คนอีสาน หวั่นปัญหาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสำรวจเสาโทรศัพท์ พบกว่าครึ่งอยู่ใกล้โรงเรียน-บ้านเรือน

คนอีสาน หวั่นปัญหาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสำรวจเสาโทรศัพท์ พบกว่าครึ่งอยู่ใกล้โรงเรียน-บ้านเรือน

คนอีสาน หวั่นปัญหาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสำรวจเสาโทรศัพท์ พบกว่าครึ่งอยู่ใกล้โรงเรียน-บ้านเรือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนอีสานหวั่นปัญหาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสำรวจการติดตั้งเสาโทรศัพท์หลายจังหวัดพบว่า กว่า ครึ่งอยู่ใกล้โรงเรียนและบ้านเรือน โดยมีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่รับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ พร้อมระดมกึ๋นนักวิชาการ ผู้ประกอบการ องค์กรผู้บริโภคหาทางออกปัญหาตั้งเสาโทรศัพท์ เสนอ กทช.เร่งศึกษาผลกระทบอันตรายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างจริงจัง

เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น กลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาคอีสาน ร่วมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมภาคอีสาน โดยการสนับสนุนของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้จัดงานเวทีสภาผู้บริโภคภาคอีสาน ประจำปี 2552 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเกือบ 600 คน ได้มีการนำเสนอผลการสำรวจ "ข้อมูลพื้นที่ใกล้เคียงเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมที่อาจเกี่ยวข้องกับผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า"

นายนพพร ภูมิสวัสดิ์ กลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาคอีสาน เปิดเผยว่า ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม จำนวนทั้งสิ้น 125เสา จาก 5 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดสกลนคร พบว่า ร้อยละ ๔๒ เป็นเสาสัญญาณที่ตั้งมานาน 6-10 ปี ร้อยละ 32 เป็นเสาสัญญาณที่ตั้งมาน้อยกว่า 5 ปี บริษัทเจ้าของระบบเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมที่พบมาก ๓ อันดับแรก คือ เอไอเอส ทรูมูฟ และดีแทค ตามลำดับ ระยะห่างของเสาจากแหล่งชุมชน พบว่า ร้อยละ 52.8 เสาสัญญาณตั้งอยู่ห่างจากบ้านเรือนน้อยกว่า ๒๐ เมตร และมีเพียงร้อยละ 408 ที่เสาสัญญาณตั้งอยู่ห่างจากบ้านเรือนมากกว่า 80 เมตร ร้อยละ48.1 พบว่า เสาสัญญาตั้งอยู่ห่างจากโรงเรียนน้อยกว่า 200 เมตร ร้อยละ 15.2 พบว่า เสาสัญญาณอยู่ใกล้โรงพยาบาล ร้อยละ 18.4 อยู่ใกล้สถานีอนามัย

กลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาคอีสาน แจ้งต่อไปว่า จากการเข้าไปสำรวจบริเวณจุดตั้งเสาส่งสัญญาณ เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม พบว่า มีการติดป้ายแสดงสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการไว้ในบริเวณที่ตั้งสถานี ร้อยละ 71.2 มีการติดป้ายแสดงหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับผิดชอบที่สามารถติดต่อได้สะดวกไว้ในบริเวณที่ตั้งสถานี ร้อยละ 23.2 มีการติดป้ายคำเตือนหรือมีมาตรการป้องกันมิให้เข้าถึงบริเวณที่มีความเสี่ยงในการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ร้อยละ 28และที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ การรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ก่อนการตั้งเสาสัญญาณ มีเพียงร้อยละ 604

นายสมพันธ์ เตชะอธิก คณะมนุษย์สาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "เสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม มีผลกระทบต่อมนุษย์จริงหรือ ถ้าจริง ทางออกจะเป็นอย่างไร" ว่า การพิจารณาผลกระทบต้องมองทั้งด้านตัวบุคคลและสภาพแวดล้อม หากพบว่า เสาส่งสัญญาณมีผลกระทบ ก็ควรมีการระดมความคิดกันในระดับท้องถิ่น ทั้งนักวิชาการ อบต. ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และผู้ประกอบการมาร่วมกัน พิจารณานโยบายการตั้งเสาว่า ควรทำอย่างไร นำไปสู่การตัดสินใจออกนโยบายในระดับท้องถิ่น ตามข้อตกลงที่ทำร่วมกัน นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่และเกิดความชัดเจนสำหรับผู้ประกอบการในการปฏิบัติ

ว่าที่ร้อยตรีศรายุทธ บุญเลิศกุล ตัวแทนจากดีแทค กล่าวว่า การที่ชุมชนให้ความสนใจเรื่องการติดตั้งเสาส่งสัญญาณเป็นสิทธิของชุมชน ความต้องการในการใช้โทรศัพท์เป็นปัจจัยสำคัญที่เราจะตัดสินใจว่า เราจะนำเสาไปลงที่ไหน เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นชุมชน จะมีปัญหาเรื่องของผลกระทบด้านสภาพแวดล้อม ด้านชุมชน เช่น อันตรายจากคลื่น จากฟ้าผ่า ซึ่งทางดีแทคให้ความสำคัญ และนำข้อมูลไปปรับปรุงการบริการ เพราะฉะนั้น บทบาทของชุมชน นโยบายสาธารณะชุมชนจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของปัญหาการติดตั้งเสา

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สบท.กล่าวว่า สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุค 3จี จะมีการตั้งเสาเพิ่มขึ้นอีก แนวโน้มเทคโนโลยีไร้สายเติบโต เพราะการเข้าถึงง่ายและพกพาเคลื่อนที่ได้ สบท.เคยออกตรวจวัดคลื่นจากการติดตั้งเสาสัญญาณ 3เสา พบว่า ต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 500 เท่า แต่ในต่างประทศระบุว่า จะปลอดภัยต้องต่ำกว่า เกณฑ์ถึง หมื่นเท่า เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรปล่อยคลื่นเท่าที่จำเป็น และผู้บริโภคควรใช้เท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะเด็กต้องระมัดระวังยิ่งขึ้น

ด้านนายปฏิบัติ เฉลิมชาติ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า เพื่อให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขมากขึ้น เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน ขอยื่นข้อเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมาแห่งชาติ (กทช.) คือ กทช.ต้องบังคับใช้ระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรคมนาคมอย่างเข้มงวดและจริงจัง เมื่อผู้ปร่ะกอบการขออนุญาตตั้งเสาส่งสัญญาณ ณ ที่แห่งใด กทช. จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของการขออนุญาตอย่างละเอียด เช่น สถานที่ตั้งเสาฯ ความเข้มของสนามแม่เหล็ กทช.ต้องมีหน่วยติดตามตรวจสอบความเข้มของสนามแม่เหล็กในบริเวณที่มีการตั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคม กทช. ต้องสนับสนุนสถาบันการศึกษา นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาค้นคว้า ทำการวิจัยอย่างจริงจัง เกี่ยวกับผลกระทบ และอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook