เคลียร์ชัด!!! รถไฟฟ้าสายสีทอง เอกชนลงทุนทั้งหมด ประชาชนได้ประโยชน์เต็ม ๆ

เคลียร์ชัด!!! รถไฟฟ้าสายสีทอง เอกชนลงทุนทั้งหมด ประชาชนได้ประโยชน์เต็ม ๆ

เคลียร์ชัด!!! รถไฟฟ้าสายสีทอง เอกชนลงทุนทั้งหมด ประชาชนได้ประโยชน์เต็ม ๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ท่ามกลางกระแสการเมืองร้อนฉ่า หลายเรื่องถูกจับโยงเป็นประเด็นทางการเมือง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องดี ๆ ที่ภาคเอกชนลงทุนสร้าง รถไฟฟ้าสายสีทอง ด้วยงบประมาณของตัวเองทั้งหมด แล้วยกให้รัฐดูแล ยังไม่วายถูกบิดเบือน สร้างกระแสข่าวว่า ใช้เงินภาษีประชาชนเพื่อเอื้อเอกชน งานนี้ร้อนถึงผู้ว่าฯ กทม. ต้องออกมาชี้แจง เคลียร์คัตชัดเจนสุด ๆ ไปเลยว่า รัฐไม่มีงบสร้างตั้งแต่แรก เอกชนจึงต้องลงทุนเองทั้งหมดกว่า 3 พันล้านบาท แถมถ้าขาดทุนยังต้องโปะเงินให้รัฐอีก งานนี้คนได้ประโยชน์สูงสุดคือประชาชน

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าว กรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์รถไฟฟ้าสายสีทอง ที่กำลังจะเปิดให้บริการในเดือนหน้า เป็นการใช้งบประมาณจากภาษีประชาชน เอื้อประโยชน์ให้เอกชน ว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงการที่เอกชนลงทุนสร้างเองทั้งหมด ด้วยงบประมาณกว่า 3 พันล้านบาท ไม่ได้ใช้เงินจากรัฐเลย ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงคือประชาชน

“เอกชนเค้าสร้างกันเอง เค้าเสียตังค์ เราไม่ได้เสียอะไรเลย เราได้ฟรี ประชาชนได้ฟรี เขาลงทุนไปถึงเกือบ 3 พันล้านบาท ตอนแรกเขามาถามความเป็นไปได้ขอให้ร่วมลงทุนสร้าง แต่เราบอกว่า เราไม่มีตังค์ เราไม่สร้างหรอก เขาก็บอกจะออก 2 พันล้าน แต่เราบอกไม่ คุณจะสร้างเท่าไหร่ก็เรื่องของคุณ เราไม่เติมให้คุณหรอก แต่เราเห็นประโยชน์ที่จะไปถึงประชาชน กทม.เป็นคนเดินรถ ถ้าขาดทุน คุณต้องเติมค่าใช้จ่ายให้เราด้วยนะ ผมยืนยันว่ามันขาดทุนแน่นอน เพราะแค่ 3 สถานี ซึ่งสมมุมติว่า วันหนึ่งขาดทุน 3 พันบาท เดือนละ 9 หมื่นบาท คุณก็ต้องมาเติมให้เรา เราไม่ออกเลย ดังนั้น เชื่อผมเถอะ ผมยืนยันว่าขาดทุน ไม่เชื่อใครมาวิ่งก็ได้ แต่ประชาชนได้ประโยชน์” พล.ต.อ.อัศวิน กล่าว

รถไฟฟ้าสายสีทองเป็นโครงการที่กทม.ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2561 จะเปิดให้บริการวันที่ 16 ธ.ค. 2563 เวลาประมาณเวลา 11 โมง วันเดียวกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่จะเปิดในเวลา 9:00 น. โดยมีระยะทางรวม 2.75 กม. จำนวน 4 สถานี วิ่งตามแนวถนนกรุงธนบุรี ถนนเจริญนคร และถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยในปัจจุบันเป็นการดำเนินการระยะที่ 1 ระยะทาง 1.80 กม.ประกอบด้วย สถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีเจริญนคร (G2) และสถานีคลองสาน (G3) อัตราค่าโดยสาร 3 สถานี 15 บาท

ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบ Automated Guideway Transit (AGT) หรือระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ หรือระบบ Automated People Mover (APM) เป็นระบบล้อยาง โดยรถที่นำมาใช้เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 ความเร็วสูงสุดที่ 80 กม./ชม จำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ ตู้รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 มตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 19 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 มตร คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเมื่อเปิดให้บริการ อยู่ที่ประมาณ 42,000 เที่ยว คน/วัน.

โครงการนี้ กทม.ได้มอบให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งไม่ได้ใช้งบประมาณของภาครัฐ เป็นรูปแบบความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนากรุงเทพฯ ไปด้วยกัน จึงทำให้โครงการเกิดขึ้นได้เร็ว ไม่ต้องรอกระบวนการวิธีงบประมาณจากทางภาครัฐ และทรัพย์สินในโครงการนี้ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของกรุงเทพมหานครทั้งหมด ซึ่งโครงการนี้ เป็นความตั้งใจดีที่ กทม. มอบแก่ให้ประชาชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook