รู้จักการปฏิวัติครั้งสำคัญของโลก เข้าใจกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กาลเวลาก็สุดต้านทาน

รู้จักการปฏิวัติครั้งสำคัญของโลก เข้าใจกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กาลเวลาก็สุดต้านทาน

รู้จักการปฏิวัติครั้งสำคัญของโลก เข้าใจกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กาลเวลาก็สุดต้านทาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบหน้ามือเป็นหลังมือโดยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานของโครงสร้างของอำนาจทางการเมืองในระยะเวลาอันสั้น เมื่อประชาชนได้พร้อมใจกันลุกขึ้นปฏิวัติต่อผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองอยู่ในขณะนั้

ปฏิวัติตามความหมายของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานคือการหมุนกลับ การผันแปรเปลี่ยนหลักมูลซึ่งตรงกับความหมายของภาษาอังกฤษ Revolution ที่มาจากภาษาละตินว่า Revolutio ก็คือการหมุนกลับเหมือนกัน

อริสโตเติลได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง Politics ว่าเขาได้ศึกษารัฐธรรมนูญในสมัยกรีซโบราณถึง 158 ฉบับช่วยทำให้เขาเข้าใจถึงความหมายต่างๆ ของการปฏิวัติในระบบการเมืองหนึ่งๆ ซึ่งจากผลของการศึกษานี้อริสโตเติลได้ให้ความหมายของการปฏิวัติไว้ คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงหรือบางส่วนในรัฐธรรมนูญ เช่นเปลี่ยนจากกษัตริย์ที่ปกครองโดยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นคณาธิปไตยเป็นต้น

ในประวัติศาสตร์โลกคำว่าการปฏิวัติถูกใช้ครั้งแรกในอังกฤษที่ทำการเปลี่ยนแปลงนิกายศาสนาจากคาทอลิกไปสู่นิกายอังกฤษเป็นการถาวรเมื่อปี 2231 –2232 และทำการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจากกษัตริย์มาสู่รัฐสภาของอังกฤษซึ่งเรียกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ว่าเป็นการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution)

ต่อจากนั้นก็เกิดการปฏิวัติอเมริกาในปี 2319 คืออาณานิคม 13 แห่งในทวีปอเมริกาทำการต่อสู้เพื่อแยกตัวออกจากการปกครองของอังกฤษ ต่อจากนั้นอีก 13 ปี คือปี 2332 จึงมีการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส (The Great French Revolution) ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยสมัยใหม่เป็นครั้งแรกและเป็นจุดเริ่มต้นของการนำมาตราเมตริกมาใช้จากผลของการปฏิวัติครั้งนี้

ต่อสู้: กองกำลังในฝรั่งเศสยึดคุกบาสตีย์ในวันที่ 14 ก.ค. 2332 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส คุกดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์บูร์บงที่ประชาชนเกลียดชัง ปัจจุบันวันบาสตีย์เป็นวันเฉลิมฉลองในฐานะจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ ภาพนี้วาดโดยจิตรกรชาวสหราชอาณาจักร นายเฮนรี ซิงเกิลตันHulton Archive/Getty Imagesต่อสู้: กองกำลังในฝรั่งเศสยึดคุกบาสตีย์ในวันที่ 14 ก.ค. 2332 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส คุกดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์บูร์บงที่ประชาชนเกลียดชัง ปัจจุบันวันบาสตีย์เป็นวันเฉลิมฉลองในฐานะจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ ภาพนี้วาดโดยจิตรกรชาวสหราชอาณาจักร นายเฮนรี ซิงเกิลตัน

นายคาร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx) นักเศรษฐศาสตร์การเมือง ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแนวคิดที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคอมมิวนิสต์สมัยใหม่ มากซ์ได้สรุปแนวคิดของเขาไว้ข้อเขียนของ คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2391 ว่า

"ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น"

นายมากซ์ไม่ใช่เป็นเพียงนักทฤษฎีทางสังคมและการเมืองเท่านั้น แต่เขายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการจัดตั้งสมาคมกรรมกรสากล (International Workingmen's Association) ในปี 2407 และเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้ประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเกิดการปฏิวัติการปกครองโดยประชาชน (People Revolution) ขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมเผด็จการแบบคอมมิวนิสต์ โดยมีรัสเซียเป็นประเทศแรกที่เริ่มทำการปฏิวัติในแนวนี้สำเร็จในปี 2460 หลังจากนั้นก็มีประเทศต่างๆ หลายสิบประเทศก็ได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการเมืองเป็นมาร์กซิสต์ตามรัสเซียไปด้วย

 ประชาชนรายล้อม: นายฟิเดล กาสโตร ประธานาธิบดีคิวบา (กลาง) เดินทางมาถึงกรุงฮาวานา พร้อมกับผู้ร่วมขบวนการปฏิบัติ คือ นายเช เกบารา (ขวา) และพันตรี กามิโล ซิเอนฟเวโกส (บน) เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2502Keystone/Getty Imagesประชาชนรายล้อม: นายฟิเดล กาสโตร ประธานาธิบดีคิวบา (กลาง) เดินทางมาถึงกรุงฮาวานา พร้อมกับผู้ร่วมขบวนการปฏิบัติ คือ นายเช เกบารา (ขวา) และพันตรี กามิโล ซิเอนฟเวโกส (บน) เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2502

แต่ในปัจจุบันจากการศึกษาในสาขาวิชาสังคมศาสตร์สมัยใหม่ อาทิ ประวัติศาสตร์การเมือง สังคมวิทยาการเมืองและเศรษฐศาสตร์การเมืองได้แจกแจงว่าการปฏิวัติอาจจะเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสถาบันทางสังคมใดสถาบันใดสถาบันหนึ่งอย่างหน้ามือเป็นหลังมือก็จัดเป็นการปฏิวัติได้เช่นกัน อาทิ การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือของสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เริ่มในประเทศอังกฤษโดยกระบวนการเริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 2293-2393 ด้วยการเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเครื่องจักรเป็นหลักของอังกฤษ โดยเริ่มในอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมแรก อันเป็นผลมาจากการพัฒนากรรมวิธีการหลอมเหล็กและความนิยมในการใช้ถ่านหินโค้กที่แพร่หลายขึ้น

ลดใช้แรง: เครื่องทอผ้าที่ใช้สำหรับผลิดสิ่งทอในปี 2387 ระหว่างยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมHulton Archive/Getty Imagesลดใช้แรง: เครื่องทอผ้าที่ใช้สำหรับผลิดสิ่งทอในปี 2387 ระหว่างยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

การขยายตัวของการค้าขายเป็นผลมาจากการขุดคลอง สร้างถนน และสร้างทางรถไฟ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรมไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิต ทำให้เกิดการไหลบ่าของประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองขนานใหญ่ และก่อให้เกิดการขยายตัวของจำนวนประชากรและเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บรรดาประเทศที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรปต้องขยายอำนาจไปยึดครองอาณานิคมในทวีปต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อแสวงหาวัตถุดิบและตลาดที่รองรับสินค้าอุตสาหกรรมนั่นเองอันส่งผลให้มีการปฏิวัติชาตินิยมเกิดขึ้นในหลายสิบประเทศเพื่อปลดแอกจากบรรดาเจ้าอาณานิคมในยุโรป

ขณะนี้เราอยู่ในยุคของการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) ที่ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2490 เมื่อมีการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งนำไปสู่การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมาซึ่งผลของการปฏิวัติดิจิตอลนี้สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างแจ้งชัดดังนี้

  • ปี 2533 ประชากรโลกมีโทรศัพท์มือถือกัน 12.5 ล้านคน (ประมาณ 0.25% ของชาวโลก)และมีผู้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต 2.8 ล้านคน (ประมาณ 0.05% ของชาวโลก)
  • ปี 2545 ประชากรโลกมีโทรศัพท์มือกัน 1,200 ล้านคน (ประมาณ 19% ของชาวโลก) และมีผู้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต 631 ล้านคน (ประมาณ 11% ของชาวโลก)
  • ปี 2553 ประชากรโลกมีโทรศัพท์มือถือกัน 4,000 ล้านคน (ประมาณ 68% ของชาวโลก) และมีผู้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต 1,800 ล้านคน (ประมาณ 26.6% ของชาวโลก)
  • ปี 2559 ประชากรโลกผู้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตมีอยู่ 3,600 ล้านคน (ประมาณ 49.5% ของชาวโลก)
  • ปี 2563 ประชากรโลกผู้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตมีอยู่ 4,540 ล้านคน (ประมาณ 59% ของชาวโลก)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปฏิวัตินั้นคือการเปลี่ยนแปลงภายในสถาบันทางสังคมสถาบันใดสถาบันหนึ่งก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันศาสนา สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบหน้ามือเป็นหลังมือก็จะเกิดการปฏิวัติได้ทั้งสิ้น

รุ่นเดอะ: แบบจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ (เอซ) รุ่นนำร่องแสดงต่อหน้าสื่อมวลชนในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2483 วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ นายเอดเวิร์ด นิวแมน และนักคณิตศาสตร์ นายเจมส์ เอช วิลคินสัน ปรากฏอยู่ในภาพ 2 คนซ้ายจากทั้งหมด 3 คน ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ที่มีเครื่องแสดงผล แผงควบคุม และตัวเครื่องหลัก ก็ปรากฏต่อหน้าสื่อมวลชนเช่นกัน เอซเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกๆ ที่สร้างขึ้นในสหราชอาณาจักร และเป็นคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมไว้ด้านใน ใช้หลอดสุญญากาศ 800 หลอด และหน่วยความจำที่ประกอบด้วยสายหน่วงปรอท ผู้ออกแบบ คือ นายอะลัน ทัวริง ก่อนลาออกจากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติไปเมื่อปี 2490 Jimmy Sime/Central Press/Hulton Archive/Getty Imagesรุ่นเดอะ: แบบจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ (เอซ) รุ่นนำร่องแสดงต่อหน้าสื่อมวลชนในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2483 วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ นายเอดเวิร์ด นิวแมน และนักคณิตศาสตร์ นายเจมส์ เอช วิลคินสัน ปรากฏอยู่ในภาพ 2 คนซ้ายจากทั้งหมด 3 คน ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ที่มีเครื่องแสดงผล แผงควบคุม และตัวเครื่องหลัก ก็ปรากฏต่อหน้าสื่อมวลชนเช่นกัน เอซเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกๆ ที่สร้างขึ้นในสหราชอาณาจักร และเป็นคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมไว้ด้านใน ใช้หลอดสุญญากาศ 800 หลอด และหน่วยความจำที่ประกอบด้วยสายหน่วงปรอท ผู้ออกแบบ คือ นายอะลัน ทัวริง ก่อนลาออกจากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติไปเมื่อปี 2490

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook