จับตา ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อีก 48 ปีข้างหน้าอาจพุ่งชนโลก

จับตา ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อีก 48 ปีข้างหน้าอาจพุ่งชนโลก

จับตา ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อีก 48 ปีข้างหน้าอาจพุ่งชนโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วานนี้ (30 ต.ค.) เฟซบุ๊กแฟนเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รายงานว่า อีก 48 ปีข้างหน้า ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส อาจมีโอกาสพุ่งชนโลก

นักดาราศาสตร์ต่างจับตามอง "ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส" เนื่องจากเป็น 1 ใน 3 ดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสพุ่งชนโลกในช่วงหนึ่งร้อยปีต่อจากนี้ แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้เปิดเผยว่า วงโคจรของอะโฟฟิสมีความเปลี่ยนแปลงและอาจพุ่งชนโลกประมาณวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2611 หรืออีก 48 ปีข้างหน้า

Dave Tholen นักดาราศาสตร์ประจำสถาบันดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาวาย ผู้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสมากว่า 16 ปี ได้อธิบายถึงผลการสำรวจล่าสุดว่า การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเกิดจากการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์เรียกว่า ยาคอฟสกีเอฟเฟค (Yarkovsky effect)

ส่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสจากเดิมที่คำนวณไว้ปีละ 170 เมตร ซึ่งมากพอที่อาจจะมีโอกาสพุ่งชนโลกในปี พ.ศ. 2611 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โอกาสการเกิดขึ้นมากที่สุดตาม Sentry Risk Table ขององค์การนาซาคือ 1 ใน 150,000 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.00067

ปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ได้ติดตามดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสอย่างต่อเนื่อง อัพเดทข้อมูลล่าสุดและคำนวณอย่างระมัดระวัง ซึ่งข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ซูบารุในเดือนมกราคมถึงมีนาคม ช่วยให้วัดตำแหน่งของอะโพฟิสได้อย่างแม่นยำ และสามารถประมาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสได้ นั่นคือ 370 เมตร

การเข้าใกล้โลกมากที่สุดครั้งถัดไป คือวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572 ซึ่งอาจทำให้สามารถมองเห็นดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ต่างเฝ้ารอการเข้าใกล้ครั้งนี้เพราะเป็นโอกาสที่จะได้ข้อมูลของวงโคจรที่แม่นยำ ผลของแรงโน้มถ่วงและแสงอาทิตย์ที่มีผลกับวงโคจรของอะโฟฟิส

ดาวเคราะห์น้อยอะโฟฟิสถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยหอดูดาวแห่งชาติคิตพีค (Kitt Peak National Observatory) หากการพุ่งชนเกิดขึ้นจะทำให้เกิดแรงระเบิดที่เทียบเท่ากับระเบิด TNT จำนวน 880 ล้านตัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook