การบริหารบ้านเมืองที่ล้มเหลว ส่วนหนึ่งเพราะแปล Administration และ Executive เหมือนกัน

การบริหารบ้านเมืองที่ล้มเหลว ส่วนหนึ่งเพราะแปล Administration และ Executive เหมือนกัน

การบริหารบ้านเมืองที่ล้มเหลว ส่วนหนึ่งเพราะแปล Administration และ Executive เหมือนกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความล้มเหลวทางการเมืองของไทยที่ทำให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการทหารที่ยาวนานมาตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งนั้นขึ้นอยู่ที่การเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ที่ไม่สามารถชี้แจงศัพท์อันเป็นสาระสำคัญเบื้องต้นของวิชารัฐศาสตร์ที่เราไปรับมาจากประเทศตะวันตก 2 คำ

คำศัพท์ 2 คำดังกล่าว คือ Executive ที่ไทยเราแปลว่า "การบริหาร" กับคำว่า Administration ที่เราก็แปลว่า "การบริหาร" เหมือนกัน ทำให้เกิดความสับสน เข้าใจผิดจนอ้างอิงกันอย่างหน้าตาเฉยในปัจจุบัน

การบริหาร มาจากคำว่า บริ แปลว่า รอบ ๆ ทั่วถึง และคำว่า หาร แปลว่า จัดสรร แบ่งปัน เจตนารมณ์ของการจัดสรรแบ่งปันก็เพื่อให้ทั่วถึงหรือ บริ ที่เรียกว่าความเสมอภาค หรือ Equality แต่ในขณะเดียวกันการที่ได้รับการจัดสรรโดยเท่ากันอาจไม่เป็นธรรมก็ได้จึงต้องมุ่งให้เกิดความเป็นธรรม (Equity) และมีจริยธรรม (Ethics) ด้วย

คำนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Administration ซึ่งมาจาก Ad + Minister โดย Ad แปลว่า Toward (มุ่งต่อ) และ Minister แปลว่า ผู้รับใช้ ดังนั้น Prime Minister ก็มีรากศัพท์มาจากคำนี้คือแปลว่า หัวหน้าผู้รับใช้ประชาชน หรือ อีกนัยหนึ่ง Administration มาจากคำว่า Ad + Mini + Strata  อันแปลว่ามุ่งให้เกิดผลแก่ Mini หรือผู้น้อย ผู้มีอำนาจน้อยกว่า หรือ พลเมือง

ถ้าใช้คำนี้ในภาครัฐจึงแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจเหนือกว่า คือ รัฐบาลกับผู้มีอำนาจน้อยกว่าคือ ประชาชน ถ้าใช้ในภาคเอกชนก็คือผู้มีอำนาจหรือผู้กำหนดนโยบาย ในการจัดสรรทรัพยากรขององค์การให้แก่กลุ่มงานหรือพนักงานขององค์การ ไม่ได้แปลว่าคำนี้ถูกจำกัดไว้ใช้ในภาครัฐเท่านั้น

ความจริงตามหลักวิชารัฐศาสตร์ได้จำแนกอำนาจในการปกครองออกเป็น 2 ระดับ คือ Executive power นั้นเป็นอำนาจของการอำนวยการปฏิบัติโดยวางเป็นนโยบายซึ่งเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี และอำนาจ Executive นี้กำหนดโดยรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยทุกฉบับก็ใช้คำว่า "อำนาจบริหาร"ในความหมายของ Executive power อยู่แล้ว

ส่วนอำนาจระดับรองลงมา ได้แก่อำนาจของกระทรวง ทบวง กรมซึ่งจัดดำเนินการปฏิบัติ Administrate ให้เป็นไปตามนโยบายนั้น ทั้งนี้กำหนดไว้ในกฎหมายปกครอง (Administrative law) อยู่แล้ว

แต่ต่อมาเกิดมีผู้ใช้คำ "บริหาร" แทน administration มากขึ้นด้วยเหตุใดไม่ทราบได้จึงเกิดความสับสนดังกล่าว ทั้งๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานรัฐประศาสนเป็นคำแปลของ Public Administration ไว้ให้ใช้แล้ว จนบรรดามหาวิทยาลัยต่างๆ เอาไปตั้งชื่อคณะและภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์กันเกร่อไปหมด

ส่วนทางบริหารธุรกิจก็เพิ่งจะมาเริ่มใช้คำว่า Business Administration แทนคำว่า การจัดการ (Management) เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง จนกระทั่งมีการพูดกันจนติดปากว่าการบริหารจัดการเลยทำให้สับสนกันไปยกใหญ่

ครับ ! คำว่าบริหารคงต้องตกลงกันให้มั่นให้เหมาะกันจริงๆ สักทีหนึ่งแล้วเพราะทุกวันนี้พูดกันไม่รู้เรื่องกันมากขึ้นทุกวันแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook