เลือกตั้งสหรัฐ 2020: 6 รัฐชี้ชะตา (Swing State) อาจเป็นตัวตัดสินผลแพ้ชนะทรัมป์-ไบเดน

เลือกตั้งสหรัฐ 2020: 6 รัฐชี้ชะตา (Swing State) อาจเป็นตัวตัดสินผลแพ้ชนะทรัมป์-ไบเดน

เลือกตั้งสหรัฐ 2020: 6 รัฐชี้ชะตา (Swing State) อาจเป็นตัวตัดสินผลแพ้ชนะทรัมป์-ไบเดน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายโจ ไบเดน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต มีคะแนนนิยมนำหน้าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คู่ชิงจากพรรครีพับลิกันเพียงเล็กน้อยใน 6 รัฐ Swing State ซึ่งได้แก่ แอริโซนา ฟลอริดา มิชิแกน นอร์ทแคโรไลนา เพนซิลวาเนีย และวิสคอนซิน ก่อนที่การเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันนี้ (3 พ.ย.) ตามเวลาในสหรัฐ โดยทั้ง 6 รัฐนี้เป็นรัฐที่ประธานาธิบดีทรัมป์เคยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปี 2559

ทั้งนี้ รัฐ Swing State ถือเป็นรัฐชี้ชะตาเนื่องจากเป็นรัฐที่ไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นฐานเสียงของพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างชัดเจน โดยรัฐเหล่านี้จะเป็นรัฐที่ประชากรมีความคิดทางการเมืองแตกต่างกันในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ที่ผ่านมาทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันคว้าคะแนนจากรัฐเหล่านี้ได้มากน้อยสลับกันไปมา จึงถูกมองว่าเป็นรัฐที่มีความสำคัญต่อการชี้วัดผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาตลอด

สำหรับคะแนนนิยมของนายไบเดนและประธานาธิบดีทรัมป์ ใน 6 รัฐ Swing State เป็นดังนี้

แอริโซนา:

ไบเดน 50% vs ทรัมป์ 47%

ฟลอริดา:

ไบเดน 51% vs ทรัมป์ 48%

มิชิแกน:

ไบเดน 51% vs ทรัมป์ 44%

นอร์ทแคโรไลนา:

ไบเดน 49% vs ทรัมป์ 47%

เพนซิลวาเนีย:

ไบเดน 50% vs ทรัมป์ 46%

วิสคอนซิน:

ไบเดน 53% vs ทรัมป์ 45%

ทั้งนี้ ทั่วโลกจับตาการการเลือกตั้งสหรัฐในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด โดยแม้ผลการสำรวจของทุกสำนักต่างระบุตรงกันว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะพ่ายแพ้ต่อนายโจ ไบเดน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่คะแนนเสียงจากผู้ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจ และคะแนนเสียงจากหลายรัฐที่ไม่ใช่ฐานเสียงของทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน อาจเป็นปัจจัยชี้ขาดผลการเลือกตั้งครั้งนี้

ในวันนี้ (3 พ.ย.) ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา นอกจากชาวสหรัฐที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว พวกเขายังจะทำการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งสภาจำนวน 435 คน และเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 1 ใน 3 ของทั้งหมด หรือจำนวน 33 คน จากทั้งหมด 100 คน โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะมีขึ้นทุก 4 ปี และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจะมีขึ้นทุก 2 ปี

นอกจากนี้ ชาวสหรัฐยังออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนหลายพันคนทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงผู้ว่าการรัฐ และผู้พิพากษา ส่งผลให้การเลือกตั้งในวันนี้ ถือเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญต่อทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน เนื่องจากมีผลต่อชัยชนะของพรรคในการเข้าครอบครองทำเนียบขาวและสภาคองเกรสนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook