ทำอย่างไรจึงจะต่อชีวิตให้คน และป่าในเวลาเดียวกัน

ทำอย่างไรจึงจะต่อชีวิตให้คน และป่าในเวลาเดียวกัน

ทำอย่างไรจึงจะต่อชีวิตให้คน และป่าในเวลาเดียวกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าวันนี้สภาพความเป็นอยู่ของคนไม่มีคุณภาพ รวมถึงป่าไม้อยู่ในเกณฑ์แย่ โดยเฉพาะป่าชายเลน แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบไปถึงสังคมด้วยเหมือนกัน เพราะทั้งคนและป่าไม้ เป็นส่วนสำคัญที่ยกระดับให้สังคมมีคุณภาพที่ดี มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ และเมื่อเป็นเช่นนี้ การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด จึงต้องการที่จะยืดอายุป่าชายเลน รวมถึงช่วยยกระดับชีวิตของกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งหากใครมีคำถามในประเด็นที่ต้องการต่อชีวิตให้คนและป่าแล้วอยากทำสิ่งเหล่านี้บ้าง คุณสามารถดูแนวทางจากทั้ง 2 กิจกรรมที่ MEA ทำ โดยคุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ช่วยเหลือทั้งคนและป่าได้เช่นกัน

 เติมชีวิตชีวาสู่ป่าชายเลน

หากคุณต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้พื้นที่ป่ามีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงได้คืนความสมดุลสู่ระบบนิเวศชายฝั่ง การปลูกป่าชายเลนถือเป็นหัวใจสำคัญที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะป่าชายเลนมีคุณอนันต์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์ที่อาศัยในบริเวณนั้น อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์มากมาย

นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังมีความสำคัญในการป้องกันหน้าดินพังทลายบริเวณชายฝั่งทะเล ชะลอความเร็วของกระแสน้ำที่จะเข้ามากระทบชายฝั่ง ช่วยให้หน้าดินมีความแข็งแรง และยังส่งผลดีที่มีต่อประชาชน นั่นก็คือ ช่วยป้องกันกระแสลมหรือกระแสน้ำที่รุนแรง ซึ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ละแวกนั้นก็จะได้รับผลกระทบน้อยลงนั่นเอง

ในด้านอื่น ๆ แน่นอนว่าป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งและบริเวณใกล้เคียง ยังไม่หมดเท่านี้เพราะป่าชายเลนยังช่วยเรื่องของเศรษฐกิจ ถือเป็นแหล่งวัตถุดิบชั้นดี สามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ไม้โกงกางนำมาทำถ่านคุณภาพดีได้ อีกด้วย และป่าชายเลนยังเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติชั้นดีที่คู่ควรกับการพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงเอาไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ในเวลาเดียวกัน

แน่นอนว่า เมื่อป่าชายเลนมีคุณค่ามหาศาลขนาดนี้ MEA จึงร่วมกับกองทัพเรือโดยป้อมพระจุลจอมเกล้าฐานทัพเรือกรุงเทพในเรื่องของการปลูกป่าชายเลน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จวบจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรักษาพื้นที่ และทรัพยากรชายฝั่งซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศและการดำเนินชีวิต รวมถึงก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างเป็นระบบ

นอกเหนือจากการปลูกป่าชายเลน และการจัดทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยเสาไฟฟ้าชำรุดไม่ใช้งานแล้วของ MEA นั้น ยังได้ร่วมกันจัดทำนิทรรศการ “ชีวิตในป่าชายเลน” ซึ่งมีการแสดงแบบจำลองสัตว์ที่มักพบได้ในป่าชายเลนจำนวน 10 ชนิด ได้แก่

เต่าทะเล

โลมา

กุ้งทะเล

ตัวเงินตัวทอง

นกนางนวล

ปลากระพงขาว

ปลาตีน

ปูเสฉวน

ปูก้ามดาบ

ลิงแสม

การจำลองสัตว์ทั้ง 10 ชนิดนี้ เพื่อได้เรียนรู้ถึงสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยและหากินอยู่ในป่าชายเลน เป็นการบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่เกิดจากการร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างเป็นระบบและยั่งยืนของกองทัพเรือ และ MEA อีกทั้งยังได้ให้ความรู้แก่ประชาชนที่เข้ามาเที่ยวและเยี่ยมชมในป้อมพระจุลจอมเกล้าแห่งนี้

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการรักษาระบบนิเวศชายฝั่งแล้ว ยังถือเป็นการน้อมเกล้าปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อีกด้วย

เพิ่มพื้นที่ป่าให้กรุงเทพมหานคร

นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง

สำหรับกิจกรรมการปลูกป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง เล่าถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เราเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่ชายทะเลที่จะมีปัญหาเรื่องของการกัดเซาะของชายฝั่ง เราก็มีกิจกรรมปลูกป่าชายเลนร่วมกับกองทัพเรือกรุงเทพที่ป้อมพระจุลจอมเกล้านี้ เพื่อที่จะให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำด้วย ในขณะเดียวกันก็จะเป็นสิ่งที่จะช่วยกรองตะกอนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแผ่นดินงอกขึ้น แต่ก็ทำไปสักระยะหนึ่งแล้วก็ปรากฏว่า อัตราการรอดของไม้โกงกางน้อย เราก็มีการพัฒนาโดยเอาเสาไฟฟ้าที่เราไม่ใช้แล้วมาปักเป็นแนวกั้นเขื่อน ตรงนี้ก็จะทำให้ลดแรงคลื่นที่จะเซาะในเรื่องต้นอ่อนของโกงกาง ทำให้การเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งที่เราทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงวันนี้เราสามารถที่จะช่วยให้มีพื้นที่ของป่าโกงกางหรือป่าชายเลนตรงนี้เพิ่มขึ้นถึง 190 ไร่

ในขณะเดียวกันที่เราเก็บสถิติแล้ว ในป่าโกงกางก็จะช่วยในเรื่องของการเก็บตะกอน ซึ่งเพิ่มในเรื่องของการเก็บตะกอนได้ดีขึ้นถึง 30% และตัวเสาที่มีการถอนมาจากโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ที่นำมาปักเป็นแนวกั้นเขื่อน ก็ช่วยดักตะกอนดิน ช่วยในเรื่องของการสะสมของตะกอนดินให้เพิ่มได้ดีขึ้น

เมื่อต่อชีวิตให้ป่าแล้ว MEA ก็ไม่ลืมที่จะต่อชีวิตให้คน ซึ่งสังคมจะดีได้ แน่นอนว่าต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งในเรื่องชีวิตและการสร้างปัญญา

ทุนการศึกษาสร้างปัญญาและยกระดับชีวิตใหม่

ในเมื่อคนคือพลังขับเคลื่อนสำคัญของสังคม  MEA ให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติมาตลอดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์กร ดังนั้น จึงต้องการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กสตรี ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคม

ทั้งนี้ ในการดำเนินกิจกรรม MEA ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยได้วางแผนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยมีการมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กและครอบครัวของนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้พวกเขา ในการเป็นกำลังสำคัญของสังคมไทยในอนาคต จำนวน 24 ทุน จาก 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนป้อมพระจุลจอมเกล้า และโรงเรียนชุมชนวัดสาขลา

นอกจากการแจกทุนการศึกษาแล้ว MEA ยังได้ปรับปรุงระบบไฟฟ้าในโรงเรียนเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่เยาวชน และประชาชนในชุมชนอีกด้วย

ไม่ว่าจะต่อชีวิตให้ผืนป่า หรือว่าสร้างอนาคตให้คน หากเราทุกคนร่วมมือกัน สังคมไทยก็จะเป็นทั้งสังคมที่มีประสิทธิภาพ และมีความอุดมสมบูรณ์อย่างแท้จริง

[Advertorial]

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook