เปิดไทม์ไลน์ หญิงเจ้าของแพกุ้งติดเชื้อโควิดที่สมุทรสาคร มีอาการปวดเมื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น

เปิดไทม์ไลน์ หญิงเจ้าของแพกุ้งติดเชื้อโควิดที่สมุทรสาคร มีอาการปวดเมื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น

เปิดไทม์ไลน์ หญิงเจ้าของแพกุ้งติดเชื้อโควิดที่สมุทรสาคร มีอาการปวดเมื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เผยไทม์ไลน์เจ้าของแพกุ้งที่สมุทรสาคร หญิงวัย 67 ติดเชื้อโควิด-19 พบว่ามีอาการปวดเมื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ตั้งแต่เมื่อ 13 ธ.ค.

วันนี้ (17 ธ.ค. 63) นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกันแถลงผลสอบสวนโรคเบื้องต้น กรณีหญิงไทยอายุ 67 ปี มีอาชีพค้าขายเป็นเจ้าของแพปลา ตลาดกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีไทม์ไลน์ก่อนตรวจพบโรคโควิด-19 ดังนี้

13 ธันวาคม

- เริ่มมีอาการปวดเมื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น

16 ธันวาคม

- เวลา 18:00 น. เดินทางมารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อ COVID-19 ผู้ป่วยกลับไปรอผลที่บ้าน 

- เวลา 22:00 น. ผลตรวจออกมา พบเชื้อโควิด-19

17 ธันวาคม

- เวลา 02:30 น. ผู้ป่วยมาแยกกักตัวที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

- เวลา 08:00 น. ส่งตรวจยืนยันผลอีกครั้งที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ผลพบเชื้อโควิด-19

ทั้งนี้ ผู้สัมผัสใกล้ชิด คนในครอบครัว ลูกชายคนที่ 2 และเพื่อนลูกชายเพศหญิง ผลตรวจเบื้องต้นไม่พบเชื้อ ขณะนี้เฝ้าระวังโรคที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ขณะที่มารดาที่ป่วยติดเตียง น้องชายผู้ป่วย น้องสะใภ้ พี่สาวคนโต แม่บ้าน อยู่ระหว่างรอผล โดยให้กักตัวที่บ้าน

ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ 8 ราย ที่อยู่ในช่วงเวลาที่หญิง อายุ 67 ปี เดินทางไปรักษาในช่วงแรก ผลตรวจเชื้อเบื้องต้นไม่พบเชื้อโควิด-19

อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยหญิง อายุ 67 ปี ขายของที่แพกุ้ง ตั้งแต่เวลา 06:00 น. ถึง 11:00 น. ของทุกวัน โดยมีผู้สัมผัสใกล้ชิด คือ ลูกชายคนที่ 1 ชายอายุ 39 ปีที่ทำงานด้วยกัน ลูกจ้างพม่า 1 คนเป็นชายอายุ 40 ปี และลูกจ้างพม่า ชายอายุ 48 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างติดตามมาเก็บตัวอย่างและกักกันโรค

timeline-covid-samutsakhorn-s

สรุป มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 18 ราย เป็นคนในครอบครัว ในสถานประกอบการ ในสถานพยาบาล ได้รับการเก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อและกักกันแล้ว 16 ราย ผลเป็นลบ 10 ราย รอผลอีก 6 ราย ส่วนอีก 2 รายอยู่ระหว่างการติดตามตัว โดยมีการค้นหาคัดกรองและเก็บตัวอย่างผู้สัมผัสเพิ่มเติมในตลาดกุ้ง ได้แก่ ผู้ค้า ผู้ซื้อ และแรงงานในตลาดกุ้ง รวมถึงลูกค้าที่มาซื้อของเป็นประจำและผู้ที่ติดต่อกับผู้ป่วย ส่วนตลาดที่พบผู้ป่วยจะหยุดให้บริการจนครบ 3 วัน และทำความสะอาดฆ่าเชื้อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook