เผยนาทีช้างโขลงแม่มารับลูกช้างพลัดหลง ยื่นงวงแตะกัน แต่เจ้าตัวเล็กยังไม่ยอมตามไป

เผยนาทีช้างโขลงแม่มารับลูกช้างพลัดหลง ยื่นงวงแตะกัน แต่เจ้าตัวเล็กยังไม่ยอมตามไป

เผยนาทีช้างโขลงแม่มารับลูกช้างพลัดหลง ยื่นงวงแตะกัน แต่เจ้าตัวเล็กยังไม่ยอมตามไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช้างโขลงแม่มารับลูกช้างพลัดหลงห้วยขาแข้ง ยื่นงวงแตะกัน แต่ลูกช้างยังห่วงคอกไม่ยอมตามโขลงไป

(30 ก.ค.63) นางสาวอังสนา มองทรัพย์ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานความคืบหน้าจากการเตรียมปล่อยลูกช้างห้วยขาแข้ง จากนายรังสิต เหล่าพิมพา หัวหน้าชุดเฝ้าระวังช่วยเหลือลูกช้าง ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ประจำหอต้นผึ้ง ว่าในช่วงเวลา 18.00-19.00 น. ของวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 มีช้างตัวผู้เดินเข้ามาสำรวจที่บริเวณคอกก่อน 1 ตัว มีการร้องตอบรับกันในช่วงเวลาแรก และช้างตัวผู้มีการเดินเอางวงมาสัมผัสกับงวงตัวลูกช้างพลัดหลง

หลังจากนั้นก็เดินกลับไปหาฝูงที่หากินอยู่บริเวณข้างหอต้นผึ้ง ต่อมา เวลา 19.18-21.30 น. มีกลุ่มโขลงช้าง วนกลับมาที่หน้าคอกลูกช้างพลัดหลงอีกรอบ รวมแล้วนับได้ 18 ตัว มีการส่งเสียงร้องตอบโต้กันบ้างในบางครั้งแต่ไม่บ่อยนัก ตัวเล็กที่อยู่ในฝูงมีพฤติกรรมที่อยากจะเข้ามาเล่นกับลูกช้างพลัดหลง แต่โดนช้างในโขลงปรามๆ โดยดึงหางไว้บ้าง ต้อนให้เกาะกลุ่มอยู่ในโขลงบ้าง ส่วนลูกช้างพลัดหลงยังแสดงอาการนิ่ง และเงียบ มีการร้องกลับไปบ้างเป็นครั้งคราวเท่านั้น

เช้าของวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เวลา 05.00-07.30 น. เริ่มได้ยินเสียงโขลงช้างหักไม้ไผ่และส่งเสียงร้อง ดังเข้ามาในระยะใกล้หอต้นผึ้ง อีกครั้ง สักพักเสียงค่อยๆ เงียบลงอีก และเวลา 10.15-15.35 น. ได้ยินเสียงโขลงช้างส่งเสียงร้องดังมาในระยะใกล้รอบหอต้นผึ้ง ลูกช้างพลัดหลงร้องตอบบ้างเป็นครั้งคราว

ขณะนี้ ทางเจ้าหน้าที่ ยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์ เฝ้าดูแลลูกช้างอย่างต่อเนื่องต่อไป มีการจัดชุดเจ้าหน้าที่จุดสกัดที่ 3 (ห้วยก้อย) ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 2 นาย และเจ้าหน้าที่จากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 1 นาย และเสริมชุดเฝ้าระวังเพิ่มเติม อีก 5 นาย ไว้เพื่อเป็นชุดสำรองเคลื่อนที่เร็วในการเฝ้าระวังช้างโทนและกลุ่มสัตว์ผู้ล่า

จากการที่โขลงช้างเข้ามาหาลูกช้างแบบใกล้ชิต และมีช้างบางตัวมาแตะงวงกับลูกช้างแล้ว ดร.ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ ผู้อำนวยการส่วนสารสนเทศด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการปล่อยลูกช้างคืนป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บอกว่าถือเป็นสัญญาณที่ดี แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า อย่าตัดใจว่าโขลงไม่รับแล้ว ให้ใจเย็นๆ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ช้างจะใช้เวลาในการสื่อสารกัน บางตัวเร็ว แต่บางตัวใช้เวลานานหลายวัน ส่วนตัวเชื่อว่า ช้างโขลงแม่จะวนมารับลูกช้างไปอยู่กับฝูง จนสำเร็จ

ทั้งนี้ นายสมโภชน์ ดวงจันทราศิริ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ได้ทำการตรวจสอบระบบวิทยุ VHF ที่ติดอยู่ตรงขาหลังขวาของลูกช้างพลัดหลง ตรวจสอบพบว่าสามารถตอบสนองกลับมาของสัญญาณได้ไกลสุดที่ระยะ แค่ 80 เมตร จะได้ประสาน สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แก้ไข หรือเปลี่ยนวิทยุตัวใหม่ เพื่อไว้ใช้ตามติดลูกช้าง กรณีแม่ช้างมารับได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook