ทั่วโลกเสียชีวิตจากโควิด-19 ทะลุ 8 แสน ติดเชื้อสะสมเกิน 23 ล้าน หลายประเทศยังวิกฤต

ทั่วโลกเสียชีวิตจากโควิด-19 ทะลุ 8 แสน ติดเชื้อสะสมเกิน 23 ล้าน หลายประเทศยังวิกฤต

ทั่วโลกเสียชีวิตจากโควิด-19 ทะลุ 8 แสน ติดเชื้อสะสมเกิน 23 ล้าน หลายประเทศยังวิกฤต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไชต์ Worldometers รายงานสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2563 ช่วงเวลาประมาณ 07.50 น. ตามเวลาประเทศไทย พบมีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมทั่วโลกรวมแล้วกว่า 23,097,871 ราย เพิ่มขึ้น 247,708 ราย เสียชีวิต 802,363 ราย เพิ่มขึ้น 5,825 ราย รักษาหายแล้วทั้งสิ้น 15,689,925 ราย

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมทั่วโลกจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมทั่วโลก

ประเทศที่พบรายงานผู้ติดเชื้อสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่

1. สหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อสะสม 5,796,418 ราย เพิ่มขึ้น 50,146 ราย เสียชีวิต 179,198 ราย เพิ่มขึ้น 1,168 ราย รักษาหาย 3,121,377 ราย

2. บราซิล มีผู้ติดเชื้อสะสม 3,536,488 ราย เพิ่มขึ้น 31,391 ราย เสียชีวิต 113,454 ราย เพิ่มขึ้น 1,031 ราย รักษาหาย 2,670,755 ราย

3. อินเดีย มีผู้ติดเชื้อสะสม 2,973,368 ราย เพิ่มขึ้น 69,039 ราย เสียชีวิต 55,928 ราย เพิ่มขึ้น 953 ราย รักษาหาย 2,220,799 ราย

4. รัสเซีย มีผู้ติดเชื้อสะสม 946,976 ราย เพิ่มขึ้น 4,870 ราย เสียชีวิต 16,189 ราย เพิ่มขึ้น 90 ราย รักษาหาย 761,330 ราย

5. แอฟริกาใต้ มีผู้ติดเชื้อสะสม 603,338 ราย เพิ่มขึ้น 3,398 ราย เสียชีวิต 12,843 ราย เพิ่มขึ้น 225 ราย รักษาหาย 500,102 ราย

6. เปรู มีผู้ติดเชื้อสะสม 567,059 ราย เสียชีวิต 27,034 ราย รักษาหาย 380,730 ราย

7. เม็กซิโก มีผู้ติดเชื้อสะสม 543,806 ราย เพิ่มขึ้น 6,775 ราย เสียชีวิต 59,106 ราย เพิ่มขึ้น 625 ราย รักษาหาย 371,638 ราย

8. โคลัมเบีย มีผู้ติดเชื้อสะสม 522,138 ราย เพิ่มขึ้น 8,419 ราย เสียชีวิต 16,568 ราย เพิ่มขึ้น 385 ราย รักษาหาย 348,940 ราย

9. สเปน มีผู้ติดเชื้อสะสม 407,879 ราย เพิ่มขึ้น 3,650 ราย เสียชีวิต 28,838 ราย เพิ่มขึ้น 25 ราย

10. ชิลี มีผู้ติดเชื้อสะสม 393,769 ราย เพิ่มขึ้น 1,920 ราย เสียชีวิต 10,723 ราย เพิ่มขึ้น 52 ราย รักษาหาย 367,897 ราย

สำหรับประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 117 มีผู้ติดเชื้อ 3,390 ราย เพิ่มขึ้น 1 ราย เสียชีวิต 58 ราย รักษาหาย 3,219 ราย

อันดับประเทศที่ติดเชื้อโควิด-19อันดับประเทศที่ติดเชื้อโควิด-19

ทางด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ยังคงอยู่ที่ 1 ล้านคนใน 4 วัน ซึ่งถือว่าไวกว่าช่วงมีนาคมถึง 9 เท่า โดยอินเดีย สหรัฐอเมริกา และบราซิล ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นหลักหมื่นต่อวัน ส่วนในรัสเซีย แอฟริกาใต้ เม็กซิโก เปรู สเปน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิหร่าน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ติดกันหลักพันถึงหลายพัน โดยมีอิตาลีตามมาเกือบพัน นอกจากนี้ หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ปากีสถาน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ติดกันหลักร้อยถึงหลายร้อย ในขณะที่จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ ติดกันหลักสิบ ส่วนมาเลเซีย และเวียดนาม ติดกันต่ำกว่าสิบ ดังนั้น ถือว่าสถานการณ์ทั่วโลกตอนนี้ยังระบาดกันรุนแรงเช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม รศ.นพ.ธีระ วิเคราะห์ว่า การระบาดของโรค COVID-19 น่าจะซาลงใน 6-18 เดือนนับจากนี้ เหตุผลหลักคือ จากประวัติศาสตร์ของโรคระบาดทั่วโลกในอดีตจะมีธรรมชาติที่คล้ายกันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งปัจจัยหลักที่จะมีอิทธิพลต่อช่วงเวลาที่จะซาลง ว่าจะสั้น (6) หรือจะยาว (18) นั้นคือ

หนึ่ง "การกลายพันธุ์ของไวรัส" ซึ่งปัจจุบัน D614G มาแทนที่สายพันธุ์เดิมไปแทบทั้งหมด พันธุ์นี้แพร่ได้เร็วขึ้นมาก แต่ความรุนแรงไม่เปลี่ยนแปลง บางประเทศดูจะรายงานว่าตายน้อยลง แต่เชื่อลำบากเพราะความรู้ในการดูแลรักษาก้าวหน้าขึ้นและการตระเตรียมระบบที่พร้อมกว่าเดิมอาจเป็นตัวอธิบายเรื่องการตายของเขาที่ลดลง

ดังนั้น หากไม่มีปรากฏการณ์กลายพันธุ์เป็นไวรัสอสูรตัวใหม่ที่ทั้งเร็วขึ้นแรงขึ้น ลักษณะการระบาดของโรคน่าจะไม่ต่างไปจากนี้

สอง "เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น ยารักษา และวัคซีนป้องกัน" หากวิจัยค้นพบยาและวัคซีนได้เร็ว ก็มีโอกาสคุมได้เร็วขึ้น

แต่ปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ "ความประพฤติของรัฐ และประชาชนในแต่ละประเทศ" หากรู้เท่าทัน มีวินัย รักตัวเองและครอบครัว ช่วยกันป้องกันตัว "ใส่หน้ากาก-ล้างมือบ่อยๆ-อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร-พูดน้อยลง-พบปะกันน้อยลงสั้นลง-เลี่ยงที่แออัดที่ชุมนุมที่อโคจร-คอยสังเกตอาการ ไม่สบายรีบไปตรวจรักษา" ก็จะลดการระบาด และทำให้สงครามสิ้นสุดได้เร็ว

และรัฐต้องไม่ดำเนินนโยบายที่นำโดยกิเลส ควรฝังกลบ "ฟองสบู่ท่องเที่ยว" ที่อาจเป็นเหตุนำสู่หายนะ และควรน้อมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเต็มที่ เน้นอดทน อดกลั้น อดออม พอเพียง ยืนบนขาตนเอง ลดการพึ่งพาต่างชาติ

ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สอดคล้องกับข่าวเมื่อวานที่ ผอ.องค์การอนามัยโลก ออกมาคาดว่าการระบาดอาจสิ้นสุดภายใน 2 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook