ผลวิจัยเผย แบคทีเรียในลำไส้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคโควิด-19

ผลวิจัยเผย แบคทีเรียในลำไส้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคโควิด-19

ผลวิจัยเผย แบคทีเรียในลำไส้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายงานผลการวิจัยในวารสาร Gut ระบุว่า จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเราอาจจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด-19 และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา รวมทั้งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการที่ยังคงอยู่หลังจากหายจากโรคแล้ว

นักวิจัยจาก Chinese University of Hong Kong ค้นพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโควิด-19 มีลักษณะที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้ออย่างมาก นอกจากนี้ ภาวะความไม่สมดุลของแบคทีเรียในร่างกาย หรือ dysbiosis จะยังคงอยู่หลังจากที่ไวรัสหายไป และอาจมีบทบาทสำคัญต่ออาการป่วยที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายของผู้ป่วยบางราย

ทีมวิจัยได้ทดลองพัฒนาสูตรแบคทีเรียชนิดกิน ที่เรียกว่าโปรไบโอติกส์ และแคปซูลพิเศษ ให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 และพบว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน การวิจัยทางคลินิกนำร่องครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากจุลินทรีย์จะมีอาการทุเลาลงมากกว่า โดยมีร่องรอยการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง มีปริมาณแบคทีเรียชนิดดีในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทำให้แอนติบอดีมีความเป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้

ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19 ได้ที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook