จากญี่ปุ่นถึงไทย “วัฒนธรรมไม่สูบ” เหมือนหรือต่างกันหรือไม่

จากญี่ปุ่นถึงไทย “วัฒนธรรมไม่สูบ” เหมือนหรือต่างกันหรือไม่

จากญี่ปุ่นถึงไทย “วัฒนธรรมไม่สูบ” เหมือนหรือต่างกันหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับใครที่เคยไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น หรือเคยร่วมงานกับคนญี่ปุ่น จะรู้ว่า คนญี่ปุ่นสูบบุหรี่หนัก โดยเฉพาะกลุ่มพนักงานบริษัท นอกจากนี้ร้านอาหาร ร้านกาแฟที่มีการแบ่งโซนสำหรับการสูบบุหรี่ก็มีอยู่ทั่วไป ซึ่งสร้างความลำบากใจให้กับคนทั่วไป เพราะควันบุหรี่มักเล็ดลอดข้ามโซนมาอยู่ดี ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกจึงประเมินให้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ค่อนข้างขาดมาตรการดูแลประชาชนจากอันตรายของควันบุหรี่มือสอง

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงถือโอกาสในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปรับปรุงกฎหมาย โดยวันที่ 1 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา กฎหมายใหม่ได้มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้หลายสถานที่ เช่น  โรงเรียนประถม มัธยมต้นและมัธยมปลาย สถานอนุบาลและโรงเรียนอนุบาล มหาวิทยาลัย สถานพยาบาล อาคารสวัสดิการเด็กปฐมวัย สถานที่ทางการเมือง รถบัส รถแท็กซี่ เครื่องบิน และอาคารที่กำหนดไว้ถูกกำหนดให้เป็นที่ห้ามสูบ โดยอนุญาตให้ตั้งสถานที่สำหรับสูบบุหรี่ภายนอกอาคารได้เท่านั้น

ขณะที่ภายในร้านอาหารจะห้ามสูบบุหรี่ทั้งหมด แต่มีข้อยกเว้นสำหรับร้านขนาดเล็กที่มีเงินทุนไม่เกิน 50 ล้านเยน และมีพื้นที่ต้อนรับลูกค้าไม่เกิน 100 ตารางเมตร จะสามารถสูบบุหรี่ภายในร้านได้ แต่ต้องติดป้ายอนุญาตให้สูบบุหรี่ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งถือว่าเป็นการจัดการแบบค่อยเป็นค่อยไป

หันกลับมามองประเทศไทยบ้าง ต้องถือว่า เรามีก้าวย่างของการพัฒนากฎหมายในเรื่องนี้ที่มั่นคงพอสมควร จากหลายปีก่อนที่คนไทยเคยสูบบุหรี่ในโรงภาพยนตร์ หรือแม้แต่ในโรงพยาบาลได้ ตอนนี้เราก็ไม่เห็นอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่อย่างชัดเจน ภาพนักสูบที่ปลีกตัวมาสูบบุหรี่ในพื้นที่กำหนด หรือพื้นที่ห่างไกลผู้คน สามารถเห็นได้ทั่วไป

อย่างไรก็ตาม การไปสูบบุหรี่ในที่ไม่ค่อยมีคน กลับกลายเป็นความเข้าใจผิด และสร้างผลกระทบต่อผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งสถานที่ยอดฮิตในการปลีกตัวไปสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นอาคารจอดรถ บริเวณทางหนีไฟ ป้ายรถเมล์ หรือแม้แต่ในห้องน้ำสาธารณะ ล้วนไม่ควรทำ เพราะกฎหมายกำหนดให้สถานที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่เช่นกัน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดถึง 5,000 บาท

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องห้าม ทั้งที่ในบริเวณนั้นอาจไม่มีคนอื่น เหตุผลก็เพราะ อนุภาคของบุหรี่ที่เป็นอันตรายสามารถตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายชั่วโมง โดยเฉพาะในพื้นที่ค่อนข้างปิดอย่างอาคารจอดรถ ทางหนีไฟ หรือในห้องน้ำ นอกจากนี้ควันบุหรี่ก็สามารถลอยไกลมากกว่าที่คิด เพราะอนุภาคอันตรายของบุหรี่ที่มองไม่เห็นสามารถลอยไกลได้หลายเมตรทีเดียว

แม้แต่ละประเทศจะมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่สิ่งหนึ่งที่คงไม่ต่างกันก็คือ ประชาชนทุกคนต้องการมีสุขภาพที่ดี โดยมีรัฐทำหน้าที่ปกป้อง และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ ดังนั้นเราเองในฐานะประชาชนคนหนึ่งก็ต้องหมั่นดูแลตัวเอง และใส่ใจคนรอบข้าง เพียงเท่านี้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็คงมีความสุขเช่นกัน

อยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมสุขภาพดี แต่ไม่รู้จะเลิกบุหรี่ได้อย่างไร ลองโทรปรึกษา 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ โทรฟรีทุกเครือข่าย

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook