เรียกร้องรัฐบาลทบทวนวิธีแจกโฉนดชุมชนใหม่

เรียกร้องรัฐบาลทบทวนวิธีแจกโฉนดชุมชนใหม่

เรียกร้องรัฐบาลทบทวนวิธีแจกโฉนดชุมชนใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นโยบายโฉนดชุมชนในที่ดินของรัฐ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง นักวิชาการระดมความคิดเห็นจากหลายฝ่ายเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนวิธีการใหม ที่สมาคมนิสิตเก่า คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ- การสัมมนา โฉนดชุมชน และนโยบายการกระจายถือครองที่ดิน โดยมีผู้เสวนาประกอบด้วย นายนิพนะ บุญญภัทโร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสุนี ไชยรส อดีตคณะกรรมการสิทะมนุษยชนแห่งชาติ นายไพโรจนืพลเพชร ผองสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน นายวีรวัธน์ ธีรประสาะน์ ประธานคณะทำงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาที่ปรึกษาฯ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ดร.ประภาส ปินตบแต่ง และปัญญา คงปาล นายกสมาคมสมาคมสหพันธ์เกษตรกรเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(สกพ.) และนายสุรพล สงค์รักษ์ ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการรวบรวมปัญหาที่ดินหลายพื้นที่ ทั้งในพื้นที่ภาครัฐและภาคเอกชน ก่อนที่รัฐบาลจะออกระเบียบสำนักนายกฯให้ออกโฉนดชุมชน หลังจากที่ผ่านมา เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาไปแล้วในภาคต่างๆ เพื่อมองไปข้างหน้าถึงรูปร่างโฉนดชุมชน ที่รัฐบาลเตรียมจะประกาศออกระเบียบสำนักนายกฯออกมาว่าชุมชนจะได้ประโยชน์ ในนโยบายโฉนดชุมชน และการถือครองที่ดินยังกระจุกตัวหรือกระจายการถือครองที่ดิน โดยประเด็นที่ถกเถียงกันมาจากกรณี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แจกสัญญาเช่าที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร จำนวน 1,182 ราย ที่อ.หนองเสือ และอ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา ว่าจะเป็นการจัดสรรที่ดินให้ชาวบ้านได้จริง หรือว่ากลับเแป็นการเพิ่มภาระความสับสนก่อนที่ระเบียบโฉนดชุมชนจะออกมาให้ชุมชนได้ยื่นขอสิทธิ์ นางสุนี กล่าวว่า หลังเหตุการณื 14 ตุลาคม 2516 สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทยเรียกร้องลดพื้นที่เช่านาที่ชาวนาไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง สิ่งสำคัญดังกล่าวมีการตั้งโจทยื ต้องให้มีการปฏิรูปที่ดินให้กับชาวบ้านมีความมั่นคง เพื่อรักษาที่ดินให้อยู่ยั่งยืนไม่ถูกขายทอด มีหลายนโยบายที่เห็นว่าดี จัดสรรที่ดินในพื้นที่ป่า แต่จัดสรรให้คนอยู่ด้วย แต่มีหลายนโยบายมีการถูกทักท้วง โดยเฉพาะจะเอาพื้นที่ราชพัสดุ จำนวน 1 ล้านไร่ มาแจกให้กับเกษตรกร อย่างที่พื้นที่อ.หนองเสือ เป็นพื้นที่ชาวบ้านอยู่มาก่อน มีการถกเถียงกันว่า กำลังบีบเกษตรกรให้เข้าตาจน ที่เกษตรกรเช่าซื้อที่ดินมาก่อนและที่อ.หนองบัวลำภู เป็นพื้นที่ทหาร ยกพื้นที่ให้ที่ราชพัสุ กรมธนารักษ์ เพื่อให้เช่า จากที่ทหารถือครองที่ดิน ได้กลายมาเป็นที่บุกรุกจำนวนมาก ราษฎรดูเหมือนว่าเป็นผู้บุกรุก และเสมือนว่าเอาที่มาแจกให้ชาวบ้าน ส่วนที่คลองโยง จ.นครปฐม รัฐบาลได้ใช้นโยบายตามใจชอบ ใช้มติครม.ปี 2513มีกองทุนเช่าซื้อให้เกษตรกร แต่มติสหกรณ์เช่าซื้อที่ดิน ทั้งคลองโยงและที่หนองสือและที่ดินธัญญบุรี มติครม.ปี 2544 สมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ถูกยกเลิกไปทั้งหมด "ที่ดินหนองเสือ ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี และคลองโยง จ.นครปฐม จากที่เกษตรกรได้รับสิทธิ์ที่จ่ายที่ดินเช่าซื้อไปแล้ว แต่มาถูกมติครม.ปี 2544 ยกเลิกไป โดยมาจับห้วนๆมาเป็นที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ให้เป็นที่ราชพัสดุของรัฐ โดยที่เมื่อระบบอุตสาหกรรมเข้ามาจะไปซื้อที่ราชพัสดุที่ใดก็ได้ ทำให้น่าวิตกที่ดินเหล่านี้เมื่อรัฐบาลแจกจัดสรรให้เกษตรกรผู้ยากไร้จะถูกขายทอดให้กับนายทุนอีกครั้ง" นางสุนี กล่าว นางสุนี กล่าวว่า ที่ดินหนองเสือ ธัญญบุรี คลองโยง ต้องได้รับสิทธิชุมชน เป็นโฉนดชุมชนส่วนตัวเพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรม ดังนั้นหากรัฐจัดสรรพื้นที่ป่าที่เป็นของรัฐ ให้กับชาวบ้าน ร่างโฉนดชุมชน จึงได้ลดทอนเรื่องราวลงมากมาย สิทธิของชาวบ้านต้องได้รับสิทธิก่อน ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ ยกเว้นแต่ว่าเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินรัฐต้องไปจัดสรรที่ให้ ดังนั้นรัฐต้องสะสางปัญหาที่ดินในแต่ละพื้นที่ ที่เป็นที่ราชพัสดุ เช่นกันที่อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต อดีตมีการทำเหมืองแร่ หลังหมดสัมปทานรัฐยึดเป็นที่ราชพัสดุ ที่ดินวันนี้แพงลิบลิ่ว ถ้าไม่จัดการให้เกษตรกรก็จะหลุดมือเป็นของนายทุน เพราะถ้าอยู่ในมือของรัฐเป็นที่ราชพัสดุเกษตรกรจะสู้ยาก ขอให้เครือข่ายปฏิรูปที่ดินกดดันไม่เอากฏหมายที่ราชพัสดุมาแก้ปัญหาที่ดิน เพราะโฉนดชุมชน จะเป็นปัญหาพันชาวบ้านรุงรัง ไม่รู้อีกกี่ปีจึงจะกลับมาแก้อีก ดร.ประภาส กล่าวว่า การจัดการที่ดินของรัฐบาลเวลานี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นมายาคติ รัฐบาลคิดว่าที่ดินที่อยู่กับที่ราชพัสดุแล้วไม่เปลี่ยนมือ ที่ดินที่เกษตรกรเช่า เมื่อเปลี่ยนมือไปอยู่กับนายทุน ไม่สามารถที่จะดึงกลับมาได้ เพราะกฏหมายที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ไม่ได้ห้ามเกษตรกรว่าเป็นใครก็ได้ที่เข้ามาเช่าที่ทำกิน ไม่มีใครคัดค้าน ตรวจสอบ ที่หนองสือ ธัญญบุรีมีการขายสิทธิการเช่าไร่ละ 2 แสนบาท สามารถเปลี่ยนจากที่เกษตรกรเป็นโรงงานอุตสาหกรรมได้ และสุดท้ายเกษตรกรจะฉิบหาย ล่าสุดรัฐบาลอภิสิทธิ์ ยังให้มติครม.ปลายเดือนสิงหาคมให้กระทรวงการคลัง เข้ามาแจกที่แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ด้วย นี่คือเป็นปัญหาที่จะตามมา เพราะการออกโฉนดชุมชนหากรัฐบาลทำไม่ดีกลายเป็นสปก.ภาค 2 และนายทุนสามารถเข้ามากว้านซื้อได้ง่าย นายนิพนธ์ บุญญภัทโร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โฉนดชุมชนมีกฏหมายขึ้นมารองรับจะกลายเป็นรูปปกครองตนเอง ต้องมองแต่ละพื้นที่ เพราะปัญหาไม่เหมือนกัน เหมารวมไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ใดมีความขัดแย้งรัฐกับชุมชน กรมป่าไม้ต้องตกลงและยอมถอย และคณะรัฐมนตรีก็ต้องดำเนินการได้ เพราะกฏหมายรัฐธรรมนูญมาตรา66 67 และ85 คุ้มครองไว้ เช่นพื้นที่อ.เคียนซา เป็นที่ราชพัสดุที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าทำเหมืองลิกไนต์ สามารถทำเป็นโฉนดชุมชนได้ พื้นที่อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ป่าสงวนที่นายทุนบุกรุกเมื่อปี 2528 มีนายทุนเช่าเป็นเวลา 15 ปี ครบสัญญาเช่าปลูกปาล์ม รัฐบาลต้องตัดสินใจให้ชัดเจน เมื่อรัฐประกาศเป็นพื้นที่สปกงแล้วจะต้องขับไล่ให้นายทุนออกไป แต่นายทุนก็มีอิทะพล ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมีอิทธิพล จึงไม่มีใครแก้ปัญหาได้ ดังนั้นโฉนดชุมชน จึงต้องดูเป็นแต่ละพื้นที่ไป "พื้นที่เอกชนต้องเปิดโอกาสให้ทำโฉนดชุมชน แต่ให้ชุมชนร้องขอยื่นเข้ามาหลังระเบียบสำนักนายกฯประกาศออกมา แต่ขณะนี้ยังเป็นร่างอยู่ จึงต้องรับฟังประชาชน และกระบวนการการมีส่วนร่วมที่ถูกต้อง การประชุมครม.ก็ไม่มีร่างระเบียบฯเสนอเข้าไป อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ยังคงเห็นภาคประชาชนขับเคลื่อนมีข้อคิดเห็น แต่ตอนนี้ยังมีความสับสนมากมายที่ดินหนองเสือ ธัญญบุรีที่นายกฯไปแจกที่ดิน ก็ยังมีความสับสนอยู่"นายนิพนธ์ กล่าว ดร.นวลน้อย กล่าวว่า รัฐบาลต้องออกกฏระเบียบชัดเจน และไม่มีกติกาไหนใช้ได้ 100%แต่วิตกว่ากฏระเบียบสำนักนายกฯออกมาปฏิบัติไม่ได้ เพราะหลักการไม่ชัดเจน เพราะหากหลักการชัดเจนกฏระเบียบต้องกลับมาที่เจตนารมย์ ซึ่งหากไม่ชัดเจนทำให้ราชการสับสน และผลักดันโฉนดชุมชนยาก "โฉนดชุมชนสะท้อนการกระจายอำนาจที่แท้จริง เพราะเป็นเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และการจัดการทรัพยากรของชุมชน "ดร.นวลน้อย กล่าว ด้านนายปัญญา กล่าวว่า มารดาเป็นผู้มีสัญญาเช่าชื่อกับสหกรณ์เช่าซื้อในพื้นที่ อ.หนองเสือ ระบุว่า การที่นายอภิสิทธ์ เดินทางไปแจกเอกสารสัญญาเช่าที่ดินทำกินให้ เกษตรกร 1182 ราย เมื่อวันที่ 3 กย.52 ที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานีนั้น ไม่ใช่เป็นการเอาที่ดินไปแจกให้ชาวนา แต่เป็๋นการรับซื้อของโจรจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไปออกมติครม.ปี 2544 เพื่อปล้นเอากรรมสิทธิ์ที่ดินจากชาวนา แล้วก็เอามาแจกให้ประชาชนเช่า ขณะที่รัฐบาลตั้งแต่ปี 2513 จัดตั้งโครงการกองทุนเพื่อจัดหาที่ดินให้เกษตรกร ในรูปของนิคมสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน ซื้อสหกรณ์ได้มีการดำเนินการเช่าซื้อจนชาวบ้านได้กรรมสิทธิ์ไปแล้วส่วนหนึ่ง ปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกว่า นากองทุนฯ ตั้งแต่คลอง 10-12 เนื้อที่กว่า 5,000 ไร่ " เหมือนชาวบ้านถูกยึดที่แล้วนำมาจัดสรรใหม่ ชาวบ้านไม่รู้จะเคลื่อนอย่างไร เตรียมที่จะร่วมตัวกับกลุ่ม คลองโยง นครปฐม เพื่อเรียกร้องให้มีการออกโฉนดชุมชนดูแลกันเองในรูปแบบสหกรณ์ แทนที่จะนำไปจัดสรรก็จะอยู่ต่อไป แต่ถ้าให้กรมธนารักษ์ นำที่ราชพัสดูไปจัดสรรเช่า ที่ทั้งหมด ก็จะตกไปอยู่กับนายทุนแน่ ๆ เพราะสามารถเปลี่ยนมือหรือผู้เช่าได้ง่ายมากตลอดเวลาโดยไม่มีการตรวจสอบใด ๆ " นายปัญญา กล่าว นายสุรพล กล่าวว่า พื้นที่อ.ชัยบุรี พระแสงเป็นพื้นที่ป่าสงวน ที่นายทุนเข้าไปบุกรุก และทำสัญญาเช่าปลูกปาล์ม ตั้งปี 2528 และประมาณ10 ปี กรมป่าไม้ออกเป็นสปก.เมื่อปี2537 เนื้อที่ประมาณ 2 อำเภอ กว่า 9,000 ไร่ และเมื่อปี 2550 สปก.ฟ้องเป็นโจทก์ขับไล่บริษัทจิวกังจุ้ยคดีหมายเลขดำที่616/2548 ต่อมาวันที่ 3สิงหาคม2550 ศาลชั้นต้น จ.กระบี่ได้ตัดสินให้สปก.ชนะคดีหมายเลขแดงที่ 710/2550 ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวขออำนาจศาลให้การคุ้มครองชั่วคราว เพื่อเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่สปก.ได้อีกต่อไป ในขณะที่บริษัทยื่นอุทธรณ์ต่อศาล อย่างไรก็ตาม ส่วนพื้นโนนดิน จ.บุรีรัมย์ เป็นปัญหามาตั้งปี 2522 ที่มีพื้นที่กว่า 2 หมื่นไร่ ปี 2527 รัฐให้นายทุนเข้ามาเช่าในพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัส แยกชาวบ้นออกจากพื้นที่ดังกล่าว รัฐบาลหลายสมัยไม่มีความชัดเจนเรื่องการจัดสรรที่ดิน ล่าสุดเมื่อ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายทุนหมดสัญญาเช่าพื้นที่ปลูกยูคาฯ แต่ความขัดแย้งยังคุกรุ่นอยู่ทุกวัน ด้านนายไพโรจน์ กล่าวสรุปการจะให้มีโฉนดชุมชนได้ ชาวบ้านต้องเคลื่อนไหวให้ปลดล็อคมติครม.ปี 2544 กลับไปสู่สิทธิที่เกษตรเช่าซื้อที่ดิน เพราะยังเป็นที่ดินของชุมชน เพราะแม้โฉนดชุมชนรัฐบาลไม่รับรองก็เป็นสิทธิชุมชนอยู่แล้ว ขระเดียวกันรัฐบาลต้องไม่มุ่งกระจายสิทธิการถือครองที่ดินที่เป็นจริง ไม่ใช่เฉพาะที่ดินในเขตป่าของรัฐ และให้สามารถออกโฉนดชุมชน สามารถใช้นโยบายเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่ยื่นออกโฉนดชุมชนได้ ไม่ว่าจะคืนอำนาจจากที่อยู่ที่รัฐ นายทุนก้เป็นโฉนดชุมชนได้ เพราะมีพื้นที่ที่เป็นชุมชนอยู่แล้วเพียงทำให้เป็นหลักการที่มีกฏหมายรัฐธรรมนูญให้สิทธิ และมีกฏหมายลูกออกมารองรับ นอกจากนี้ ต้องมีธนาคารที่ดินให้ให้ได้ เพื่อยืนยันถึงความมุ่งมั่นการปฏิรูปที่ดิน และที่ต้องไม่ละเลยคือการปฏิรูปที่ดินจะต้องมีการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า สำหรับปผู้ที่มีที่ดินมากเพื่อกระจายความเท่าเทียม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook