"หมอทวีศิลป์" แจงยิบ ทำหน้าที่โฆษก ศบค. ไม่เคยรับเงินเพิ่ม วอนอย่าโยงถึงครอบครัว

"หมอทวีศิลป์" แจงยิบ ทำหน้าที่โฆษก ศบค. ไม่เคยรับเงินเพิ่ม วอนอย่าโยงถึงครอบครัว

"หมอทวีศิลป์" แจงยิบ ทำหน้าที่โฆษก ศบค. ไม่เคยรับเงินเพิ่ม วอนอย่าโยงถึงครอบครัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (8 ม.ค. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โฆษก ศบค.) กล่าวหลังการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มุ่งเป้ามาที่ตนเองอย่างหนัก หลังการแถลงเมื่อวานนี้

โดย นพ.ทวีศิลป์ ระบุว่า ตนมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการคือ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ส่วนตำแหน่งโฆษก ศบค. นั้น เป็นตำแหน่งที่เพิ่มเติมมา มีคนไปสืบค้นว่า ตนได้รับเงินเดือน เงินเบี้ยประชุม เงินประจำตำแหน่งมากมาย ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตนมาทำหน้าที่โฆษกฯ ไม่ได้รับรายได้พิเศษจากเดิม ขอให้ประชาชนได้เข้าใจในข้อมูลที่ถูกต้อง

ตนเป็นเพียงจิตแพทย์ มาจากสายงานสาธารณสุข การมาทำหน้าที่โฆษกในเวลานี้ ก็คงต้องเรียนรู้ในเรื่องของการสื่อสารมากมาย หลายคำวิพากษ์วิจารณ์มีความพยายามโยงไปในทางการเมือง สำหรับตนแล้ว ไม่เคยคิดจะมุ่งไปในทางการเมืองเลย ทุกหน้าที่ที่ตนทำนั้น ทำในฐานะข้าราชการคนหนึ่ง ทำเพื่อประชาชนเท่านั้น

สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวโยงไปถึงชีวิตส่วนตัว ไปถึงครอบครัวของตนนั้น ขอความกรุณา ขอความเห็นใจด้วย เพราะทุกคนที่มาทำหน้าที่ตรงนี้ ต้องการกำลังใจอย่างมาก รวมถึงตนเองก็ต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองเป็นประจำทุกวัน และขอฝากกำลังใจนี้ไปถึงประชาชนทุกคน ผ่านสถานการณ์โรคร้ายนี้ไปด้วยกัน

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก วานนี้(7 ม.ค.) ประชาชนมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง หลัง พ.ทวีศิลป์ กล่าวในการแถลง เตือนประชาชนให้ใช้แอปพลิเคชัน หมอชนะ หากพบว่าป่วยติดเชื้อ แล้วไม่มีแอปฯ ดังกล่าว จะมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงใช้กฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงมาบังคับประชาชนให้ดาวน์โหลดแอปฯ ดังกล่าว ทั้งที่ทุกคนไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมกัน 

ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการชี้แจงเพิ่มเติมว่า การบังคับใช้ แอปฯ หมอชนะ หากไม่มีจะมีความผิดนั้น เป็นการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน โดยแท้จริงแล้ว จะต้องพิจารณาหลายขั้นตอน หากพบว่าติดเชื้อโควิด-19 แล้วมีการปกปิดข้อมูล รวมทั้งไม่มีแอปฯ หมอชนะ จึงจะถือว่ามีความผิด เพราะทำให้การสอบสวนโรคยุ่งยากขึ้น ส่วนประชาชนทั่วไป หากไม่มีแอปฯ ก็ไม่ได้ถือว่ามีความผิดแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook