สุชาติ รมว.แรงงาน ประชุมชี้แจง การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการ

สุชาติ รมว.แรงงาน ประชุมชี้แจง การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการ

สุชาติ รมว.แรงงาน ประชุมชี้แจง การจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“สุชาติ” รมว.แรงงาน เปิดเวทีประชุมชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ให้กับ รพ.ประกันสังคมทั้งภาครัฐบาลและเอกชน

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรุงเทพฯ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน “โครงการประชุมชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลประกันสังคมทั้งภาครัฐบาลและเอกชน” โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารสถานพยาบาล และสื่อมวลชน ให้การต้อนรับ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ไปสู่เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้กับผู้ประกันตนมีสุขภาพที่ดี โดยใช้หลักการ “ป้องกัน ดีกว่าแก้ไข” รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับบริการที่ดีมีมาตรฐาน เพื่อให้แรงงานได้มีหลักประกันที่ดี เหมาะสมในการดำรงชีวิต เพราะหากผู้ประกันตนมีสุขภาวะที่ดี ย่อมเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกระทรวงแรงงาน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ   ในการจัดการและพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อดูแลด้านการรักษา ของผู้ประกันตน ให้ได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ โดยมุ่งหวังที่จะให้บริการทางการแพทย์มีระบบการ    บริหารจัดการที่เป็นเลิศ (Governance Excellence) ซึ่งประกอบไปด้วยระบบข้อมูลด้านสารสนเทศ ด้านสุขภาพ ความมั่งคง ด้านยาและเวชภัณฑ์ และการคุ้มครองผู้บริโภค

สำหรับการจัดงาน “โครงการประชุมชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลประกันสังคมทั้งภาครัฐบาล และเอกชน” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงให้สถานพยาบาลในระบบประกันสังคม ภาครัฐ จำนวน 164 แห่ง และภาคเอกชน จำนวน 81 แห่ง พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกันซักซ้อมทำความเข้าใจ แนวทางการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ (Medical Audit) มาดำเนินการให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการทางการแพทย์อย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง และเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านการแพทย์ที่ผู้ประกันตนต้องได้รับ อีกทั้งคุ้มค่ามีประสิทธิภาพเหมาะสม  ต่อการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีการชี้แจงให้สถานพยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะกรณีการจัดส่งข้อมูลเวชระเบียบเพื่อใช้ในการตรวจสอบ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในการพิจารณาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนเมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน สามารถไปเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมด ซึ่งผู้ประกันตนไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ ได้กำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มให้แก่สถานพยาบาลนอกเหนือจากอัตราเหมาจ่าย ดังนี้

  1. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีโรคที่มีภาระเสี่ยง 26 โรค และค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยทุกรายโดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในอัตรา 453/คน/ปี
  2. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในอัตรา 746/คน/ปี
  3. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลตามสิทธิที่ให้บริการทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยในที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงเกินปกติที่มีค่าใช้จ่ายเกินกว่า 1 ล้านบาท
  4. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ กรณีผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  5. มีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประกันตน และมีการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุกในสถานประกอบการ
  6. เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ให้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 3 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ 1 ครั้ง/คน/ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งมีสถานพยาบาล ที่เป็นเครือข่ายของสำนักงานประกันสังคมให้บริการฉีดวัคซีน รพ.ของรัฐ 164 แห่ง รพ.เอกชน 81 แห่ง     และมีผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว จำนวน 131,797 คน

      7. สถานพยาบาลจัดให้มีการดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนโดยเชิญชวนสถานพยาบาลที่เป็นเครือข่ายประกันสังคมทุกแห่ง ดำเนินการจัดจุดบริการพิเศษ ให้แก่ผู้ประกันตน “ประกันสังคม Smile Corner” เพื่อเป็นจุดรับรองพิเศษแก่ผู้ประกันตนที่มาใช้บริการ เช่น มีน้ำดื่ม เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ที่นั่งพักระหว่างรอรับบริการ

นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ บูธแสดงนิทรรศการดำเนินงานของสถานพยาบาลตามโครงการสถานพยาบาลในดวงใจ บูธนิทรรศการจากหน่วยงานและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของสถานพยาบาล และนิทรรศการให้ความรู้เผยแพร่งานประกันสังคมให้กับผู้เข้ารับการประชุมฯ อีกด้วย

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook