การรถไฟแห่งประเทศไทย ส่งพี่ปู๊นปู๊น แอนด์เดอะแกงค์ เพิ่มความรู้หวังช่วยลดอุบัติเหตุ!!
หนึ่งในเรื่องที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คุณนิรุฒ มณีพันธ์ ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอดนั่นก็คือ เรื่องของความปลอดภัยในด้านการเดินรถ ความปลอดภัยบนขบวนรถ และความปลอดภัยที่สถานี บริเวณรอบสถานี และบริเวณรางรถไฟ
เพราะไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็ตาม รถไฟเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจของชาติ และในช่วงที่ผ่านมา ก็ได้มีโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของรถไฟทั้งในเรื่องของการขนส่งคนหรือสินค้ามีการก่อสร้างทางคู่ และทางรถไฟเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งการรถไฟฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังความรักความผูกพัน และการให้ความรู้ในการใช้รถไฟ หรือแม้กระทั่งการใช้ถนน บริเวณใกล้ ๆ ทางรถไฟ ให้กับเด็ก ๆ จึงได้จัดทำคลิปรณรงค์เรื่องความปลอดภัย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงเพิ่มควาน่าสนใจ ด้วยการส่งตัวพี่ปู๊นปู๊นแอนด์เดอะแก๊งค์มาเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ เพื่อหวังว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ซึ่งคลิปพี่ปู๊นปู๊นแอนด์เดอะแก๊งค์ จะประกอบด้วย พี่ปู๊นปู๊น นายสถานี พี่หมีผู้ช่วย และพนักงานขับรถไฟ ที่จะมาช่วยกันให้ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับเด็ก ๆ และ ประชาชนทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็น เรื่องข้อปฏิบัติตัวของการนั่งรถไฟ ข้อควรระวังต่าง ๆ ซึ่งในคลิปนี้จะมาช่วยกันให้ความรู้ ความเข้าใจกับจุดตัดรางรถไฟที่มีอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบ
จุดตัดทางรถไฟคืออะไร??
จุดตัดก็คือ เส้นทางที่ถนนมาตัดกับรางรถไฟ ทำให้ต้องเพิ่มมาตรการป้องกัน และใช้จุดตัดให้ถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของทุกคน ซึ่งในคลิปวีดีโอก็ได้บอกถึงจุดตัดแต่ละแบบว่ามีอะไร และมีข้อห้ามในการใช้ ผ่านการบรรยายของนายสถานีที่อยู่เป็นหนึ่งในสมาชิกของ พี่ปู๊นปู๊นแอนด์เดอะแกงค์
มาทำความรู้จักจุดตัดทางรถไฟในแต่ละแบบกันเถอะ!
จุดตัดแบบไม้กั้นอัตโนมัติ จุดตัดแบบนี้จะใช้เซนเซอร์เป็นตัวบอกว่ารถไฟมาถึงจุดที่ต้องเปิดสัญญาณเตือนแล้วไม้กั้นก็จะลงโดยอัตโนมัติ ข้อควรระวังคือห้ามฝ่าขณะที่ไม้กั้นกำลังลงเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้
จุดตัดแบบกึ่งอัตโนมัติ จุดตัดแบบนี้จะใช้พนักงานรถไฟช่วยประสานงานกับพนักงานขับรถไฟโดยการคุยผ่านวิทยุสื่อสาร แล้วก็ลากที่กั้นออกมาเพื่อกั้นให้รถไฟผ่านไป
จุดตัดแบบอันเดอร์พาส จุดตัดแบบนี้รถไฟจะสามารถแล่นข้ามถนนไปได้เพราะมีทางต่างระดับทำให้ไม่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ รถชน หรือ รถไฟชนคนเดินขึ้นได้เลย
จุดตัดแบบโอเวอร์พาส จุดตัดแบบนี้รถไฟจะแล่นผ่านอุโมงค์ทำให้ไม่ตัดผ่านถนน จึงทำให้จุดตัดแบบโอเวอร์พาส และ อันเดอร์พาสมีความปลอดภัยมากกว่าจุดตัดแบบอื่น ๆ
จุดตัดแบบทางลักผ่าน จุดตัดชนิดนี้เป็นจุดตัดที่ชาวบ้านในพื้นที่สร้างขึ้นมาเองเพื่อความสะดวกสบายแต่อันตรายที่สุดเพราะไม่มีอุปกรณ์ช่วย หรือสิ่งระวังภัยใด ๆ จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
คลิปนี้นอกจากจะเป็นการถ่ายทอดความรู้จุดตัดในแบบต่าง ๆ ที่การรถไฟได้นำมาใช้เพื่อเป็นมาตรการป้องกันเพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกคนแล้ว ยังถ่ายทอดถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติตัวของการนั่งรถไฟ การใช้รถ ใช้ถนนขณะที่รถไฟวิ่งผ่าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ของพนักงานชาวรถไฟฯ และพี่น้องประชาชนอีกด้วย
ซึ่งผู้ปกครองและคุณครู สามารถนำคลิปนี้ไปเปิดเพื่อให้ความรู้กับเด็ก ๆ ได้ต่อไป และยังเข้าไปดูคลิปของ พี่ปู๊นปู๊นแอนด์เดอะแกงค์ ได้เพิ่มเติมทาง YouTube การรถไฟแห่งประเทศไทย