งานวิจัยชิ้นใหม่พบ จระเข้ “งอกหางใหม่” ได้เหมือนจิ้งจก
![งานวิจัยชิ้นใหม่พบ จระเข้ “งอกหางใหม่” ได้เหมือนจิ้งจก](http://s.isanook.com/ns/0/ud/1661/8307010/sanookthumbnail2020(29).jpg?ip/crop/w1200h700/q80/jpg)
เป็นที่รู้กันว่า สัตว์เลื้อยคลานอย่างจิ้งจกและตุ๊กแกสามารถงอกหางใหม่ได้ ซึ่งเป็นวิธีการเอาชีวิตรอดของพวกมันตามธรรมชาติ แต่งานวิจัยชิ้นใหม่ค้นพบว่า จระเข้ที่ยังไม่โตเต็มวัยก็มีความสามารถที่จะงอกหางใหม่ได้ยาวกว่า 9 นิ้ว หรือคิดเป็น 18% ของความยาวทั้งตัว
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต และกรมสัตว์ป่าและประมงแห่งรัฐลุยเซียนา ได้ใช้เทคโนโยลีการถ่ายภาพขั้นสูง และขั้นตอนทดสอบตามเวลาในการศึกษาการจัดจะบบกายวิภาคและเนื้อเยื่อ เพื่อค้นหาคำตอบว่าหางงอกใหม่ของจระเข้นั้นเป็นโครงกระดูกอ่อนที่สามารถฟื้นฟูและรักษาบาดแผลได้
“โครงกระดูกที่งอกใหม่จะถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อและผิวหนัง แต่ไม่มีกล้ามเนื้อลาย” เคนโระ คูซูมิ นักเขียนรายงานการวิจัยร่วม และผู้อำนวยการชีววิทยาศาสตร์ ASU กล่าว พร้อมเสริมว่า แม้หางงอกใหม่จะไม่มีกล้ามเนื้อแต่ก็มีความสำคัญต่อผู้ล่าตัวใหญ่เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยยังระบุว่า การทำความเข้าใจข้อจำกัดนี้ อาจช่วยในการพัฒนาบำบัดฟื้นฟูในมนุษย์ พร้อมใช้ประโยชน์เพื่อช่วยเหลือคนที่ต้องสูญเสียอวัยวะหรือเหยื่อแผลไฟไหม้