ภูมิรัฐศาสตร์ 5: "ทหารราบ" หนึ่งปัจจัยชนะข้าศึก ที่สหรัฐล้มเหลวในสงครามเวียดนาม

ภูมิรัฐศาสตร์ 5: "ทหารราบ" หนึ่งปัจจัยชนะข้าศึก ที่สหรัฐล้มเหลวในสงครามเวียดนาม

ภูมิรัฐศาสตร์ 5: "ทหารราบ" หนึ่งปัจจัยชนะข้าศึก ที่สหรัฐล้มเหลวในสงครามเวียดนาม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การสงครามจะแพ้ชนะกันได้ก็ต้องสามารถยึดพื้นที่ของข้าศึกให้ได้ และเหล่าทหารที่สำคัญที่สุดคือ ทหารราบหรือทหารเดินเท้า

ในสมัยสุโขทัยเรียกว่า "ทหารตีน" นั่นเอง ดังนั้นทหารราบจึงได้รับฉายาว่าม "ราชินีแห่งการรบ" จะเห็นได้จากการเล่นหมากรุกสากลนั้น ควีน (Queen) เป็นตัวหมากรุกที่ใช้ในหมากรุกสากล ควีนสามารถเดินได้ในแนวตั้ง แนวนอน และแนวทแยง 8 ทิศทาง ในระยะยาวจนสุดกระดาน หรือจนกว่าจะมีตัวยืนขวาง

ความจริงทหารราบเป็นทหารหลักมาตั้งแต่เริ่มมีกองทัพที่จะทำสงครามกันระหว่างมนุษย์สองฝ่ายอยุ่แล้วคือเป็นลักษณะ "ยกพวกเข้าตีกัน" นั่นแหละ ต่อมาเมื่อมีการจัดหมวดหมู่ตั้งกองทัพขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วก็ได้แบ่งเหล่าทหารออกตามกองทัพบกไทย มีการแบ่งเหล่าทหารบก ออกเป็นเหล่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

เหล่ารบ: เหล่ารบ เป็นเหล่าหลักที่ใช้ในการรบ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลักในสนามรบ ประกอบด้วย

  1. ทหารราบ (ร.) เป็นกำลังรบหลักของกองทัพบกไทย มีกำลังพลมากที่สุด มีหน้าที่เข้ารักษาพื้นที่
  2. ทหารม้า (ม.) แบ่งออกเป็นสามแบบ คือ
    1. ทหารม้าลาดตระเวน
    2. ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ยานสายพาน หรือยานหุ้มเกราะเป็นพาหนะในการรบ
    3. ทหารม้ารถถัง ใช้รถถังเป็นอาวุธหลัก ในการปฏิบัติการรบ

เหล่าสนับสนุนการรบ: เหล่าสนับสนุนการรบ เป็นฝ่ายสนับสนุนการรบ โดยมากมักปฏิบัติงานควบคู่กับหน่วยรบในสนามรบ ประกอบด้วย

  1. ทหารปืนใหญ่ (ป.) ใช้ปืนใหญ่ ในการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยกำลังรบ
  2. ทหารช่าง (ช.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานช่าง ก่อสร้าง ซ่อม หรือทำลาย สิ่งก่อสร้างต่างๆ
  3. ทหารสื่อสาร (ส.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานสื่อสาร
  4. ทหารการข่าว (ขว.)


เหล่าช่วยรบ: เหล่าช่วยรบ เป็นฝ่ายส่งกำลังหรือสิ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือการรบ โดยมากปฏิบัติงานแนวหลังในสนามรบ ประกอบด้วย

  1. ทหารสรรพาวุธ (สพ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิด ตลอดจนยานพาหนะในการรบ
  2. ทหารพลาธิการ (พธ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาหาร เครื่องแต่งกาย เชื้อเพลิง ยุทธภัณฑ์ส่วนบุคคล
  3. ทหารแพทย์ (พ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ในกลุ่มเวชภัณฑ์ และสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงเป็นฝ่ายรักษาพยาบาลให้กับทหารและครอบครัวทหาร
  4. ทหารขนส่ง (ขส.) เป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งกำลังพล และสิ่งอุปกรณ์

เหล่าสนับสนุนการช่วยรบ : เหล่าสนับสนุนการช่วยรบ นอกจากนี้ยังมีหน่วยอื่นๆ ที่มิได้เป็นหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรง ประกอบด้วย

  1. ทหารสารบรรณ (สบ.) มีหน้าที่ดำเนินการด้านธุรการ เอกสาร ทะเบียนประวัติ และงานสัสดี
  2. ทหารการเงิน (กง.) ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี งบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
  3. ทหารพระธรรมนูญ (ธน.) ดำเนินการด้านกฎหมาย การศาลทหาร และงานทนาย
  4. ทหารแผนที่ (ผท.) มีหน้าที่สำรวจและจัดทำ แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
  5. ทหารการสัตว์ (กส.) มีหน้าที่ดูแลสัตว์ในราชการกองทัพ
  6. ทหารดุริยางค์ (ดย.) มีหน้าที่ให้ความบันเทิง
  7. ทหารสารวัตร (สห.) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยของทหาร
                   

จุดอ่อนสหรัฐแพ้สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม หรือที่เวียดนามเรียกสงครามต่อต้านอเมริกา มีพื้นที่การรบในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2498 จนกรุงไซ่ง่อนถูกยึด เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2518

การต่อสู้ครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โดยเวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศพันธมิตรฝ่ายลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น ส่วนเวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ไทย และประเทศพันธมิตรฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น

สงครามเวียดนามนี้เป็นสงครามตัวแทนในยุคสงครามเย็นซึ่งกินระยะเวลาถึง 19 ปี โดยการมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงของสหรัฐอเมริกาสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2516 และรวมไปถึงสงครามกลางเมืองลาว และสงครามกลางเมืองกัมพูชา ซึ่งจบลงด้วยทั้งสามประเทศได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2518 ถือเป็นความพ่ายแพ้ที่ใหญ่หลวงของสหรัฐอเมริกาที่ทุ่มเททิ้งระเบิดลงใน 3 ประเทศดังกล่าว

ปริมาณระเบิดสูงกว่าการใช้ระเบิดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองรวมกันเสียอีก (ในมหาสงครามโลกทั้งสองครั้งมีการทิ้งระเบิดถล่มกันทั้งในยุโรป แอฟริกาและเอชียทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตัน เปรียบเทียบกับส่วนที่สหรัฐอเมริกานำระเบิดมาทิ้งในสงครามเวียดนามใน 3 ประเทศคือ ลาว กัมพูชาและเวียดนามทีปริมาณถึง 7.5 ล้านตัน)

ความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกาในเวียดนามก็คือการที่ทางสหรัฐอเมริกาไม่สามารถยึดพื้นที่ของข้าศึกคือเวียดนามเหนือได้เลยนั่นเอง

พัฒนาการทหารราบตามประวัติศาสตร์               

ยุทธวิธีทหารราบ เป็นการรวมกรอบแนวคิดและวิธีการทางทหารที่ทหารราบใช้ในการรบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือได้ชัยชนะในสงคราม คือการเข้าประชิดและประจัญบานข้าศึก และยึดดินแดน ยุทธวิธีทหารราบเป็นวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้

เดิมทียุทธวิธีทหารราบเป็นวิธีการสงครามที่เก่าแก่ที่สุดและมีมาทุกยุคสมัยจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ปี 2457-2461) คือการวิวัฒนาการรูปขบวนทางยุทธวิธีที่ใช้ก็มีวิวัฒนาการตามไปด้วย เช่น แฟแลงซ์ของกรีก เตซิโอของสเปน แถวตอนนโปเลียน หรือ "แนวสีแดงบาง" ของทหารสก๊อต

ในสมัยต่างๆ จำนวนกำลังที่วางกำลังเป็นหน่วยเดียวยังแตกต่างกันมาก มีตั้งแต่หลายพันถึงไม่กี่สิบนาย การรบแพ้หรือชนะในแต่ละสมรภูมิคือความสมารถของการทำลายรูปขบวนของฝ่ายตรงข้ามให้กระเจิดกระเจิงแตกพ่ายไปได้นั่นเอง

แต่การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีของทหารราบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ได้เน้นที่รูปขบวนของทหารราบอีกต่อไปเนื่องจากมีการพัฒนาปืนกลขึ้นมาและถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วทำให้การเน้นโดยรูปขบวนของกองทัพคือการพากันไปตายหมู่นั่นเอง

ยุทธวิธีของทหารราบจึงต้องกระจายกำลังออกห่างกันและหน่วยกำลังที่เล็กที่สุดคือระดับหมู่มักต้องดำเนินการรบแบบอิสระเป็นสำคัญ  การบุกเข้าโจมตีของทหารราบมักจะเคลื่อนที่ตามหลังรถถังและยานเกราะเป็นส่วนใหญ่ 

ถึงแม้ว่าทหารราบจะเป็นหน่วยการรบที่สำคัญที่สุดและมีกำลังพลมากที่สุดในกองทัพแต่ทหารราบต้องอาศัยเหล่ารบอีกเหล่าหนึ่งเป็นสำคัญคือทหารม้า และต้องอาศัยทหารเหล่าอื่น ๆ เช่นเหล่าสนับสนุนการรบ เหล่าช่วยรบ และเหล่าสนับสนุนการช่วยรบจนอาจจะพูดได้ว่าทหารราบ 1 คน ต้องมีทหารเหล่าต่าง ไช่วยรบอยู่ถึง 15 คน นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook