ภาพถ่ายดาวเทียมเผยพื้นที่รอบโกดังท่าเรือกรุงเบรุตเสียหายหนัก หลังเจอระเบิดครั้งใหญ่

ภาพถ่ายดาวเทียมเผยพื้นที่รอบโกดังท่าเรือกรุงเบรุตเสียหายหนัก หลังเจอระเบิดครั้งใหญ่

ภาพถ่ายดาวเทียมเผยพื้นที่รอบโกดังท่าเรือกรุงเบรุตเสียหายหนัก หลังเจอระเบิดครั้งใหญ่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหตุระเบิดรุนแรงครั้งใหญ่ในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันอังคารที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย รวมถึงยังสร้างความเสียหายอย่างหนักเป็นวงกว้าง

ล่าสุด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยภาพจากดาวเทียมไทยโชต ซึ่งบันทึกภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 15:22 น. เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดเหตุระเบิด

จากภาพแสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดของโกดังเก็บสารแอมโมเนียมไนเตรตในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลาประมาณ 18.00 น. ตามเวลาของกรุงเบรุต หรือตรงกับเวลา 22.00 น. ของไทย โดยแรงระเบิดส่งผลให้หลายพื้นที่โดยรอบโกดังได้รับความเสียหายอย่างหนัก

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายพื้นที่รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนดังกล่าว แรงระเบิดครั้งนี้ทำให้พื้นดินเกิดการสั่นไหว เปรียบเทียบได้กับแผ่นดินไหวขนาด 3.3 ริกเตอร์อีกด้วย

ข้อมูลภาพจากดาวเทียม ยังเผยให้เห็นอีกว่า อาคารในพื้นที่ใกล้จุดเกิดเหตุได้รับความเสียหายอย่างหนัก บางแห่งถึงกับถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง หรือแม้กระทั่งยานพาหนะ อาคาร บ้านเรือน ที่อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุถึง 10 กิโลเมตร ยังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนี้

ทั้งนี้ กรุงเบรุต เป็นเมืองหลวงของประเทศเลบานอน ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ฝั่งตะวันตก บนคาบสมุทรที่ทอดยาวไปทางตะวันตกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นพื้นดินปลายแหลมเล็ก มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ที่ยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โกดังที่เกิดเหตุระเบิด ตั้งอยู่ที่ท่าเรือเบรุต ซึ่งเป็นท่าเรือหลักของประเทศเลบานอน อยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตอนเหนือของกรุงเบรุต เป็นสถานที่ที่ใช้เก็บแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไวต่อการระเบิด และนิยมนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยและระเบิด ดังนั้น การเก็บแอมโมเนียมไนเตรทจำเป็นต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด เช่น ป้องกันไฟในสถานที่เก็บ เนื่องจากสารชนิดนี้ติดไฟง่าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook