เว็บดังเทียบ งบ 2.2 หมื่นล้านซื้อ "เรือดำน้ำ" ราคาเท่านาซาส่งยานสำรวจ "ดาวพลูโต"

เว็บดังเทียบ งบ 2.2 หมื่นล้านซื้อ "เรือดำน้ำ" ราคาเท่านาซาส่งยานสำรวจ "ดาวพลูโต"

เว็บดังเทียบ งบ 2.2 หมื่นล้านซื้อ "เรือดำน้ำ" ราคาเท่านาซาส่งยานสำรวจ "ดาวพลูโต"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่คณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ในคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 มีมติเห็นชอบในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีนขอบกองทัพเรือ (ทร.) เพิ่มเติมอีก 2 ลำ มูลค่า 22,500 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น

เว็บไซต์ spaceth.co ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับอวกาศชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก เปรียบเทียบให้เห็นว่า เงินมูลค่า 2.2 หมื่นล้านบาท ที่ประเทศไทยใช้ในการซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำดังกล่าว เท่ากับงบประมาณในการทำภารกิจสำรวจดาวพลูโตของยานอวกาศ New Horizons ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (NASA) เลยทีเดียว

“22,000 ล้านบาท คืองบประมาณตลอดทั้งภารกิจของยาน New Horizons ภารกิจแรกที่เดินทางไปสำรวจดาวพลูโตอย่างใกล้ชิด และเป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปสำรวจวัตถุในแถบไคเปอร์ได้สำเร็จ

โครงการถูกอนุมัติในปี 2001 และงบตั้งแต่การก่อสร้างยาน บุคลากร ค่าปล่อยยาน ค่าบำรุงรักษา การติดต่อ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์รวมเบ็ดเสร็จแล้วอยู่ที่ประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือแปลงเป็นเงินบาทได้ที่ 22,074 ล้านบาทด้วยกัน

อย่าลืมด้วยว่ายานสำรวจอวกาศเสี่ยงต่อการถูกตัดงบอยู่พอสมควรเลย และหลายอุปกรณ์ที่ถูกนำไปสำรวจนั้นจะต้องถูกพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ว่าข้อมูลที่ได้มานั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างมากที่สุด เพราะงบทุกดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ใช้ไปนั้น มาจากภาษีของประชาชนสหรัฐฯ นั่นเอง

เมื่อเทียบกับองค์ความรู้ที่ได้มา ไม่ว่าจะเป็นการบินผ่านดาวพฤหัสฯ ดาวพลูโต หรือ Arrokoth วัตถุชิ้นแรกในแถบไคเปอร์ที่ได้รับการสำรวจระยะใกล้ ก็สามารถพูดได้ว่าภารกิจนี้ประสบความสำเร็จไปพอสมควรแล้ว และไม่แน่ว่าในอนาคตถัดต่อจากนี้ไป ก็อาจมีวัตถุอื่น ๆ ที่ยานจะออกเดินทางสำรวจอีกก็เป็นได้

อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ คือหลาย ๆ ภารกิจสำรวจอวกาศมีงบประมาณที่ถูกกว่านี้มาก เช่น ยาน Mangalyaan ของอินเดียที่ไปดาวอังคาร ใช้งบไปแค่ 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น หรือยาน MESSENGER ที่ไปดาวพุธ ก็ใช้งบแค่ 446 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เอง และยังมีเงินทอน (กับชิ้นส่วนสำรอง) เอาไปเข้ากระเป๋าเก็บไว้ใช้ในภารกิจถัดไปได้อีกด้วยนะ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook