สารพัดภัยเงียบจากการนอนไม่หลับ อันตรายที่คุณไม่เคยรู้ ต้องใส่ใจแล้ววันนี้

สารพัดภัยเงียบจากการนอนไม่หลับ อันตรายที่คุณไม่เคยรู้ ต้องใส่ใจแล้ววันนี้

สารพัดภัยเงียบจากการนอนไม่หลับ อันตรายที่คุณไม่เคยรู้ ต้องใส่ใจแล้ววันนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการนอนไม่หลับส่งผลไม่ดีอย่างไรต่อสุขภาพ

การนอนหลับที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ปัญหาการนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในปัจจุบันถึง ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโดยเฉพาะคนเมือง ที่ใช้ชีวิตทำงานตั้งแต่เช้าจนดึก ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าไม่ร้ายแรงอะไร ใครๆ ก็เป็นกัน อันที่จริง มีงานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า ปัญหาการนอนหลับ หรือ sleep disorders นั้นเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสุขภาพอื่นๆ คนที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงเป็นประจำ มีโอกาสเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดันสูง โคเลสเตอรอลสูง และหัวใจวาย มากกว่าคนที่นอน 7 ชั่วโมงขึ้นไป และนอกจากอาการทางร่างกายแล้ว การนอนไม่เพียงพอยังส่งผลเสียต่อจิตใจและการควบคุมอารมณ์อีกด้วย โรคการนอนหลับเป็นโรคที่ไม่มีการตระหนักอย่างเพียงพอ ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างทั่วถึง (under recognized) และแน่นอนเมื่อไม่ได้รับการวินิจฉัยก็ไม่เกิดการรักษา ส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และผลิตภาพทั้งในการเรียนและการทำงาน ซึ่งเมื่อคิดเป็นตัวเงินก็มีมูลค่ามหาศาลต่อเศรฐกิจประเทศในแต่ละปีเลยทีเดียว

ตรวจการนอนหลับทำกันยังไง

การตรวจการนอนหลับที่ทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้นจะดูความผิดปกติทางร่างกาย โดยใช้เครื่อง polysomnography วิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายระหว่างนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยโรคหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) หรือหาสาเหตุการนอนไม่หลับอื่นๆ เช่น การกระตุกของกล้ามเนื้อ โดยทำได้ทั้งที่ในสถานพยาบาลที่มีบุคลากรทางการแพทย์คอย monitor ตลอดคืน จนกระทั่งนำเครื่องไปติดที่บ้านในรายที่มีความเสี่ยงต่ำและต้องการการตรวจเพียงเบื้องต้น หากแพทย์วินิจฉัยว่า sleep apnea เป็นสาเหตุของโรคการนอนหลับ การรักษาก็มักจะใช้เครื่อง c-pap

แต่ที่มาของปัญหาการนอนเป็นไปได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะจากภาวะทางร่างกาย จิตใจ อาหารการกิน พฤติกรรมต่างๆ ระหว่างวัน หรือความเครียดสะสม คาเฟอีน และนิโคติน เป็นสารกระตุ้นให้ตื่นตัว ผู้ที่ดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่อาจมีปัญหาโรคนอนไม่หลับมากกว่าคนอื่น ชั่วโมงการทำงาน การออกกำลังกาย แสงสว่าง สิ่งแวดล้อม กิจกรรมก่อนนอน ล้วนมีผลต่อคุณภาพการนอน การตรวจการนอนหลับด้วยเครื่องนั้นจะวินิจฉัยได้เฉพาะสาเหตุทางกายภาพ ดังนั้นหากต้องการรู้สาเหตุที่แท้จริงจะต้องพบผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาด้วยกัน ไม่ใช่เฉพาะแพทย์ เพื่อพูดคุยซักประวัติเพื่อค้นหาต้นตอ ที่อาจมีมากกว่าหนึ่งปัจจัยก็เป็นได้ ในหลายคนที่มีปัญหาการนอนหลับ สาเหตุไม่ได้มาจากความผิดปกติของร่างกาย แต่มาจากความเครียดเรื้อรัง และคนที่ประสบปัญหานี้อาจจะกังวลว่าจะเกิดอาการง่วงตอนกลางวันทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ก็จะยิ่งพยายามข่มตานอน ซึ่งจะทำให้ยิ่งนอนหลับยากขึ้น เมื่อเป็นต่อๆ กันหลายวัน ก็จะส่งผลเป็นวงจรลบต่อเนื่อง ที่สำคัญคือคนส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหานี้ มักไม่รู้ว่าตัวเองเครียด และไม่รู้จะแก้อย่างไร ดังนั้นการพูดคุยกับนักจิตบำบัด หรือ health coach อาจช่วยวิเคราะห์ได้

ดร.ทินภา หิมะทองคำ

โรงพยาบาล เทพธารินทร์

ขณะนี้ผู้คนมีความตื่นตัวเรื่องสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์โควิดที่ทำให้คนรู้ว่าการมีพื้นฐานสุขภาพที่ดี มีภูมิคุ้มกันนั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่ว่ามีเงินมากเท่าไหร่ ในวันที่สายไป ก็เรียกสุขภาพที่ดีกลับคืนมาไม่ได้ เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาพ อาชีพแรกที่คนมักนึกถึงก็คือหมอ แต่ในทางสาธารณะสุขศาสตร์ งานหนึ่งของเราคือ health promotion หรือการทำให้คนไม่ป่วย ไม่ต้องถึงมือหมอ โดยการนำบุคลากรอื่นๆ เช่น นักกำหนดอาหาร นักเวชศาสตร์กีฬา และอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่คือ health coach มาผนึกกำลังกันเป็นทีมที่จะช่วยสร้างแรงบรรดาลใจ (motivation) และอยู่เคียงข้างให้คำปรึกษาเพื่อให้คนคนนั้นบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพ เพราะทุกคนมีเส้นทางที่ต่างกัน เราต้องเข้าใจชีวิตเค้าและออกแบบโปรแกรมที่ personalized ให้แต่ละคนเพื่อ ให้คนมีพฤติกรรมที่ไม่ทำร้ายแต่ส่งเสริมสุขภาพ และหากมีความจำเป็นต้องเจาะลึกในด้านได้ health coach คือคนที่จะสามารถส่งหาผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อการปลดล็อคที่ตรงจุดกว่าการมุ่งพบแพทย์และรับยาเพียงอย่างเดียว หมอเป็นอาชีพที่ขาดแคลนในทุกประเทศ ถ้าหากคนรักษาสุขภาพกันตั้งแต่ยังไม่ป่วย คนที่ต้องการการรักษาจริงๆ ก็จะได้มีโอกาสพบหมอได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ประเทศก็ประหยัดค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายให้ประชาชน องค์กรต่างๆ ก็จะมีพนักงานที่ทำงานได้เต็มที่ ไม่ขาดลามาสาย สมองโปร่งใส

ใครบ้างควรตรวจการนอนหลับ

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจอาการนอนหลับคือผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆ ตื่นมาแล้วยังรู้สึกเหนื่อย ง่วงระหว่างวันบ่อยๆ ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ผู้ที่มีอาการกรน มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความดันสูง มีภาวะโรคอ้วน และผู้ที่มีเส้นรอบคอมากกว่าหรือเท่ากับ 40 เซน ผู้ที่ต้องเดินทางข้ามโซนเวลา ต้องขับรถทางไกลเป็นประจำ หรือผู้ที่ทำงานเป็นกะ ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนอนไม่หลับ ควรพบผู้เชี่ยวชาญ

 

(Advertorial)

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook