ทีวีไทย ป่วน! พนักงานนับร้อยทำ จม.เปิดผนึกหวั่นสอบคัดเลือกไม่เป็นธรรม

ทีวีไทย ป่วน! พนักงานนับร้อยทำ จม.เปิดผนึกหวั่นสอบคัดเลือกไม่เป็นธรรม

ทีวีไทย ป่วน! พนักงานนับร้อยทำ จม.เปิดผนึกหวั่นสอบคัดเลือกไม่เป็นธรรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานทีวีไทยป่วน พนักงานนับร้อยกวั่นกระบวนการคัดเลือกไม่เป็นธรรม ทำจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการนโยบาย ฝ่ายบริหารชี้แจง-พร้อมปรัปบรุงวิธีการ เชื่อไม่น่ามีปัญหา

รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะกรรมการบริหารประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยป(ส.ส.ท.)หรือสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เปิดเผย"มติชนออนไลน์"เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมว่า กรรมการบริหารประเภทผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ประกอบด้วย ตน รศ.สมศรี เผ่าอินจันทร์ คณบดีคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหาร ส.ส.ท.เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายของทีวีทีไทยมีนโยบายที่อยากให้ กรรมการบริหาร ทีวีไทยทำงานเต็มเวลาเพื่อเป็นกลไกในการบริหารทีวีไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น พวกตนจึงลาออกเพื่อเปิดทางให้มีการแต่งตั้งบุคคลที่สามารถทำงานเต็มเวลาในฐานะกรรมการบริหาร ส.ส.ท.ได้โดยมิได้มีปัญหาในการทำงานแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมการบริหาร ส.ส.ท.มีด้วยกันทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. เป็นประธานกรรมการบริหาร กรรมการประกอบด้วย รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. 3 คน และกรรมการบริหารประเภทผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งทที่ผ่านมา กรรมการประเภทผู้ทรงคุณวุฒิไม่ได้ทำงานเต็มเวลาเนื่องจากมีงานประจำอื่นทำอยู่แล้ว ต่อมาคณะกรรมการนโยบายต้องการเปลี่ยนแปลงให้กรรมการประเภทผู้ทรงคุณวุฒิทำงานเต็มเวลา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของคณะกรรมการนโยบายจะทำใไห้กรรมการบริหารผู้ทรงคุณวุฒิลาออกแล้ว การที่ที่ ส.ส.ท.ได้ประกาศรับสมัครงานเพื่อสอบคัดเลือกบุคคลบรรจุเข้าเป็นพนักงาน ส.ส.ท.ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการสำนักต่างๆจนถึงนักข่าวและพนักงานทั่วไปโดยให้พนักงานตามสัญญาจ้างของทีวีไทยซึ่งมีอยู่เกือบ 300 คนสมัครสอบคัดเลือกพร้อมเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกสอบคัดเลือกด้วยได้เกิดปัญหาขึ้นโดยเฉพาะการสอบในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิทยุและมัลติมีเดีย ซึ่งปรากฏว่า นายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิทยุและมัลติมีเดีย ทีวีไทยไม่ผ่านคัดเลือก แต่ผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นบุคคลภายนอก นายอนุพงษ์เห็นว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้อำนวยการ ส.ส.ท.ขอให้มีการไต่สวนและสอบสวนกระบวนการสอบคัดเลือกตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิทยุฯ

นายอนุพงษ์ เปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสอบคัดเลือกครั้งนี้ เช่น การทดสอบทั้งในส่วนข้อเจียนและการสัมภาษณ์ไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับคุณสมบัติที่กำหนดเฉพาะตำแหน่ง ขณะที่การสอบสัมภาษณ์มีลักษระพิธีกรรมและคำถามไม่ชัดเจนว่า เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเแพาะตำแหน่งอย่างไร จึงขอให้มีกระบวนการไต่สวนและสอบสวนกระบวนการสอบสวนการสอบคัดเลือกดังกล่าวโดยกรรมการสอบสวนที่เป็นอิสระจาก ส.ส.ท. เนื่องจากกรรมการสอบสัมภาษณ์ 3 ใน 4 คน เป็นกรรมการบริหารของ ส.ส.ท. จึงเป็นผู้ที่เกียวข้องและมีส่สวนได้ส่วนเสียโดยตรง

นอกจากนั้นขอให้มีการสอบสวนกระบวนการออกข้อสอบและเกณฑ์การให้คะแนนว่า มีส่วนเกี่ยวข้องและยึดโยงกับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่ประกาศ รวมถึงการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของผู้ตรวจข้อสอบภาคข้อเขียน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนั้น ยังมีจดหมายเปิดผนึกที่พนักงานทีวีไทยกว่า 120 คนลงชื่อเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายชี้แจงกรณีการสอบคัดเลือกกรณีนายจีรธวัช สุทธิบงกช พนักงานแผนกกราฟฟิกที่เลื่อรการสอบออกไปเนื่องจากฝ่ายบริหารอ้างว่า มีผู้มาสมัครไม่ครบเกณฑ์ 3 คน ทั้งๆที่ไม่มีการประกาศเงื่อนไขดังกล่าวมาก่อนและกรณีของนายอนุพงษ์ซึ่งพนักงานเกรงว่า จะไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 24 กันยายน 2552 พร้อมกับแก้ไขเยียวยาความไม่เป็นธรรม จัดให้มีการสอบสวน เปิดเผยข้อมูลการสอบครั้งที่ผ่านมาและปรับปรุงกระบวนการสอบคัดเลือกครั้งต่อไปให้เป็นธรรมกับพนักงาน

กรรมการบริหาร ส.ส.ท.รายหนึ่งเปิดเผยว่า ฝ่ายบริหารได้นำเรื่องดีงกล่าวหารือกับคณะกรรมการบริหารแล้ว ซึ่ง คณะกรรมการบริหารได้ตรวจสอบกระบวนการสอบคัดเลือกแล้ว เห็นว่า ในกระบวนการสอบไม่มีสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ไม่โปร่งใส เพราะคณะกรรมการตรวจข้อเขียนซึ่งเป็นคณะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ไม่ทราบว่า กระดาษคำตอบเป็นของใคร เพราะรู้แต่หมายเลข แต่ไม่ทราบชื่อ นอกจากนั้นคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ก็เป็นคนละชุดกับคณะกรรมการตรวจข้อสอบโดยไม่ทราบว่า ผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียนได้คะแนนการสอบข้อเขียนเท่าใด แล้วนำคะแนนทั้งสองส่วนมารวมกัน

"ในการสอบข้อเขียน เป็นข้อสอบอัตนัยซึ่งผู้ตรวจต้องใช้ดุลพินิจในการตรวจซึ่งในส่วนนี้ อาจมิได้ให้คำตอบทั้งหมดว่า ผู้สอบมีความสามารถจริงหรือไม่ทั้งหมด และการใช้ดุลพินิจในการตรวจสอบข้อสอบ อาจมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการให้คะแนนซึ่งเป็นเรื่องปกติ"กรรมการบริหารรายเดิมกล่าว

กรรมการบริหาร ส.ส.ท.กล่าวว่า จากการตรสวจสอบไม่พบกระบวนการที่ไม่โปร่งใสดังกล่าว คณะกรรมการบริหารจึงยังไม่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบกระบวนการสอบตามที่นายอนุพงษ์ร้องเรียน อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีพนักงานกว่า 100 คนทำจดหมายเปิดผนึกนั้น หลังจากฝ่ายบริหารได้ชี้แจงและกรรมการบริหารให้ความเห็นให้ปรับปรุงการสอบให้มีภาคปฏิบัติมากขึ้น พนักงานส่วนใหญ่ที่ลงชื่อซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าสอบคัดเลือกมีความมั่นใจและยอมที่จะเข้าสอบคัดเลือกแล้วเชื่อว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหา

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook