ชวนค้นหาความจริงที่บุหรี่ไม่เคยบอกผ่านหนังใหม่จาก สสส.

ชวนค้นหาความจริงที่บุหรี่ไม่เคยบอกผ่านหนังใหม่จาก สสส.

ชวนค้นหาความจริงที่บุหรี่ไม่เคยบอกผ่านหนังใหม่จาก สสส.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยรู้สึกเคลิ้ม ๆ เวลาดูภาพยนตร์ เห็นตัวเอกสูบบุหรี่ พ่นควัน แล้วอยากลองยกมือขึ้นทำท่าคีบบุหรี่บ้างหรือเปล่า ?

ถ้าเคย ไม่ต้องแปลกใจ เพราะไม่ใช่คุณคนเดียวที่รู้สึกแบบนี้ ข้อมูลต่อไปนี้ที่จะช่วยคลายความสงสัย

จากผลการวิจัยโดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (HHS) พบว่า การดูภาพยนตร์ที่มีฉากสูบบุหรี่ อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบการสูบโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐ (CDC) พบว่า ช่วงปี 2010-2018 จำนวนฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ระดับ PG-13[1]มีเพิ่มสูงขึ้นถึง 120%

นอกจากนี้ข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ชี้ชัดว่า คนไทยที่สูบบุหรี่จนติด 70% ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มที่เริ่มต้นสูบเร็วตั้งแต่เป็นวัยรุ่น

ข้อเท็จจริงเหล่านี้สอดรับกัน และย้ำเตือนเราว่า นี่คือ ส่วนหนึ่งของความพยายามจากบริษัทบุหรี่ที่ทำทุกทางให้คนสูบบุหรี่กันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่จะกลายเป็นลูกค้าประจำชั้นดี ฉากการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์จึงมักถูกถ่ายทอดผ่านภาพและเสียงที่ถูกออกแบบมาให้รู้สึกคล้อยตาม จนเผลอรู้สึกว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องดูดี จนมองข้ามภัยอันตรายที่แอบแฝงไว้

ด้วยเหตุนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งห่วงใยสุขภาพคนไทยเสมอมา จึงได้สร้างสรรค์แคมเปญรณรงค์ “ความจริงที่บุหรี่ไม่เคยบอก” เพื่อชี้ให้เห็นอันตรายของบุหรี่ที่เราอาจยังไม่เคยรู้ซึ่งอาจเกิดจากการถูกปกปิด หรือเบี่ยงเบนข้อเท็จจริง โดยแคมเปญนี้ถูกเปิดตัวด้วยภาพยนตร์โฆษณา ชื่อคําสารภาพของบุหรี่ ที่ใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านตัวละคร “บุหรี่ผู้กลับใจ” ที่ออกมาเปิดเผยความจริงที่นักสูบทั้งหลายอาจยังไม่เคยรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสารพิษบางชนิดที่ผสมอยู่ในบุหรี่ที่เพียงได้ยินชื่อก็สยอง เรื่องผลกระทบต่อร่างกายที่ไม่มีใครอยากเจอ หรือแม้แต่เรื่องความจริงของอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเชื่อว่า ใครที่ดูแล้วจะต้องมองบุหรี่ด้วยสายตาที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ส่วนใครที่ดูแล้ว รู้สึกไม่อยากโดนบุหรี่ทำร้ายอีกต่อไป แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สามารถขอคำปรึกษาที่ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ โทรฟรีทุกเครือข่าย

[1] อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่เนื้อหาบางส่วนอาจจะไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำเตือน

[Advertorial]

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook