แถลงด่วน! พบผู้ป่วย กาฬหลังแอ่น

แถลงด่วน! พบผู้ป่วย กาฬหลังแอ่น

แถลงด่วน! พบผู้ป่วย กาฬหลังแอ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พบแรงงานไทยเสียชีวิตรายนี้เปิดเผยขึ้นเมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 19 ก.ย. ม.ล.นพ.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวถึงกรณีพบแรงงานไทยเสียชีวิตจากโรคไข้กาฬหลังแอ่นชนิดรุนแรง โดย ม.ล.นพ.สมชายกล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ย. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ตรวจพบชายไทยอายุ 24 ปี เป็นช่างเชื่อมโลหะ ที่เดินทางไปทำงานที่แอฟริกาใต้ใกล้เมืองโจฮันเนสเบิร์ก และเดินทางกลับประเทศไทยด้วยสายการบินเคนยา เที่ยวบิน KQ886 ก่อนเดินทางกลับมีอาการไม่สบาย 3 วัน ซึ่งแพทย์ประจำด่านควบคุมโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค สนามบินสุวรรณภูมิ ได้ส่งผู้ป่วยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี

โดยในเบื้องต้นแพทย์วินิจฉัยว่า อาจเป็นโรคติดต่อที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ จึงส่งมายังสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งผู้ป่วยมี อาการช็อก อาเจียนเป็นเลือดสีคล้ำ ตามผิว หนังและใบหน้ามีจ้ำเลือดและมีอาการหนัก ถึงขั้นเลือดออกในตาขาว มีอาการไตวาย และอาการคล้ายปอดบวม ก่อนจะสิ้นใจเสีย ชีวิตในเวลาต่อมา รวมเวลาที่รักษาอาการ ป่วยในประเทศไทยเพียง 15 ชั่วโมง โดย ผลจากห้องปฏิบัติการบ่งชี้ว่า เป็นไข้กาฬหลังแอ่น

ม.ล.นพ.สมชาย กล่าวต่อด้วยว่า กรมควบคุมโรคได้ประสานกับสายการบินเคนยา เพื่อติดตามผู้สัมผัสและผู้ใกล้ชิดกับผู้เสียชีวิต ซึ่งสายการบินดังกล่าว จะบินต่อไปประเทศจีน แต่มีผู้โดยสารที่ลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ 50 ราย โดยมีผู้นั่งใกล้ชิดผู้เสียชีวิต 17 ราย สามารถตามตัวได้ทุกราย ได้ให้หน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในภูมิลำเนา สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ติดตามเฝ้าระวังอาการคนเหล่านี้อีก 3-5 วัน โดย 5 รายที่ใกล้ชิดมาก และสัมผัสผู้ป่วยตลอดการเดินทาง ได้รับไว้ดูอาการที่สถาบันบำราศนราดูรแล้ว และผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิ โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันบำราศนราดูร ประมาณ 30 คน จะเฝ้าดูอาการต่อไป สธ. จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้แรงงานที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นได้ที่สถาบันบำราศนราดูร ก่อนเดินทาง 2 สัปดาห์ โดยวัคซีนจะมีผลป้อง กันโรคได้ 2-3 ปี

ขณะเดียวกัน นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สธ.กล่าวว่า รู้สึกตกใจมากเมื่อเห็นลักษณะอาการของผู้ป่วย ยิ่งเมื่อทราบว่า เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งเดิมมองไว้ 3-4 โรค เช่น อีโบล่า หรือโรคลูโจ ที่ติดจากหนู ระบาดที่แอฟริกาใต้ แต่อย่างไรก็ตาม เราก็วินิจฉัยได้ว่า ไข้กาฬหลังแอ่นก็พบที่แอฟริกา ซึ่งในส่วนของประเทศไทยก็พบโรคนี้ ปีละ 30-60 คน หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ล้านคน น้อยกว่าอเมริกาหรือยุโรปที่พบได้ คิดเป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แสนคน ทำให้ประเทศไทยจึงไม่บังคับเรื่องฉีดวัคซีน ยกเว้นผู้ที่ จะไปทำพิธีฮัจญ์ ที่ต้องฉีดเนื่องจากเคยมี การระบาดของโรคในซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2543.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook