เผยอดีตผู้นำฝรั่งเศส-อังกฤษหวาดกลัวการรวมเยอรมนีในช่วงต้นทศวรรษ 1990

เผยอดีตผู้นำฝรั่งเศส-อังกฤษหวาดกลัวการรวมเยอรมนีในช่วงต้นทศวรรษ 1990

เผยอดีตผู้นำฝรั่งเศส-อังกฤษหวาดกลัวการรวมเยอรมนีในช่วงต้นทศวรรษ 1990
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวง การต่างประเทศอังกฤษเปิดหลักฐานประวัติศาสตร์ ชี้ทั้ง ฟรองซัวส์ มิตเตอรองด์ อดีตปธน.ฝรั่งเศส และ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ อดีตนายกฯอังกฤษ ไม่เห็นด้วยกับการรวมชาติเยอรมนี หวาดกลัวจะเกิด ฮิตเลอร์ ขึ้นมาอีกคน

อดีตประธานาธิบดีฟรองซัวส์ มิตเตอรองด์ แห่งฝรั่งเศส เคยกล่าวเตือนอดีตนายกรัฐมนตรีมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ แห่งอังกฤษ เป็นการส่วนตัว ภายหลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินเพียงไม่กี่สัปดาห์ว่า การรวมเยอรมนีตะวันตกเข้ากับเยอรมนีตะวันออก จะถือเป็นการสร้างรากฐานอำนาจอันแข็งแกร่งน่ากลัวเสียยิ่งกว่าที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เคยมี จากการเปิดเผยของเอกสารประวัติศาสตร์ที่เพิ่งถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ

โดยเอกสารดังกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความหวาดกลัวของผู้นำฝรั่งเศสและ อังกฤษที่มีต่อการรวมชาติเยอรมนี ได้เปิดเผยถึงบันทึกของที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของนางแธตเชอร์ที่ระบุว่า ระหว่างการรับประทานอาหารมื้อกลางวันร่วมกันของอดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสและ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) ที่ประเทศฝรั่งเศส นายมิตเตอรองด์ได้กล่าว แสดงความวิตกกังวลว่าการรวมเยอรมนีอาจทำให้เยอรมันเลว ๆ ที่เคยปกครองครอบงำทวีปยุโรปหวนกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง เพราะเขาเชื่อว่าการรวมชาติดังกล่าวจะส่งผลให้เยอรมนีมีดินแดนเพิ่มขึ้น จนกระทั่งทวีปยุโรปทั้งหมดจะมีสภาวะที่ย้อนกลับไปในช่วง 1 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

การพูดคุยเป็นการส่วนตัวของผู้นำทั้งสองประเทศเกิดขึ้นภาย หลังจากที่กำแพงเบอร์ลินล่มสลายลงเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) และก่อนการรวมชาติเยอรมนีเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533)

นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังระบุว่าอดีต นายกรัฐมนตรีแธตเชอร์ ก็มีแนวคิดที่คัดค้านการรวมเยอรมนีตะวันตกเข้ากับเยอรมนีตะวันออกเช่นกัน แม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษจะมีความเห็นด้วยกับการรวมชาติเยอรมนี ก็ตาม จนนำไปสู่การแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันในประเด็นนี้หลายครั้ง

ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ว่าการตัดสินใจเผยแพร่เอกสารประวัติศาสตร์ดังกล่าวต่อสาธารณะ ถือเป็นความพยายามที่จะแสดงว่านโยบายการทูตของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ นั้น เห็นด้วยและสนับสนุนกับการรวมชาติเยอรมนีมาตั้งแต่เริ่มต้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook