จาเร็ด คุชเนอร์ เขยขวัญของประธานาธิบดีทรัมป์ เบื้องหลังผูกสัมพันธ์อาหรับ-อิสราเอล

จาเร็ด คุชเนอร์ เขยขวัญของประธานาธิบดีทรัมป์ เบื้องหลังผูกสัมพันธ์อาหรับ-อิสราเอล

จาเร็ด คุชเนอร์ เขยขวัญของประธานาธิบดีทรัมป์ เบื้องหลังผูกสัมพันธ์อาหรับ-อิสราเอล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายจาเร็ด คุชเนอร์ สืบเชื้อสายจากชาวยิวที่บรรพบุรุษอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐเบลารุส ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหภาพโซเวียต โดยปู่และย่าของเขารอดชีวิตจากค่ายกักกันที่นาซีเยอรมนีดำเนินการฆ่าแบบล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างยึดครองเบลารุสอยู่ ได้อพยพมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2492 และให้กำเนิดบิดาของจาเร็ด คุชเนอร์เมื่อ พ.ศ. 2497 ชื่อนายชาร์ล คุชเนอร์ ซึ่งต่อมาได้ตั้งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ประสบความสำเร็จมั่งคั่งร่ำรวยมาก

นายจาเร็ด คุชเนอร์เกิดเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2524 วัย 39 ปี เข้าเรียนระดับปริญญาตรีสาขาการเมืองการปกครอง ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ด้วยเงินบริจาค 2.5 ล้านดอลลาร์จากบิดาของเขา และได้เรียนต่อระดับปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ และ
ปริญญาตรีด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กควบกันจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (วิชากฎหมายของสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นวิชาชีพถ้าจะเรียนต้องมีวุฒิภาวะสูงพออย่างน้อยต้องจบปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งเสียก่อนจึงจะมีคุณสมบัติเข้าเรียนได้)

ช่วยทรัมป์หาเสียง

เมื่อจบการศึกษานายจาเร็ด คุชเนอร์ มีโอกาสดำรงตำแหน่งระดับผู้บริหารกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของครอบครัว เนื่องจากบิดาของเขาถูกจำคุกเป็นเวลา 2 ปี ในข้อหาหนีภาษี และสร้างพยานเท็จ หลังจากนั้นคุชเนอร์ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์ New York Observer ซึ่งต่อมาหนังสือพิมพ์ New York Observer ก็คือหนังสือพิมพ์ที่สนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างเป็นทางการ

นายจาเร็ด คุชเนอร์แต่งงานกับ นางสาวอิวังกา ทรัมป์ ลูกสาวคนโตของทรัมป์ เมื่อปี 2552 และสนับสนุนนายโดนัลด์ ทรัมป์ ตลอดช่วงเวลาการหาเสียงเป็นประธานาธิบดี โดยทำหน้าที่เป็นผู้วางแผนการใช้สื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ผู้เขียนคำสุนทรพจน์และผู้จัดการการหาเสียงของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในที่สุด จนกระทั่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะในการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

นายจาเร็ด คุชเนอร์ จึงเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาระดับอาวุโสในทำเนียบขาว และให้คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องตะวันออกกลาง

สื่อหลายสำนักต่างมองว่า คุชเนอร์เป็นเพื่อนคู่คิดและที่ปรึกษาคนสนิทที่สุดของประธานาธิบดีทรัมป์ และนายจาเร็ด คุชเนอร์ ยังเป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลเบื้องหลังการตัดสินใจและการปลดบุคลากรหน้าเก่าหลายคนออกจากตำแหน่งอีกด้วย

ใจถึงพึ่งได้ ผูกมิตรอาหรับ-อิสราเอล

ประธานาธิบดีทรัมป์ก็เหมือนประธานาธิบดีคนก่อนๆ ของสหรัฐ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีทรูแมนเป็นต้นมาที่พยายามสร้างสันติภาพขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งสันติภาพระหว่างประเทศอิสราเอล (ยิว) กับกลุ่มประเทศอาหรับที่มีอยู่ถึง 22 ประเทศ อันได้แก่

  • กาตาร์
  • คูเวต
  • โคโมรอส
  • จอร์แดน
  • จิบูตี
  • ซาอุดีอาระเบีย
  • ซีเรีย
  • ซูดาน
  • โซมาเลีย
  • ตูนิเซีย
  • บาห์เรน
  • ปาเลสไตน์
  • มอริเตเนีย
  • โมร็อกโก
  • เยเมน
  • ลิเบีย
  • เลบานอน
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • อิรัก
  • อียิปต์
  • แอลจีเรีย
  • โอมาน

จำนวนนี้มีเพียง 2 ประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล คือ อียิปต์ และ จอร์แดน เท่านั้น แต่ปรากฎว่านายจาเร็ด คุชเนอร์ เขยขวัญของประธานาธิบดีทรัมป์สามารถเป็นผู้จัดการเจรจาต่อรองให้ประเทศอาหรับ 4 ประเทศ ได้แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, บาห์เรน, ซูดาน และโมร็อคโค รับรองและเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลได้เป็นผลสำเร็จในช่วงท้ายก่อนที่พ่อตาของเขาจะต้องลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี

นับว่าเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่งสำหรับคนหนุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ในแวดวงทางการเมืองระหว่างประเทศมาก่อนเลย อย่าง นายจาเร็ด คุชเนอร์ ที่เปรียบเสมือนนักการทูตสมัตรเล่นแต่นายจาเร็ด คุชเนอร์ ได้พิสูจน์ถึงสัจธรรมของหลักการในวงการเมืองระหว่างประเทศคือ "ประเทศไม่มีมิตรถาวร ประเทศไม่มีศัตรูถาวร ประเทศมีแต่ผลประโยชน์ถาวรเท่านั้น" โดยเขาได้ให้ข้อแลกเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์แก่บรรดาประเทศอาหรับทั้ง 4 ประเทศนี้อย่างถึงใจทั้งสิ้น

ร่วมเวที: นายจาเร็ด คุชเนอร์ ที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐ และนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงร่วมกันเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2563 หลังจากพบปะในนครเยลูซาเลม ของอิสราเอล ถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตแบบปกติระหว่างอิสราเอลและหลายประเทศในโลกอาหรับDEBBIE HILL / POOL / AFPร่วมเวที: นายจาเร็ด คุชเนอร์ ที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐ และนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล แถลงร่วมกันเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2563 หลังจากพบปะในนครเยลูซาเลม ของอิสราเอล ถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตแบบปกติระหว่างอิสราเอลและหลายประเทศในโลกอาหรับ

เริ่มจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นายจาเร็ดการรับปากว่า จะจัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยที่สุดที่สหรัฐผลิตขึ้น ที่ทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ปรารถนาเป็นอย่างสูงแต่สหรัฐอเมริกาไม่ยอมขายให้ คือ เครื่องบินขับไล่ล่องหนเอฟ-35 (F-35) และเครื่องบินรบอิเล็กทรอนิกส์ EA-18G โกรว์เลอร์ (EA-18G Growler) ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศอาหรับประเทศที่ 3 ที่ตกลงเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563

สำหรับประเทศบาห์เรน ซึ่งสุลต่านและรัฐบาลเป็นซุนหนี่ แต่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชีอะห์ ประกอบกับประเทศอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศผู้นำของพวกชีอะห์ ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงของบาห์เรนก็ให้การสนับสนุนบรรดาพวกชีอะห์ในบาห์เรนอยู่แล้ว นายจาเร็ดก็ให้สัญญาการสนับสนุนช่วยเหลือในด้านความมั่นคงของสุลต่านและรัฐบาลบาห์เรนอย่างแข็งขัน บาห์เรนจึงเป็นอาหรับประเทศที่ 4 ที่ตกลงเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2563

ส่วนประเทศซูดานที่ถูกสหรัฐอเมริกาลงบัญชีดำว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้ายก็ได้ถูกถอดออกจากบัญชีดำเป็นข้อแลกเปลี่ยนและสหรัฐอเมริการับที่ช่วยเหลือผ่อนคลายหนี้สินที่ซูดานมีอยู่ล้นพ้นตัวอีกด้วย ทำให้ซูดานเป็นอาหรับประเทศที่ 4 ที่ตกลงเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2563

ประเทศอาหรับประเทศที่ 4 ที่ตกลงเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2563 คือประเทศโมร็อกโก โดยสหรัฐอเมริกาตกลงจะรับรองดินแดนอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนซาฮาราตะวันตก ที่โมร็อกโกอ้างสิทธิ์มาตั้งแต่ปี 2518 แต่ไม่มีประเทศใดรับรองเลย การที่สหรัฐรับรองก็ถือว่าเป็นประเทศแรก

มิหนำซ้ำสหรัฐอเมริกายังตกลงที่จะขายโดรนรบ (อากาศยานไร้คนขับ หรือเรียกว่า อากาศยานไร้นักบิน ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าโดรน ถือเป็นอาวุธใหม่ที่สำคัญมาก) ที่ทันสมัยที่สุดให้แก่โมร็อกโกอีกด้วย

ครับ ! นายจาเร็ด คุชเนอร์นับเป็นเขยขวัญของประธานาธิบดีทรัมป์อย่างแท้จริง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook