อ่าวนาง จ.กระบี่ แทบเป็นเมืองร้าง ประกาศขาย 10 โรงแรม รวมมูลค่าพันล้าน

อ่าวนาง จ.กระบี่ แทบเป็นเมืองร้าง ประกาศขาย 10 โรงแรม รวมมูลค่าพันล้าน

อ่าวนาง จ.กระบี่ แทบเป็นเมืองร้าง ประกาศขาย 10 โรงแรม รวมมูลค่าพันล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรงแรม-ร้านค้า ที่อ่าวนาง จ.กระบี่ เจ๊งยับ ขึ้นป้ายขายกิจการกันระนาว พบโรงแรมระดับ 3 ถึง 5 ดาว รวมมูลค่ากว่าพันล้านบอกขายด้วย

วานนี้ (12 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.กระบี่ ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบรุนแรงต่อเนื่อง ทำให้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ของ จ.กระบี่ ซึ่งก่อนนี้เคยคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เงียบเหงาจนกลายเป็นเมืองร้าง ไร้เงาผู้คน หรือนักท่องเที่ยว

โดยเฉพาะย่านหาดอ่าวนางใน ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ ผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบ พบจากเดิมบริเวณย่านการค้าที่เคยคึกคัก ทุกวันนี้บรรดาผู้ประกอบการร้านค้า พากันปิดกิจการกันเป็นแถว มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ที่ยังคงเปิดกิจการอยู่ นอกจากนี้ ยังพบว่าร้านค้าหลายแห่ง รวมถึงโรงแรม ที่พัก พากันปิดตัวและขึ้นป้ายประกาศขายกิจการกันจำนวนมาก 

สอบถามจาก นายเอกวิทย์ ภิญโญธรรมโนทัย ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.กระบี่ ทราบว่า ข่าวลือเรื่องการประกาศขายกิจการของธุรกิจโรงแรมที่พักในหาดอ่าวนาง ยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง โดยเฉพาะโรงแรมขนาดใหญ่ระดับ 3-5 ดาว กว่า 10 แห่งมูลค่ารวมกันกว่าพันล้านบาท ที่ประกาศขายกิจการ

เพราะผู้ประกอบการแบกรับภาระต่อไม่ไหว หลังต้องแบกภาระมานานร่วม 8 เดือน มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้เลย ส่วนผู้ประกอบการรายเล็กคงไม่ต้องพูดถึง เพราะปิดตัวกันไปเยอะมาก เพราะพื้นที่หาดอ่าวนาง ส่วนใหญ่จะรับนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติ 80-90 เปอร์เซ็นต์

นายเอกวิทย์ ภิญโญธรรมโนทัย ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.กระบี่นายเอกวิทย์ ภิญโญธรรมโนทัย ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.กระบี่

นายเอกวิทย์ กล่าวต่อว่า มาตรการที่ภาครัฐออกมา ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการตอนนี้ คือภาครัฐดูเรื่องของภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องของดอกเบี้ยเงินกู้ อยากให้ชะลอไว้ก่อนได้หรือไม่ เพราะผู้ประกอบการไม่มีรายได้จะไปจ่ายในตอนนี้

จึงอยากขอให้ภาครัฐมองที่ปัญหาจริงๆ และต้องแก้ให้ตรงจุด เพราะที่ผ่านมาการกระตุ้นที่ภาครัฐทำออกมา เป็นเพียงการต่อลมหายใจเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่กลับส่งผลกระทบเพราะผู้ประกอบการต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายเพื่อเปิดกิจการรับการกระตุ้นในระยะสั้น ซึ่งไม่ได้ตอบโจทย์อย่างแท้จริง แต่ในระยะยาวรัฐต้องดูเรื่องการชะลอการจ่ายเงินกู้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย อาจจะต้องชะลอช่วยผู้ประกอบการในระยะ 2-3 ปี

ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป ตอนนี้เขาต้องการจะเดินทางมา แต่ด้วยการที่ภาครัฐไม่มีความชัดเจนในการเปิดให้เข้ามา ทำให้กลุ่มเหล่านี้เลือกที่จะไม่เดินทางมา หากไทยเรามั่นใจในกระบวนการด้านสาธารณสุข ก็ควรประกาศให้ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวต่างชาติด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook