เทียบคุณสมบัติ “วัคซีนโควิด-19” ตัวไหนปัง เช็กเลย!

เทียบคุณสมบัติ “วัคซีนโควิด-19” ตัวไหนปัง เช็กเลย!

เทียบคุณสมบัติ “วัคซีนโควิด-19” ตัวไหนปัง เช็กเลย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบให้กับทุกภาคส่วนทั่วโลก ทั้งในเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตภายใต้ “New Nornal” หรือความปกติใหม่ แต่ในที่สุด “วัคซีนโควิด-19” ก็พัฒนาสำเร็จ และหลายประเทศก็เริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและสร้างความหวังให้กับมนุษยชาติ 

ขณะที่โลกมีวัคซีนโควิด-19 หลายแบบถูกพัฒนาออกมาให้เลือกใช้ แล้ววัคซีนแบบไหนจะดี จะปัง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด sanook เปรียบเทียบคุณสมบัติของวัคซีนโควิด-19 แต่จะชนิดให้ดู พร้อมอัปเดตว่าคนไทยจะใช้วัคซีนตัวไหน แล้วเมื่อไรที่เราจะได้เริ่มฉีดกัน 

วัคซีนโควิด-19 ตัวไหนปัง!


  • Moderna (โมเดอร์นา) 

วัคซีนชนิดนี้ เป็นของบริษัทโมเดอร์นา บริษัทเภสัชภัณฑ์สัญชาติอเมริกัน ได้รับการพัฒนาโดยการใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่เรียกว่า mRNA ที่สามารถเปลี่ยนโปรตีนของไวรัสโดยตรง โดยเส้นใยพิเศษ RNA จะเป็นตัวสร้างโปรตีนบนพื้นผิวของเชื้อไวรัสโคโรนาที่เรียกว่า “โปรตีนหนาม” และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มจดจำ จากนั้นจึงสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อไวรัส 

หลังจากการทดลองในคน วัคซีนโมเดอร์นามีประสิทธิภาพในการป้องกัน 94.5% และจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้แช่แข็ง อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ วัคซีนชนิดนี้ จำเป็นต้องฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด 

8 วัคซีน ความหวังสู้ “โควิด-19”

  • Pfizer-BioNTech (ไฟเซอร์-ไบออนเทค) 

วัคซีนชนิดนี้ เป็นความร่วมมือของบริษัทไฟเซอร์ จากสหรัฐอเมริกา และบริษัทไบออนเทคของประเทศเยอรมนี โดยใช้เทคโนโลยี mRNA แบบเดียวกับวัคซีนโมเดอร์นา ซึ่งผลการทดลองในคนของไฟเซอร์-ไบออนเทค เผยว่า ผู้เข้าทดลองทั้งหมด 90% จากทั้งหมด43,500 คน มีภูมิคุ้มกันจากโรคโควิด-19 โดยทั้งหมดได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 โดส 

ข้อเสียอย่างหนึ่งของวัคซีนชนิดนี้ คือต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า -70 องศาสเซลเซียส ทำให้ยากในการขนส่งไปในพื้นที่ห่างไกล อย่างไรก็ตาม ก็มีหลายประเทศทั่วโลกที่ใช้วัคซีนไฟเซอร์ฉีดให้กับประชาชนแล้ว เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น 

มาดูกันเลย! ประเทศไหน มีวัคซีนโควิด-19 ใช้แล้วบ้าง

  • Oxford-AstraZeneca (อ็อกฟอร์ด-แอสตร้าเซเนก้า) 

มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ร่วมมือกับบริษัทยาแอสตร้าเซเนก้า ยักษ์ใหญ่ด้านเภสัชกรรมของอังกฤษ ผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีการใช้เชื้อไวรัสเป็นพาหะ โดยนักวิจัยดึงยีนจากเชื้อไวรัสโคโรนาที่ทำให้โปรตีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน จากนั้นก็นำไปใส่ในยีนของเชื้อไวรัสที่ไม่เป็นอันตราย เมื่ออยู่ในเซลล์แล้ว เชื้อไวรัสที่ไม่เป็นอันตรายนี้ก็จะส่งผ่านสายพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา และสร้างโปรตีนไวรัสโคโรนาที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิต้านทาน

มีผู้เข้าร่วมทดลองวัคซีนกว่า 20,000 คน และผลลัพธ์ที่ได้ คือวัคซีนตัวนี้ สามารถป้องกันการติดโรคโควิด-19 ได้ 70% ทั้งนี้ ข้อดีข้อหนึ่งของวัคซีนอ็อกฟอร์ด-แอสตร้าเซเนก้า คือการจัดส่ง เพราะสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส

  • Sinovac (ซิโนแวค)

วัคซีนโควิด-19 ชนิดนี้ มีชื่อว่า CoronaVac (โคโรนาแวค) ซึ่งเป็นวัคซีนชองบริษัทซิโนแวค จากประเทศจีน โดยใช้เชื้อไวรัสที่ตายแล้วมาสร้างวัคซีน โดยนักวิจัยจะนำเชื้อไวรัสไปผ่านความร้อน หรือใช้พิษจากสารฟอร์มาลดีไฮด์เพื่อทำให้เชื้อไวรัสตาย หรือไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ แต่ยังสามารถใช้โปรตีนจับบนพื้นผิวที่ภูมิคุ้มกันจะสามารถจดจำได้ในฐานะสิ่งแปลกปลอม 

วัคซีนของบริษัทซิโนแวคไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาด้วยการแช่แข็ง และสามารถเก็บในตู้เย็นปกติได้ ทั้งนี้ จากการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนพบว่า สามารถป้องกันได้ถึง 80% อย่างไรก็ตาม ข้อมูลผลการทดสอบดังกล่าวยังอยู่ในวงจำกัด 

  • Gamaleya (กามาเลยา) 

วัคซีนชนิดนี้ มีชื่อว่า สปุตนิก 5 (Sputnik V) เป็นผลงานของบริษัทกามาเลยา จากประเทศรัสเซีย และใช้เชื้อไวรัสเป็นพาหะในการพัฒนาวัคซีน เช่นเดียวกับวัคซีนอ็อกฟอร์ด-แอสตร้าเซเนก้า โดยผ่านการทดลองขั้นที่ 3 แล้ว ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้อยู่ที่ 92% 

วัคซีนสปุตนิก 5 อาจถูกนำไปใช้ได้ง่ายกว่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เย็นจัด แต่เก็บรักษาในอุณหภูมิของตู้เย็นปกติได้เลย ทั้งนี้ ผู้ฉีดวัคซีนจะต้องได้รับวัคซีน 2 โดส 

วัคซีนโควิด-19 ของคนไทย 

ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มโครงการฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปแล้ว ประเทศไทยก็กำลังเร่งมือจัดหาวัคซีนโควิด-19 มาให้คนไทย โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีน 50% ของประชากรในประเทศ ภายในปี 2564 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้หวังพึ่งพาวัคซีนของต่างประเทศอย่างเดียว แต่กำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของตนเองเช่นกัน เช่น โครงการวิจัยวัคซีน mRNA ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ และโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ของมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ 

วันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้อธิบายถึงความคืบหน้าเรื่องวัคซีนโควิด-19 โดยองค์กรเภสัชกรรมจะเป็นผู้ดำเนินารนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ขณะที่กรมควบคุมโรคจะเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ และกระจายวัคซีนให้กับประชาชน ภายใต้งบประมาณ 1,228 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค 2,000,000 โดส  ซึ่งสามารถแบ่งไทม์ไลน์ได้ดังนี้ 

  • กุมภาพันธ์ 2564 ได้รับวัคซีนทั้งหมด 200,000 โดส 
    • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณาสุขด่านหน้า รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาคสนามในพื้นที่ควบคุม (ระยอง ชลบุรี) จำนวน 20,000 คน
    • กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ จำนวน 180,000 คน 
  • มีนาคม 2564 ได้รับวัคซีนทั้งหมด 800,000 โดส
    • วัคซีมเข็มที่สองให้กับกลุ่มแรก จำนวน 200,000 โดส 
    • บุคลากรทางการแพทย์และสาธาณสุขด่านหน้า กลุ่มจังหวัดควบคุมสูงสุด ชายแดนจะวันตกและภาคใต้ จำนวน 600,000 คน 
  • เมษายน 2564 ได้รับวัคซีนทั้งหมด 1,000,000 โดส
    • วัคซีนเข็มที่สองให้กับกลุ่มที่สอง จำนวน 600,000 โดส 
    • บุคลากรอื่น ๆ เพิ่มเติม จำนวน 400,000 โดส 
  • พฤษภาคม 2564 วัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า จำนวน 26 ล้านโดส 

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (24 ก.พ.) วัคซีนซิโนแวคล็อตแรก จากประเทศจีน ก็เดินทางมาถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว โดยมีไทม์ไลน์เบื้องต้นของการกระจายฉีดวัคซีนโควิดล็อตแรกมีดังนี้

  • 24-26 กุมภาพันธ์ 2564 จะแจ้งประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้เตรียมความพร้อม

  • 27 กุมภาพันธ์ 2564 จะส่งวัคซีนไปโรงพยาบาลเป้าหมาย

  • 1 มีนาคม 2564 เริ่มฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ให้กลุ่มเป้าหมายและเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีนครบ 30 วัน เว้นระยะห่าง 2-3 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนเข็ม 2 และเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีนครบ 30 วัน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook