เฟซบุ๊กเอาจริง! ไล่ลบเพจต่อต้านโรฮิงญาในมาเลเซีย อ้างเป็นต้นตอแพร่โควิด-19

เฟซบุ๊กเอาจริง! ไล่ลบเพจต่อต้านโรฮิงญาในมาเลเซีย อ้างเป็นต้นตอแพร่โควิด-19

เฟซบุ๊กเอาจริง! ไล่ลบเพจต่อต้านโรฮิงญาในมาเลเซีย อ้างเป็นต้นตอแพร่โควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในมาเลเซียพุ่งขึ้นในปีนี้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ได้รายงานต่อเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการโพสต์คำพูดที่สร้างความเกลียดชังและข้อมูลผิดๆ เกี่ยวผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงญาจากเมียนมา อย่างไรก็ตาม โพสต์จำนวนมากที่พุ่งเป้าไปที่ชาวโรฮิงญาในมาเลเซียก็ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ในเฟซบุ๊ก รวมถึงเพจ “Anti Rohingya Club” และ “Foreigners Mar Malaysia’s Image แม้ว่าสองเพจดังกล่าวได้ถูกเฟซบุ๊กสั่งลบแล้วก็ตาม

เฟซบุ๊กได้ยอมรับในปี 2561 ว่า แพลตฟอร์มของบริษัทได้ถูกใช้เพื่อปลุกระดมความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาในเมียนมา และเมื่อปีที่แล้วเฟซบุ๊กได้ใช้เงินมากกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงให้กับแพลตฟอร์ม แต่การพุ่งขึ้นของคอมเมนต์ต่อต้านชาวโรฮิงญาในมาเลเซียแสดงให้เห็นว่า คำพูดที่แสดงความเกลียดชังชาวต่างชาตินั้นก็ยังคงมีอยู่ต่อไป

โฆษกของเฟซบุ๊กเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า เฟซบุ๊กได้ลบเพจหรือกลุ่ม และโพสต์ต่างๆ ที่แสดงคอนเทนต์ต่อต้านผู้อพยพ

“เราจะไม่อนุญาตให้ใครโพสต์คำพูดที่แสดงถึงความเกลียดชังหรือการข่มขู่เกี่ยวกับความรุนแรงในเฟซบุ๊ก และเราจะทำการลบคอนเทนต์ดังกล่าวทันทีที่เราทราบ” เฟซบุ๊กระบุ

บางเพจที่ยังคงปรากฏในออนไลน์มีคอมเมนต์ที่เปรียบเทียบชาวโรฮิงญากับสุนัขหรือปรสิต บางเพจเปิดเผยถึงแหล่งที่พบชาวโรฮิงญา และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่และรัฐดำเนินการกับพวกเขา

จอห์น ควินลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของ Fortify Rights ระบุว่า “คำพูดที่แสดงความเกลียดชังอาจนำไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพและการข่มเหงคนทั้งกลุ่ม ซึ่งเราเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นในเมียนมา และจะเป็นเรื่องที่ไร้ความรับผิดชอบ หากไม่ลบเพจหรือกลุ่มในเฟซบุ๊กที่ต่อต้านผู้ลี้ภัยและต่อต้านชาวโรฮิงญา”

ทั้งนี้ มาเลเซียซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมแต่เดิมนั้นเป็นมิตรกับชาวโรฮิงญามาช้านาน โดยมีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว่า 1 แสนคนอาศัยในมาเลเซีย แม้มาเลเซียไม่ได้รับรองการเป็นผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการก็ตาม

กระแสความเกลียดชังชาวโรฮิงญาเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา หลังจากพวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มที่แพร่เชื้อโควิด-19 หลังจากนั้นคำพูดที่สร้างความเกลียดชังได้ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงบนเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ประชาชนมาเลเซียเกือบ 70% จากทั้งหมด 32 ล้านคนใช้งานอยู่

Worldometer ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข้อมูลล่าสุดที่มีการรวบรวมจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลกระบุว่า มาเลเซียมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 16,880 ราย และมีผู้เสียชีวิต 163 ราย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook