MEA ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง สนับสนุนความอยู่ดีมีสุขของชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา

MEA ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง สนับสนุนความอยู่ดีมีสุขของชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา

MEA ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง สนับสนุนความอยู่ดีมีสุขของชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากใครได้แวะเข้าไปเยี่ยมเยือนชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร จะได้เห็นโครงการที่สนับสนุนความอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชนเป็นสำคัญหลายโครงการของการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 จนถึงปัจจุบัน MEA ดำเนิน “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง” มาอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากการเข้าไปดูแลรักษาระบบจำหน่ายไฟฟ้าในชุมชน จนทำความรู้จักคุ้นเคยซึ่งกันและกัน และต่อยอดเป็นการสนับสนุนอาชีพ รวมไปถึงการพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

โครงการต่าง ๆ ที่ MEA สนับสนุนชุมชน ล้วนแต่เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และนับเป็นองค์ความรู้ที่คนในชุมชนไปต่อยอดเพื่อพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งต่อความรู้นี้ให้กับชุมชนอื่น ๆ ด้วย

วันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะทำงาน MEA ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและติดตามความคืบหน้าของโครงการและความเป็นอยู่ของชุมชนคอยรุตตั๊กวาตามวาระอีกครั้ง ดังที่เคยทำเสมอมา

ไฟฟ้าและแสงสว่างจากพลังงานสะอาดที่มัสยิด

ชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ อาศัยกันอยู่ 189 ครัวเรือน ด้านหนึ่งติดคลองลำไทร ที่เป็นแหล่งน้ำสะอาด ใช้ในการอุปโภคได้ บรรยากาศในชุมชนสงบร่มรื่นเป็นธรรมชาติ คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีวิถีชีวิตที่ยึดศาสนาเป็นแม่บทต้นแบบ พร้อมรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ

แรกเริ่มในปี พ.ศ.2559 นั้น MEA ได้เข้าไปดูแลและบำรุงรักษาระบบการจำหน่ายไฟฟ้าในชุมชน จนเป็นที่มาของการสานเสวนากับผู้แทนชุมชน แลกเปลี่ยนข้อมูล ทำความเข้าใจกัน โดยเมื่อมีการลงพื้นที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง MEA จึงเล็งเห็นภาระด้านค่าไฟฟ้าจำนวนมากของพื้นที่ส่วนกลาง เช่น มัสยิดคอยรุตตั๊กวา อันเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของคนในชุมชน

แต่เดิมนั้น มัสยิดคอยรุตตั๊กวา ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่ในการประกอบพิธีทางศาสนา สถานพยาบาล ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน มีปริมาณการใช้ฟ้าฟ้าสูง จนเกิดเป็นค่าใข้จ่ายส่วนกลางที่ทางชุมชนร่วมกันรับผิดชอบ ด้วยการตั้งตู้รับบริจาคเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย MEA จึงได้หารือกับผู้แทนชุมชน เรื่องการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในพื้นที่มัสยิด โดยให้ความสำคัญกับความเชื่อ และไม่ขัดต่อหลักศาสนาเป็นสำคัญ

จนเมื่อหาข้อสรุปได้ จึงมีระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) แบบ On Grid ขนาด 5.4 kWp พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่มัสยิด ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง รวมไปถึงการติดตั้งโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 3 จุด บริเวณหน้ามัสยิด เพื่อให้แสงสว่างยามค่ำคืน

พท. อัมพร สะนิละ รองประธานชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา

เรื่องโซลาร์เซลล์เราคิดกันมานานมาก จนได้รับความร่วมมือจาก MEA ให้มาติดตั้งทั้งในอาคารและนอกอาคารของพื้นที่มัสยิด ซึ่งได้ประโยชน์อย่างมหาศาล ใช้ไฟฟ้าได้ทั้งวันทั้งคืน กลางคืนก็มีแสงสว่างให้คนเข้ามานมัสการได้ ด้านค่าไฟฟ้าก็ลดลง ไม่ต้องคอยเก็บเล็กเก็บน้อยมาเป็นค่าใช้จ่าย”  พท. อัมพร สะนิละ รองประธานชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา เล่าอย่างภูมิใจ

จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ชุมชนลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าในมัสยิดได้เฉลี่ย 40% ต่อปี คิดเป็นจำหน่วยหน่วยไฟฟ้าที่ประหยัดได้เริ่มตั้งแต่ติดตั้ง ประมาณ 4,600 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 16,100บาท เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนลงได้กว่า 2,300 กิโลกรัม

ผลจากการการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้มากขนาดนี้ ทำให้ชาวบ้านนำเงินที่ต้องร่วมจ่ายค่าไฟฟ้าส่วนกลางมาเป็นเงินเก็บออมของตัวเองได้

“เมื่อลดต้นทุนค่าไฟได้ คนในชุมชนก็มีเงินเหลือพอเก็บออม ผมเป็นประธานการออมของชุมชนด้วย ก็เห็นจำนวนเงินตรงนี้เข้ามา ทำให้เราเก็บออมกันในหมู่บ้านได้หลายแสน เงินตรงนี้ก็นับเป็นสวัสดิการของพวกเราต่อไป” รองประธานชุมชนย้ำถึงข้อดีที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมา

ตัวอย่างการลดค่าไฟฟ้าส่วนกลางอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ชาวบ้านเริ่มหารือกันว่า อยากมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานสำหรับไฟส่องสว่างในพื้นที่ส่วนกลางอื่น เช่น ริมทางเดิน รวมถึงเป็นพลังงานสำหรับการสูบน้ำเพื่อทำการเกษตรในพื้นที่ต่อไป

นายสมใจ มณี ประธานชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา

“ชาวบ้านสนใจเรื่องแผงโซลาเซลล์กันมาก อยากให้มีการติดแผงสำหรับผลิตไฟเพื่อสูบน้ำสำหรับใช้ทำสวน เพราะตอนนี้เราใช้จักรยานปั่นผลิตไฟกันอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะหารือกับ MEA ต่อไป” นายสมใจ มณี ประธานชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา บอกเล่าความคาดหวังของชุมชน

นอกเหนือจากผลสำเร็จด้านการลดรายจ่ายด้านค่าไฟแล้ว MEA ยังส่งเสริมให้ชุมชนมีศักยภาพในการส่งเสริมองค์ความรู้ จึงจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เพื่อให้วิทยากรในศูนย์การเรียนรู้ที่มัสยิด ได้ถ่ายทอดสู่ชุมชนภายนอกที่เข้ามาศึกษาดูงานต่อไปด้วยเช่นกัน และต่อยอดการเปิดการอบรมช่างไฟฟ้ามืออาชีพให้กับชาวบ้านได้รับความรู้ต่อไปในอนาคต

เพาะเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

การที่ MEA เข้ามาเรียนรู้ทำความรู้จักชุมชนอย่างใกล้ชิด ทำให้ได้รู้จักวิถีการเลี้ยงชีพของชุมชน โดยเห็นว่า ชาวบ้านมีการทำเกษตร และการเลี้ยงปลาดุกเป็นส่วนใหญ่ เมื่อหารือกับชาวบ้านจึงเกิดเป็นโครงการการก่อสร้างบ่อเลี้ยงปลาดุก พร้อมมอบพันธุ์ปลาจำนวน 5 บ่อ ซึ่ง MEA สนับสนุนให้ชุมชนเป็นผู้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง ร่วมมือลงแรงกันจัดทำบ่อปลา ทำการเก็บข้อมูลและศึกษาการเจริญเติบโตของปลาดุกที่เลี้ยงตลอดวงจรชีวิต รวมไปถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำและลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

นายสมใจ มณี ประธานชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา เล่าว่า “เดิมชาวบ้านก็เลี้ยงปลาดุกกันอยู่ MEA  ก็มาส่งเสริมอาชีพด้านนี้ให้ดียิ่งขึ้น พวกเราจึงมีรายได้ และลดรายจ่ายครัวเรือนจากการบริโภคปลาของชุมชนเราเอง”

ปลาดุกที่เลี้ยงในแต่ละบ่อมีการนำมาแจกจ่ายแบ่งปันเพื่อการบริโภคตามละแวกบ้าน  เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหาอาหารและเดินทางไปตลาด โดยมีผลผลิตเฉลี่ยบ่อละ 43 กิโลกรัมต่อเดือน  คิดเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น 6,960 บาทต่อปี และชุมชมสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ถึง 11,920 บาทต่อปี

จากประโยชน์ที่ได้รับนี้ทำให้มีหน่วยงานและชุมชนภายนอกเข้ามาศึกษาดูงานมากขึ้น MEA จึงเข้ามาสนับสนุนบ่อเลี้ยงเพิ่มเติมอีก 3 บ่อ เพื่อให้ครบตามความต้องการของชุมชน ซึ่งยังมีการเพาะเลี้ยงปลาดุกอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการศึกษาหาวิธีพัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้นด้วยตัวเอง

พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

บ้านครูแดง - นวลจันทร์ รอดสการ บ้านของชาวไทยพุทธเพียงหลังเดียวในชุมชนแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนบ่อปูนเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อเช่นกัน แต่ต่อมาโครงสร้างของบ่อแตกร้าว เนื่องจากรากไม้ใกล้บ่อชอนไช หลังจากซ่อมบ่อมาถึงสามครั้ง ก็ยังไม่สามารถเก็บกักน้ำเลี้ยงปลาดุกได้ดังเดิม

ครูแดงจึงดัดแปลงบ่อปูนนี้มาเป็นบ่อเพาะพันธุ์กบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ระดับน้ำสูง นับเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส และเป็นการแก้ปัญหาจากองค์ความรู้ที่มีมาปรับใช้ให้เหมาะกับสถานที่

“ครูซ่อมบ่อมาสามครั้งก็ยังไม่ดีขึ้น มันกักน้ำไม่ได้เหมือนเดิม เลยคิดว่าเลี้ยงกบดีกว่า ก็นำพันธุ์กบจากกลุ่มที่เขาเพาะเลี้ยงมาลองดู ก็กลายเป็นว่าเลี้ยงได้ อาหารเราก็ให้อาหารเม็ดปลาดุก กบกินได้และเติบโตดี ส่วนปลาดุกครูก็ย้ายไปเลี้ยงในบ่อดินแทน” ครูแดง เล่าให้ฟังอย่างยิ้มแย้ม ขณะที่ครูแสง - บุญทูล ลงไปจับพ่อแม่พันธุ์กบในบ่อมาให้คณะทำงานได้ชม

หลังจากเปลี่ยนมาเลี้ยงกบก็ทำให้มีรายได้ดี เพราะขายกบได้ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท แต่ลูกค้าไม่ใช่คนในชุมชน เพราะชาวมุสลิมไม่เลี้ยงและบริโภคกบ “ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพื่อนครู และเป็นคนลาวที่เขาชอบกินกบ” ครูแดงเล่า

เมื่อทำอาชีพเลี้ยงกบได้ผลผลิตดี มีรายได้ จึงมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานมากขึ้น MEA จึงสนับสนุนสื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สังคมต่อไป

วันนี้ บ้านครูแดงนับเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแห่งหนึ่งในชุมชนที่มีผู้เข้ามาศึกษาดูงานตลอด นอกเหนือจากการเลี้ยงปลาและกบแล้ว ครูแดงยังเพาะเลี้ยงเห็ด และนำมาแปรรูปเป็นเห็ดสรรค์และแหนมเห็ดด้วย โดยที่ครูแดงได้ส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้สนใจที่เข้ามาเยี่ยมชมเสมอ และ MEA ได้ให้ความสนับสนุนการทำอาชีพนี้ และมีการจัดทำแผ่นป้ายเพื่อส่งเสริมการให้องค์ความรู้แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานเช่นกัน

ความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนของชุมชน

ด้วยความร่วมมือ ความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน และความสำเร็จร่วมกันในทุกโครงการนี้ MEA ยังคงหารือกับชุมชนอยู่เสมอ โดยโครงการที่จะดำเนินการในต่อไปคือ การส่งเสริมให้บุคลากรในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถด้านไฟฟ้า โดยเข้าร่วมกิจกรรม “ช่างไฟฟ้ามืออาชีพ” 

สำหรับโครงการนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับการอบรมจากวิทยากรของ MEA ในการเป็นช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานช่างไฟฟ้า เพื่อขอหนังสือรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างสายไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 และนำไปประกอบอาชีพช่างไฟฟ้าได้

เมื่อจบการอบรมแล้ว ช่างไฟฟ้ามืออาชีพเหล่านี้ สามารถนำทักษะความรู้มาดูแลระบบไฟฟ้าภายในชุมชนได้ รวมถึงในอนาคตก็สามารถเข้าร่วมเป็นเครือข่ายช่างไฟฟ้ามืออาชีพของ MEA ต่อไปได้เช่นกัน ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญตามโครงการเสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนต่อไป

การเข้ามาเยี่ยมเยียนชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวาของคณะทำงาน MEA ในครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างดี และเห็นผลสำเร็จของโครงการที่มีการสานต่อจากชุมชน ซึ่งล้วนเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

“ขอขอบคุณ MEA ที่มองเห็นศักยภาพของชุมชน และสนับสนุนให้ชุมชนของเราอยู่ดีมีสุขตลอดมา” ประธานชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา กล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook