สมาคมภัตตาคาร ส่งจดหมายถึงนายกฯ หวั่น "ห้ามกินในร้าน" ทำลายเศรษฐกิจ

สมาคมภัตตาคาร ส่งจดหมายถึงนายกฯ หวั่น "ห้ามกินในร้าน" ทำลายเศรษฐกิจ

สมาคมภัตตาคาร ส่งจดหมายถึงนายกฯ หวั่น "ห้ามกินในร้าน" ทำลายเศรษฐกิจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกสมาคมภัตตาคารไทย ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง 'นายกรัฐมนตรี' หวั่น กทม.สั่งกึ่งล็อกดาวน์กระทบยอดขาย แจงยิบทำลายห่วงโซ่ระบบเศรษฐกิจ

ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถึงผลกระทบจากแนวคิดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 ที่อาจมีคำสั่งไม่ให้นั่งรับประทานที่ร้านอาหาร 

โดยระบุว่า จากประกาศของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 ว่าอาจมีมาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร โดยจะต้องซื้อกลับเท่านั้นทางสมาคมขอเรียนชี้แจงให้เข้าใจ เพื่อยกเลิกมาตราการและคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากร้านอาหารเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งมีมูลค่าธุรกิจ 4 แสนล้านบาทต่อปี จากประกาศดังกล่าวจะทำให้มูลค่าธุรกิจร้านอาหารไทยหายไปไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านและจะทำให้มีผลกระทบเป็นห่วงลูกโซ่ ดังนี้

1.อัตราการจ้างงานซึ่งจะทำให้พนักงานตกงานทันทีเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลังจากการกลับมาเปิดธุรกิจร้านอาหารได้มีการว่าจ้างแรงงานกลับเข้าระบบได้เป็นจำนวนมากแต่จากประกาศวันที่1มกราคม 2564 จะมีผลกระทบต่อการจ้างงานอีกครั้ง

2.ผลกระทบกับสินค้าภาคการเกษตรกร ซึ่งร้านอาหารต้องใช้วัตถุดิบจากภาคเกษตรกรจำนวนมหาศาลซึ่งจะต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งจากคำสั่งวันที่1 มกราคม 2564 จะมีผลทำให้รายได้ของภาคเกษตรกรลดลงเช่นกัน

3.จะมีผลกระทบเรื่องการจัดเก็บภาษี,vatและเงินประกันสังคมของภาครัฐบาลที่หายไปอีกครั้ง

ซึ่งธุรกิจร้านอาหารทั้งในส่วนภัตตาคารและร้านอาหารขนาดเล็กรวมไปถึงร้านอาหารตามริมข้างทางได้ปฎิบัติตามมาตราการป้องกันCOVID-19 จากคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขด้วยความเคร่งครัดมาโดยตลอด

รวมไปถึงร้านอาหารขนาดใหญ่และขนาดกลางได้เข้าร่วมอบรมและเรียนรู้จนได้สัญลักษณ์ SHA เกิน 80% และผู้ประกอบการเกือบทั้งหมดยังตระหนักถึงความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานที่ปฎิบัติงานในร้าน ด้วยการเพิ่มมาตราการเสริมเข้าไปมากขึ้นกว่าคำสั่งของสาธารณสุขด้วย เช่น 

  • จัดให้มีการเช็คอินก่อนเข้ารับบริการที่ร้านด้วยแอปพลิเคชันไทยชนะ
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายทั้งพนักงานและลูกค้าก่อนเข้าร้าน
  • ทำความสะอาดโต๊ะเก้าอี้ด้วยแอลกอฮอล์ ทุกครั้งเมื่อมีลูกค้าใช้เสร็จ
  • แจกแอลกอฮอล์ล้างมือทุกครั้งเมื่อมาใหม่
  • จัดให้พนักงานทั้งส่วนหน้า,ส่วนหลัง และในครัวมีการใส่ถุงมือยางและผ้าปิดปากตลอดเวลาที่มีการปฎิบัติงาน
  • มีการถูพื้นด้วยน้ำยากำจัดเชื้อโรค ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง
  • จัดตารางทำความสะอาดห้องน้ำและถูพื้นด้วยน้ำยากำจัดเชื้อโรค ทุกๆ 2 ชั่วโมง
  • ร้านที่มีประตู ให้เช็ดมือจับด้วยแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่มีการสัมผัส
  • แจกช้อนกลางส่วนตัวให้ลูกค้าเพื่อลดการสัมผัสภาชนะร่วมกัน
  • ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ ทางร้านจะทำความสะอาดทุกๆ4ชั่วโมง

ซึ่งจากการปฎิบัติตามมาตราการที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดมีผลสะท้อนให้เห็นว่า การระบาดCOVID-19 รอบสองในครั้งนี้ไม่ได้มีมูลเหตุหรือต้นตอมาจากร้านอาหารเลย แต่แท้จริงการระบาดรอบสองมาจากกลุ่มธุรกิจที่ผิดกฎหมายทั้งหมดเพราะไม่การปฎิบัติตามมาตราการ

ทางสมาคมภัตตาคารไทยจึงใคร่ขอความกรุณานายกรัฐมนตรี และคณะ ศบค. ใด้ช่วยพิจารณาไม่ออกมาตรการห้ามรับประทานอาหารในร้านอาหาร​ ดังที่แถลงข่าวไว้ในวันที่ 1 มกราคม 2564 โดยให้ร้านอาหารสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติดังเดิม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook