ทนายดังเปิดข้อกฎหมาย "ไอ้ไข่" อยู่ในสถานที่สาธารณะ สร้างหุ่นจำลองไม่ผิดลิขสิทธิ์

ทนายดังเปิดข้อกฎหมาย "ไอ้ไข่" อยู่ในสถานที่สาธารณะ สร้างหุ่นจำลองไม่ผิดลิขสิทธิ์

ทนายดังเปิดข้อกฎหมาย "ไอ้ไข่" อยู่ในสถานที่สาธารณะ สร้างหุ่นจำลองไม่ผิดลิขสิทธิ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีกระแส “ไอ้ไข่วัดเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช รูปปั้นเด็กใส่แว่นดำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน เพราะเชื่อกันว่ามีความขลัง ให้โชคลาภ และให้เลขเด็ดแม่นๆ มาหลายงวด โดยมีตำนานเกี่ยวกับไอ้ไข่จากหลายที่มา ซึ่งความนิยมและความเชื่อเหล่านี้กลายเป็นจุดขายที่ทำให้ไอ้ไข่ โผล่เป็นวัตถุมงคลที่วัดต่างๆ ทั่วประเทศ

ต่อมาทาง วัดเจดีย์ ได้เปิดเผยว่ามีการจดลิขสิทธิ์ไอ้ไข่ไว้แล้ว ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลว่าสามารถทำได้หรือไม่

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปพบกับ ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร ประธานเครือข่ายรณณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม เพื่อสอบถามถึงข้อกฎหมาย โดยทางทนายรณณรงค์ กล่าวว่า ไอ้ไข่เป็นงานกฎหมายอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ หมายถึงคนสร้างผลงานชิ้นนี้ออกมา การสร้างเอง การว่าจ้างหรือ ซื้อต่อมาจากการโอนสิทธิ์

ทนายรณณรงค์

ไอ้ไข่ที่เราเห็นเป็นงานปั้นอย่างหนึ่งเป็นงานปฏิมากรรม ส่วนผ้ายันต์เป็นงานจิตรกรรม เหรียญเป็นงานปฏิมากรรม ทั้ง 3 อย่าง กำลังมีปัญหากันในตอนนี้ ซึ่งทางวัดเจดีย์ออกมาบอกว่าตัวเองไปยื่นจดลิขสิทธิ์ไว้ และมีลิสต์รายการมา 11 รายการ มีเรื่องงานวรรณกรรมทำประวัติของไอ้ไข่ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่าวัดอื่นหรือคนอื่นอยากจะทำไอ้ไข่เลียนแบบ มีความผิดไหม

ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ระบุว่า งานประติมากรรมที่ตั้งอยู่ในสถานที่สาธารณะ ถ้ามีการไปทำซ้ำดัดแปลงได้รับการยกเว้น ไม่มีความผิดทางกฎหมาย อย่างเช่นกรณีของหอไอเฟลที่ประเทศฝรั่งเศส ทำไมถึงมีคนมาทำประติมากรรมหอไอเฟล ในประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้ โดยไม่ผิดกฎหมายไม่ถูกดำเนินคดีเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะว่าเป็นของที่อยู่ในสถานที่สาธารณะ อย่างเช่นเมืองไทยก็จะมีประสาทหินพนมรุ้ง หรือสถานที่สำคัญหลายๆ อย่างที่คนเอามาทำเป็นปูนปลาสเตอร์เป็นงานประติมากรรมที่จำลองขึ้นมาแล้วเอามาขาย จะไม่โดนเรื่องลิขสิทธิ์ ตามข้อยกเว้น ตามมาตรา 37 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook