ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์ของอังกฤษ อยู่ยาวนาน เพราะพระเจ้าแผ่นดินสปีกอิงลิชไม่ได้!

ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์ของอังกฤษ อยู่ยาวนาน เพราะพระเจ้าแผ่นดินสปีกอิงลิชไม่ได้!

ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์ของอังกฤษ อยู่ยาวนาน เพราะพระเจ้าแผ่นดินสปีกอิงลิชไม่ได้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นประเทศดั้งเดิมตั้งอยู่บนเกาะบริเตนใหญ่ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรปมีเนื้อที่ประมาณ 209,331 ตารางกิโลเมตร (ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร)

ประเทศนี้มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่

เมื่อปี พ.ศ. 1827 (ตรงกับสมัยพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย) อังกฤษได้รวมเวลส์เข้าไปเป็นประเทศเดียวกันและในีป 2250 (ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา) อังกฤษกับกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ได้ร่วมกันสถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ปี 2344 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) บริเตนใหญ่รวมกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ผ่านพระราชบัญญัติสหภาพอีกฉบับหนึ่งกลายเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

จนกระทั่งปี 2465 (ตรงกับสมัย ร.6 แห่งประเทศสยาม) รัฐอิสระไอร์แลนด์ได้รับการสถาปนาเป็นอาณาจักรแยกต่างหาก แต่ดินแดนตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์คือไอร์แลนด์เหนือยังขอรวมกับ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ตามเดิม จึงสถาปนาชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า "สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ" ในปัจจุบัน

แต่ช่วงระยะเวลา 414 ปี ระหว่างปี 2126 -2540 ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้ง "จักรวรรดิบริติซ" ขึ้นสร้างความมั่งคั่งจากการค้าทาส ค้าฝิ่น และทรัพยากรจากดินแดนทุกทวีปที่อังกฤษเข้ายึดครอง

จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน พ.ศ. 2465 จักรวรรดิบริติชปกครองประชากรประมาณ 458 ล้านคน หรือกว่าหนึ่งในห้าของประชากรโลกในเวลานั้น ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 33,000,000 ตารางกิโลเมตร เกือบหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลก เป็นผลให้มรดกทางการเมือง กฎหมาย ภาษาและวัฒนธรรมของอังกฤษแผ่ขยาย

ยุคที่จักรวรรดิบริติชรุ่งเรืองที่สุดนี้ มักใช้คำวลี "ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิบริติช" เพราะดินแดนที่มีอยู่ทั่วโลกทำให้ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่ในดินแดนใต้ปกครองอย่างน้อยที่สุดหนึ่งแห่งตลอดเวลา

ขุนนางกุมอำนาจ

คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากระบบที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์อังกฤษในสมัยโบราณซึ่งเรียกว่า คณะองคมนตรี (Privy Council) พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงแต่งตั้งที่ปรึกษาเหล่านี้ตามพระราชอัธยาศัยเพื่อช่วยวางนโยบายในการปกครองประเทศ

ถึงอย่างนั้นคณะองคมนตรีหรือที่ปรึกษามักมาจากขุนนางตระกูลสำคัญที่มีอำนาจในแผ่นดิน บางครั้งก็มีการแก่งแย่งแข่งขันกันเองในหมู่ที่ปรึกษา หรือบางครั้งก็ขัดแย้งกับพระมหากษัตริย์ คณะองคมนตรีและพระมหากษัตริย์จึงมักมีเรื่องไม่ลงรอยกันอยู่เสมอ จนกระทั่งพระมหากษัตริย์บางพระองค์ไม่ทรงปรึกษาหารือกับคณะองคมนตรีเลย และทรงหันไปปรึกษากับองคมนตรีที่ไว้วางพระทัยเพียงบางคน

กษัตริย์พระองค์ใหม่ที่พูดไม่ได้แม้กระทั่งภาษาอังกฤษ

ครั้นสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ (Queen Anne) สวรรคตใน พ.ศ. 2257 (สมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย) เจ้าชายจอร์จ ซึ่งเป็นเจ้าเยอรมันราชวงศ์แฮโนเวอร์ เสด็จมาปกครองอังกฤษตามคำกราบทูลเชิญของคณะขุนนาง เพราะอังกฤษขาดสมาชิกพระราชวงศ์สายตรงที่จะครองราชย์ได้

ขณะเดียวกันสมาชิกพระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ ก็มีผู้ตั้งข้อรังเกียจต่างๆ ไปหมดเนื่องจากส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในขณะที่ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

ไม่ใช่แค่นั้นเจ้าชายจอร์จเป็นเชื้อสายพระญาติที่พอจะครองราชสมบัติอังกฤษได้เพราะทรงเป็นโปรเตสแตนต์ จึงอภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 1 (King George I) แห่งอังกฤษ แต่พระองค์ไม่ทรงเอาพระทัยใส่ในกิจการบ้านเมืองของอังกฤษ อีกทั้งไม่ทรงสันทัดภาษาอังกฤษด้วย เป็นเหตุให้พระองค์ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างราบรื่น ทำให้บทบาทของคณะองคมนตรียิ่งลดลงไปด้วย

นอกจากจะเคยขัดแย้งกับกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ อยู่แล้ว เมื่อมีกษัตริย์เชื้อสายเยอรมันที่ตรัสภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ และไม่สนพระทัยที่จะปกครองบ้านเมืองมาเป็นประมุขอีกด้วย ในระยะนี้เองที่คณะเสนาบดีหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งแต่เดิมเคยบริหารประเทศภายใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์และคณะองคมนตรีจึงกลายเป็นผู้ถือครองอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินแทน

ระยะแรกๆ พระเจ้าจอร์จที่ 1 ก็เสด็จออกประชุมว่าราชการร่วมกับคณะเสนาบดีด้วย แต่เนื่องจากตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้ จึงเป็นโอกาสให้ เซอร์ โรเบิร์ต วอลโพล (Sir Robert Walpole) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมีความสามารถช่วยให้อังกฤษผ่านพ้นวิกฤติทางการเงินได้ และพอจะกราบบังคมทูลเป็นภาษาเยอรมันผสมภาษาละตินได้บ้าง เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก

เหตุนี้เซอร์วอลโพล จึงถูกแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหมายเลข 1 (Prime Minister) ของอังกฤษ ซึ่งอีกหลายปีต่อมาตำแหน่งนี้เรียกว่า "นายกรัฐมนตรี" และเป็นที่รู้จักในระบบการเมืองของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

สภาผู้แทนราษฎรคานอำนาจ

หลังจากสมัยของนายกรัฐมนตรีวอลโพล ระบบนี้พัฒนาต่อไปอีกมาก จนกระทั่งสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษเห็นว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งสำคัญที่จะให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยไม่ได้อีกแล้ว หากแต่ต้องได้รับความยินยอมจากสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน

ผู้ที่จะได้รับความยินยอมได้ต้องเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและมีความสัมพันธ์กับสภาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเป็นหัวหน้าพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรหรือมิฉะนั้นก็ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

ครับ! อังกฤษเป็นต้นแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการบริหารราชการโดยคณะรัฐมนตรีเป็นต้นแบบของโลกและเป็นสาเหตุที่อังกฤษมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขที่ยาวนานที่สุดในโลกด้วย ก็คือการมีพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษที่ตรัสภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook