ผู้เชี่ยวชาญชี้ ต้อง “รีเซ็ตระบบสาธารณสุข” แก้ไขข้อผิดพลาดในการรับมือโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ต้อง “รีเซ็ตระบบสาธารณสุข” แก้ไขข้อผิดพลาดในการรับมือโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ต้อง “รีเซ็ตระบบสาธารณสุข” แก้ไขข้อผิดพลาดในการรับมือโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขทั่วโลกต่างมารวมกันในการประชุมคณะกรรมการประจำปีขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยการประชุมที่จัดขึ้นตลอด 9 วันเต็ม ในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้โลกไม่ต้องเผชิญกับความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดใหญ่อีกครั้ง” สมาชิกได้ร่วมรับฟังข้อแนะนำจากคณะกรรมการที่มาร่วมสรุปผลการประชุม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา 

คณะกรรมการหลายชุดมีอำนาจในด้านสาธารณสุขของโลก เช่น คณะกรรมการที่ปรึกษาอิสระ ซึ่งจัดตั้งโดย WHO เพื่อดูการเตรียมการด้านโรคระบาดใหญ่ นำโดยเอลเลน จอห์นสัน เชอร์ลีฟ อดีตประธานาธิบดีไลบีเรีย และผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมด้วยเฮเลน คลาร์ก อดีตนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ ขณะที่ คณะกรรมการชุดอื่น ๆ มีหน้าที่ที่ชัดเจนมากกว่า เช่น คณะกรรมการที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางการเเพทย์เพื่อตรวจสอบระบบการกำกับดูแลในปัจจุบัน กรณีการเกิดเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพระหว่างประเทศ ว่าทำงานได้ผลในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 หรือไม่ 

AFP

อย่างไรก็ตาม แม้บทสนทนาในการประชุมจะมีประเด็นที่หลากหลาย แต่ประเด็นสำคัญมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง “โควิด-19” และผู้คร่ำหวอดในวงการสาธารณสุขโลกก็ก็ได้พูดถึง 6 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับมือกับโรคโควิด-19 ดังนี้ 

เวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน

ผู้เข้าร่วมการประชุมหลายคน ระบุถึงยอดผู้เสียชีวิตสะสมทั่วโลก ที่มีมากกว่า 2 ล้านราย เช่นเดียวกับปัญหาเศรษฐกิจและความคลาดเคลื่อนทางสังคมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ นำไปสู่ผลลัพธ์โดยตรง นั่นคือ “ความล้มเหลวในการเตรียมพร้อมที่มากพอสำหรับปัญหาการระบาดใหญ่ ถึงแม้จะมีการเตือนให้เตรียมตัวให้พร้อมมาหลายปีแล้วก็ตาม” 

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีขั้นตอนที่ชัดเจนเพื่อป้องกันได้หากเกิดการระบาดใหญ่ขึ้นอีกครั้ง แต่คณะกรรมการก็เน้นย้ำว่า การใช้มาตรการเพียงครึ่งเดียวจะไม่เพียงพอสำหรับการรับมือ ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นในตอนนี้ก็คือ “การรีเซ็ต” ระบบการเตรียมพร้อมและการรับมือของโลก 

ความจำเป็นเรื่องความรวดเร็ว

การรีเซ็ตดังกล่าว รวมไปถึงการที่แต่ละประเทศและองค์กรระดับโลกสามารถเข้าถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้มากกว่าเดิม และสามารถจัดการปัญหาได้ โดยคลาร์กชี้ว่า “ระบบของนานาชาติสำหรับการเตือนภัยและตอบสนองยังติดอยู่กับระบบอะนาล็อกในยุคดิจิทัล” 

AFP

ยิ่งไปกว่านั้น หลายประเทศไม่มีขั้นตอนในการตอบสนองที่อัตราเดียวกัน เช่นเดียวกับวิธีการเพิ่มการตัดสินใจเพื่อตอบสนองข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงระบบของ WHO เพื่อประกาศแจ้งเมื่อโรคอุบัติใหม่ที่ถือเป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” ซึ่งในกรณีโรคโควิด-19 แล้ว WHO ใช้เวลามากกว่า 4 สัปดาห์ในการระบุขั้นตอนการจัดการ และหลายประเทศก็ล้มเหลวที่จะตั้งรับและะประกาศใช้มาตรการควบคุมอย่างรวดเร็ว 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญและบุคลกรทางการแพทย์ยังคงถกเถียง เพื่อหาทางออกในเรื่องความรวดเร็วนี้ แต่ก็มีความคิดเห็นที่พ้องกันอยู่บ้าง นั่นคือ “เป็นที่ชัดเจนว่าการเตรียมพร้อม การตื่นตัว และปฏิกิริยาตอบรับของโลก ต้องเริ่มให้เร็วกว่านี้ และต้องมีความเด็ดขาดมากกว่าที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19

การขนส่งคือกุญแจสำคัญ เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์

การร่วมมือของทั่วโลกเพื่อรับมือกับโรคระบาดใหญ่ ไม่ใช่เพียงการออกมาตรการของแต่ละประเทศ แต่คือการเตรียมพร้อมให้แน่ใจว่าแต่ละประเทศ มีเครื่องมือทางกายภาพที่จะรับมือกับปัญหาโรคระบาด นั่นคือ ที่ตรวจโรค ยารักษา และวัคซีน กล่าวคือ ต้องมีองค์ประกอบด้านการขนส่งขนาดใหญ่ในการพัฒนาและแจกจ่ายอุปกรณ์เครื่องมือเหล่านี้ 

“ไม่ใช่แค่เพียงปัญหาอุปกรณ์ ยังมีปัญหาด้านการผลิต ปัญหาวัตถุดิบ การแจกจ่าย ข้อผิดพลาด และการแข่งขันกันระหว่างประเทศสมาชิก นี่จึงเป็นความท้าทายที่ซับซ้อน และต้องมีวิธีการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหาให้ได้ผล” ไมเคิล ไรอัน หัวหน้าโครงการฉุกเฉินด้านสุขภาพของ WHO กล่าว 

AFP

สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างคือ บุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถเข้าไปทำงานได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน นั่นเป็นเพราะปัจจัยหนึ่งของการระบาดใหญ่ครั้งนี้ คือแต่ละประเทศที่อยู่ในทวีปเดียวกันไม่ได้รับผลกระทบในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่ประเทศหนึ่งยังไม่มีการแพร่ระบาด อีกประเทศก็กำลังปพร่ระบาดอย่างรุนแรง หากมีการรับมือที่รวดเร็วมากกว่านี้ “เราจะสามารถเคลื่อนย้ายคนทำงานทางแพทย์ได้เร็วกว่านี้ไปยังพื้นที่เหล่านั้น และเราก็จะสามารถรักษาชีวิตได้เพิ่มอีกมาก” 

เงินเป็นสิ่งสำคัญ

การรักษาระบบการตรวจจับและตอบสนองต่อโรคให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ต้องใช้เงิน แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ไปกว่าการรวบรวมเงินทุนที่เพียงพอ ก็คือการทำให้แน่ใจว่าแหล่งเงินทุนนี้มีความน่าเชื่อถือ 

ความเหลื่อมล้ำเป็นภัยต่อทุกคน

การระบาดใหญ่ครั้งนี้ ไม่เพียงชี้ให้เห็นปัญหาความไม่เท่าเทียมของโลกในด้านสาธารณสุข แต่การรับมือของโลกก็หยั่งรากลึกลงไปที่ความเหลื่อมล้ำเหล่านั้น เช่น วัคซีน เป็นต้น

“วัคซีนมากกว่า 10 ล้านโดสแจกจ่ายให้กับประเทศที่ร่ำรวยไปแล้ว แต่ถ้าดูจากแผนการที่มีตอนนี้ วัคซีนจะไปไม่ถึงทวีปแอฟริกาจนกว่าจะถึงปี 2022 หรือ 2023 ด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ที่ประชาชนในประเทศร่ำรวยจะได้รับวัคซีนแล้ว 100% ขณะที่ประเทศยากจนได้รับวัคซีนแค่ 20% เท่านั้น” เชอร์ลีฟ กล่าว

AFP

ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ WHO ก็พูดตรงกัน โดยเขาได้ระบุว่า แม้ WHO จะทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศองค์กรและรัฐบาลจากหลายประเทศ เพื่อสร้างระบบ COVAX ขึ้นมา เพื่อจัดซื้อวัคซีนให้กับประเทศรายได้น้อย หรือประเทศรายได้ปานกลางสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ แต่ COVAX ก็ถูกประเทศร่ำรวยตัดราคา

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการก็เห็นพ้องว่า ยังไม่สายเกินไปที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยประเทศร่ำรวยหลายประเทศที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายกับบริษัทยาขนาดใหญ่ ก็เต็มใจที่จะบริจาควัคซีนบางส่วนให้กับโครงการ COVAX แล้ว 

เหตุผลที่การระบาดใหญ่ครั้งนี้ป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการในที่สุด

แม้ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ให้ข้อแนะนำไปแล้ว แต่หลายคนก็ตระหนักดีว่า ความพยายามในการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดใหญ่ที่เคยทำมานั้นล้มเหลว 

AFP

“โรคระบาดใหญ่โรคใหม่ หรือภัยคุกคามต่อสุขภาพครั้งใหญ่ มีการประเมินมากมายที่เกิดขึ้นพร้อมกับข้อแนะนำทั้งหลาย ที่อาจมีจำนวนมากจนไม่สามารถจะนับได้ แต่ก็มีเพียงไม่กี่ข้อที่ถูกนำไปดำเนินการจริง” เชอร์ลีฟ กล่าว 

แต่เธอก็แสดงออกถึงความหวังว่า ว่าวิกฤตในครั้งนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างได้ โดยถือเป็นโอกาสพิเศษที่จะใช้ช่วงเวลานี้ “รีเซ็ตระบบ” ที่เคยทำกันมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook