ทันตแพทย์ผู้รักษา "บอส อยู่วิทยา" ย้ำชัดยาชาไม่มี "โคเคน" ยันบอกตำรวจแล้วเมื่อ 8 ปีก่อน

ทันตแพทย์ผู้รักษา "บอส อยู่วิทยา" ย้ำชัดยาชาไม่มี "โคเคน" ยันบอกตำรวจแล้วเมื่อ 8 ปีก่อน

ทันตแพทย์ผู้รักษา "บอส อยู่วิทยา" ย้ำชัดยาชาไม่มี "โคเคน" ยันบอกตำรวจแล้วเมื่อ 8 ปีก่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีพนักงานสอบสวน คดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ถึงสาเหตุที่ไม่แจ้งข้อหาพบสารแปลกปลอมที่เกิดจากยาเสพติดในร่างกายของผู้ต้องหา ทั้งที่มีผลตรวจทางนิติเวชวิทยายืนยันจากการตรวจเลือดของนายวรยุทธ 

ผลการตรวจพิสูจน์สารแปลกปลอมภายในร่างกายของนายวรยุทธ อยู่วิทยา พบสารในร่างกาย 4 ชนิด โดย 2 ชนิดเป็นยานอนหลับและกาแฟ ส่วนอีก 2 ชนิด เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายโคเคนระบุชื่อสารเบนซอยเลคโกไนน์ จากการเสพโคเคน โดยปกติจะไม่พบปนอยู่ในยาหรืออาหาร อยู่ในเลือดได้นาน 18-24 ชั่วโมง และ สาร Cocaethylene เกิดจากการเสพโคเคนร่วมกับแอลกอฮอล์

ทันตแพทย์เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภา อธิบายว่ายาชาที่ใช้โคเคนในงานทันตกรรม ใช้เมื่อ 161 ปี มาแล้ว เรียกว่ากลุ่มเอสเตอร์ หลังจากนั้นในปี 1905 หรือ 115 ปีก่อน ยาชาก็ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยไม่ใช้โคเคนอีกต่อไป เนื่องจากโคเคนส่งผลข้างเคียงต่อคนไข้จึงเปลี่ยนมาใช้ยาชากลุ่ม เอมายน์ เช่นลิโดเคน เมพิวาเคน และอาติเคน และโครงสร้างโมเลกุลก็แตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง ผู้ได้รับยาชา กับโครงสร้างโมเลกุลที่พบจากการตรวจเลือดนายวรยุทธ ซึ่งพบว่ามีโคเคนและโคเคนผสมกับแอลกอฮอล์ 

ทันตแพทยสภา ระบุว่า ทันตแพทย์ผู้รักษานายวรยุทธยืนยันว่าได้รักษาทันตกรรมให้นายวีระยุทธ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 ก่อนเกิดอุบัติเหตุ 5 วัน ส่วนยาชาที่ใช้คือ เมพิวาเคน (Mepivacaine) และจ่ายยา อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) จำนวน 15 เม็ด โดยไม่มียาที่มีส่วนประกอบของโคเคน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดตำรวจได้เดินทางมาสอบปากคำที่คลินิก และทันตแพทย์ผู้รักษาก็ได้ให้ข้อมูลทั้งหมดกับตำรวจไปเมื่อ 8 ปี ที่แล้ว

ซึ่งทันตแพทย์ที่รักษาเป็นแพทย์ที่รักษาประจำของนายวรยุทธ ขณะนี้อยู่ต่างจังหวัดแต่ก็พร้อมหากมีการเรียกมาให้ข้อมูล ขณะที่ พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณ ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการฯ ชี้แจงว่าทันตแพทย์ผู้รักษานายวรยุทธให้ปากคำตั้งแต่แรกว่าไม่ส่วนผสมโคเคนในยารักษา แต่พนักงานสอบสวนได้นำผลการตรวจไปสอบสวนอีกทั้งจากแพทย์ของ 2 โรงพยาบาล จนได้ความเห็นว่าเกิดจากยาปฎิชีวนะ ที่อาจส่งผลลวงต่อการตรวจหรือเป็นสารเสพติดจริง เมื่อนำมาพิจารณาในคณะสอบสวนแล้วเห็นว่าสารทั้ง 2 ชนิด ไม่ถูกบัญญัติว่าเป็นสารที่ผิดกฎหมายจราจร จึงไม่ได้แจ้งข้อหา แต่ได้ทำรายงานความเห็นเรื่องนี้ส่งไปยังอัยการแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook