กศน.แจง "พิมรี่พาย" เข้าใจผิด ชวนดูเพจ "บ้านแม่เกิบ" พบมีผัก-ไฟฟ้า

กศน.แจง "พิมรี่พาย" เข้าใจผิด ชวนดูเพจ "บ้านแม่เกิบ" พบมีผัก-ไฟฟ้า

กศน.แจง "พิมรี่พาย" เข้าใจผิด ชวนดูเพจ "บ้านแม่เกิบ" พบมีผัก-ไฟฟ้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการส่งเสริมการศึกษาในถิ่นทุรกันดาร อธิบายการทำหน้าที่ของ ศูนย์​การเรียน​ชุมชน​ชาวไทย​ภูเขา แจง 'พิมรี่พาย' เข้าใจคลาดเคลื่อน ปมเด็กไม่รู้จักข้าวไข่เจียว - ไม่รู้จักวิธีปลูกผัก

จากกรณีที่ พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือ พิมรี่พาย ยูทูบเบอร์-บิวตี้บล็อกเกอร์ ได้เดินทางไปที่หมู่บ้านแม่เกิบ ตั้งอยู่ที่ ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อนำข้าวของไปมอบให้เด็กๆ และคนในหมู่บ้าน เนื่องในช่วงวันเด็ก พร้อมทุ่มเงินกว่า 5 แสนบาท ติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าเพื่อหวังให้เป็นประโยชน์แก่ชาวบ้าน จนนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง

ล่าสุด สมาชิกเฟซบุ๊ก อรอานันท์ แสงมณี ซึ่งเป็นนักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ และเป็นบุคลากรที่ดูแลการส่งเสริมการศึกษาในถิ่นทุรกันดาร ระบุว่า

"เนื่องจากมีกระแสในโลกออนไลน์จากยูทูปเบอร์ชื่อดังคนหนึ่ง และเราได้มีส่วนร่วมในการทำงานของ ศศช. ทำให้เกิดความไม่สบายใจ และมีข้อมูลบางอย่างที่คลาดเคลื่อน จึงขออนุญาต​ใช้พื้นที่เล็กๆ ​แนะนำให้ทุกท่านรู้จัก​ ศศช.หรือศูนย์​การเรียน​ชุมชน​ชาวไทย​ภูเขา ​"แม่ฟ้าหลวง" เป็นสถานศึกษา​ในสังกัด​ สำนักงาน​ กศน. กระทรวง​ศึกษาธิการ​ เป็นการจัดการศึกษา​ชุมชนที่ยึดชุมชนเป็นหลัก​ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนทั้งชุมชน​ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งการศึกษา​ต่อ​ มีอาชีพ​ และพัฒนาอาชีพของตนเอง​ ให้สามารถ​ดำรงชีวิตด้วยความสมดุลของธรรมชาติ​และสิ่งแวดล้อม​และนำมาเป็นส่วนร่วมในการจัดการศึกษา​ให้กับชุมชน​ มามากกว่า​ 40​ กว่าปี

มีกลุ่มเป้าหมาย​ 4 กลุ่ม​ ดังนี้

  • 1.เด็กก่อนวัยเรียน​ อายุ​ 3-6 ปี จัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก​ โภชนาการ และดูพัฒนาการเด็กจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​
  • 2.เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษา ในระบบโรงเรียน​ อายุ​ 7-14​ ปี

กลุ่มนี้​ ศศช.​บางแห่งเป็นสถานศึกษา​พื้นที่เป้าหมาย การพัฒนา​เด็ก​และ​เยาวชน​ใน​ถิ่น​ทุรกันดารตามพระราชดำริ​สมเด็จพระ​กนิษฐา​ธิราช​เจ้า​กรม​สมเด็จพระ​เทพ​รัตน​ราชสุดา​ ฯ​ สยาม​บรม​ราช​กุมารี​ ที่ดูแลทั่งด้านโภชนาการ​ สุขอนามัย​ วิชาการ​จริยธรรม​ ฯลฯ​ ให้มีคุณภาพชีวิต​ที่ดี

  • 3.กลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่​ อายุ​ 15​ -​59 ปี กลุ่มนี้จัดการศึกษา​พัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต การศึกษา​ขั้นพื้นฐาน​ รวมถึงทักษะ​ฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารและรับบริการ​ เช่น สถานพยาบาลเวลาเจ็บป่วยจะได้แจ้งอาการถูก เป็นต้น
  • 4.ผู้สูงอายุ​ อายุ​ 60​ ปีขึ้นไป จัดกิจกรรม​ตามความสนใจของผู้เรียน

ปกติครูทำหน้าที่สอนเด็กและประชาชนในชุมชน เป็นการจัดการศึกษาตามบริบทชุมชนและโครงการอื่นๆ ในพื้นที่จากหลายหน่วยงานโดยให้​ ครู​ ศศช. เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ​ (บาง​ ศศช.เป็น​ 10 โครงการก็มี)​ และมักมีเครือข่ายมาให้การสนับสนุนอยู่บ่อยๆ

ทั้งเรื่องของ​ อาคารเรียน​ ศศช.​ ที่จะถูกสร้างการสนับสนุนจากผู้ที่สนใจ​ (แต่เดิมชาวบ้านในชุมชนเป็นคนสร้างอาคาร​ ศศช.)​ ข้าวของเครื่องใช้​ อาหารและยารักษาโรค​ต่างๆ​ ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามพื้นฐาน​หรือจากผู้ให้การสนับสนุน

ด้วยพื้นที่ห่างไกล​ ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ใช้พลังงานทดแทน​ พลังงานแสงอาทิตย์​ หรือน้ำ​ แต่อาจจะไม่ได้มีทั้งชุมชน

ภายใน​ ศศช.​ จะมีพลังงานทดแทนเหล่านี้สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนภายใน​ ศศช.

จากกระแสเรื่องราวของ​ ศศช.ที่ได้ถูกประชาสัมพันธ์​และเผยแพร่​อยู่​ในขณะนี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย​ หากท่านใดสนใจข้อมูล​อยากให้การสนับสนุน​ ศศช.​ 808 แห่งในพื้นที่​ 14​ จังหวัด​ ได้แก่​ เชียงราย​ เชียงใหม่​ ตาก​ น่าน​ แม่ฮ่องสอน​ แพร่​ พะเยา​ ลำพูน​ ลำปาง​ กาญจนบุรี​ ราชบุรี​ ประจวบคีรีขันธ์​ เพชรบุรี​ พังงา สามารถ​ติดต่อสำนักงาน​ กศน.จังหวัด​ ทั้ง​ 14​ จังหวัด ที่ได้แจ้งไว้

ขอบพระคุ​ณ​ทุกท่านที่ให้ความสนใจ และยินดี​อย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุน​ ศศช.​ นะคะ

 

แจงปมไข่เจียว - ปลูกผัก

อรอานันท์ อธิบายประเด็นดราม่าใน 2 ประเด็นหลักอย่าง "ไข่เจียว" และ "ผัก"

    • ประเด็นที่ 1 เด็กในพื้นที่ที่เขาไม่รู้จัก “ไข่เจียว” เนื่องจากเขาเรียกกันว่า “ทอดไข่”
    • ประเด็นที่ 2 ถ้าเด็กๆ ไม่รู้จักวิธีปลูกผัก เขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีผักรับประทาน
    • ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าคิด เช่น ในคลิปบอกว่าในหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ การศึกษาเข้าไม่ถึง แต่ในคลิปของยูทูปเบอร์ท่านนั้นที่ถ่ายตอนต้นคลิป(มุมสูง) ยังมีจานดาวเทียมตั้งตระง่านอยู่ในหมู่บ้านเลย คือ??
    • อยากให้ทุกท่านได้เข้าไปดูในเพจของ ศศช.บ้านแม่เกิบ จะช่วยอธิบายอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อความเป็นกลางค่ะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ
    • My Website

ทั้งนี้ภายในเฟซบุ๊ก ศศช.บ้านแม่เกิบ กศน.อมก๋อย พบว่ามีรายงานความเคลื่อนไหวในการพัฒนาศูนย์การเรียนของชุมชนต่างๆ ทั้งติดตั้งพัดลม แผงโซลาเซลล์ รวมถึงสวนผัก

ด้าน มูลนิธิวิจัยและพัฒนาเพื่อคุณภาพชีวิต เคยรายงานผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2563 ระบุได้เดินทางเข้าพื้นที่ บ้านแม่เกิบ เพื่อติดตั้งระบบส่องสว่างด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับบ้านเรือนของราษฎรบ้านแม่เกิบจำนวน 51 หลังคาเรือน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook