จะฉีดเพื่อให้ยาซึมซับระงับอาการเจ็บปวดบริเวณฟัน หรือเส้นประสาทตรงบริเวณนั้น อ้างอิงจากเอกสารสอนทันตกรรมเรื่องยาชาในทางทันตกรรม อาจารย์อุดมรัตน์ เขมาลีลากุล ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook