"หมอเลี้ยบ" ชี้ คำสั่งปิด "วอยซ์ทีวี" เกินกำหนดไปแล้ว จะอ้าง พ.ร.บ.คอมฯ ก็ไม่ได้
Thailand Web Stat

"หมอเลี้ยบ" ชี้ คำสั่งปิด "วอยซ์ทีวี" เกินกำหนดไปแล้ว จะอ้าง พ.ร.บ.คอมฯ ก็ไม่ได้

"หมอเลี้ยบ" ชี้ คำสั่งปิด "วอยซ์ทีวี" เกินกำหนดไปแล้ว จะอ้าง พ.ร.บ.คอมฯ ก็ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้(20 ต.ค.) นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีคำสั่งปิด วอยซ์ ทีวี ระบุว่า หนังสือคำสั่งปิดวอยซ์ทีวีในวันที่ 20 ต.ค. ไม่สามารถอ้างอิงอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ เพราะเป็นคำสั่งเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 ซึ่งสิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว นอกจากนี้ยังไม่สามารถอ้างอิงตามความผิดใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุไว้ในมาตรา 35 ว่า การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพจะกระทำมิได้ ซึ่ง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายอื่นที่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ใช้บังคับมิได้ 

เนื้อหาทั้งหมดระบุว่า

สุญญากาศของอำนาจตาม พรก.ฉุกเฉิน :

คำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯไม่มีผลใชับังคับแล้ว

1. พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้นจึงระบุตัวผู้รับผิดชอบการใช้อำนาจชัดเจนและจำกัดเวลาในการใช้

2. ผู้ใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉิน คือ นายกรัฐมนตรีที่รวบรวมอำนาจจากรัฐมนตรีมารวมศูนย์ในการออกข้อกำหนดต่างๆ

3. ตามมาตรา 9 ของ พรก.ฉุกเฉินให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดให้มีเคอร์ฟิว ห้ามชุมนุม ห้ามเสนอข่าวบิดเบือน ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ห้ามใช้อาคาร 

4. ตามมาตรา 10 ของ พรก.ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบออกข้อกำหนดแทนได้ แต่ต้องรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว และถ้านายกรัฐมนตรีไม่ได้ออกข้อกำหนดเดียวกันภายใน 48 ชั่วโมงนับจากเวลาที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบออกข้อกำหนด ให้ข้อกำหนดนั้นสิ้นผลใช้บังคับ

5. คำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบที่ออกก่อนหรือออกภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2563 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว เพราะเกิน 48 ชั่วโมง และยังไม่มีคำสั่งของนายกรัฐมนตรีในข้อกำหนดเดียวกันออกมาทดแทน

Advertisement

6. การปิดวอยซ์ทีวีในวันนี้จึงไม่สามารถอ้างอิงอำนาจตาม พรกฉุกเฉินได้เพราะเป็นคำสั่งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ซึ่งสิ้นผลใช้บังคับแล้ว

7. การปิดวอยซ์ทีวีไม่สามารถอ้างอิง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯได้ เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 ระบุไว้ในมาตรา 35 ว่า การสั่งปิดกิจการหนัง

สือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพจะกระทำมิได้ และมาตรา 5 ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายอื่นที่ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ ใช้บังคับมิได้

8. ถ้าประสงค์จะปิดวอยซ์ทีวีและสื่อมวลชนอื่น ห้ามชุมนุม ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้ออกข้อกำหนดตาม พรก.ฉุกเฉินเอง ให้คนอื่นทำแทนไม่ได้และต้องพร้อมรับผิดชอบ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้