"แม่โจ้" เสิร์ฟ 2 เมนูอารมณ์ดี "ไข่เจียว-เทมปุระ" จากใบกัญชาออแกนิก

"แม่โจ้" เสิร์ฟ 2 เมนูอารมณ์ดี "ไข่เจียว-เทมปุระ" จากใบกัญชาออแกนิก

"แม่โจ้" เสิร์ฟ 2 เมนูอารมณ์ดี "ไข่เจียว-เทมปุระ" จากใบกัญชาออแกนิก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และศาสตราจารย์ ดร.อานัฐ ตันโช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้รับผิดชอบดูแลโครงการปลูกและเก็บเกี่ยวกัญชาเพื่อทางการแพทย์ในระบบอินทรีย์ระดับอุตสาหกรรม ร่วมกันเปิดโครงการรับสมัครผู้ปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นวันแรกที่กระกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ เรื่องการอนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชง(Hemp) โดยมีประชาชนผู้สนใจจำนวนมากและผู้ประกอบการเอกชน 5 รายที่รับซื้อผลผลิตกัญชงเข้าร่วม พร้อมมีเจ้าหน้าที่หน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ชี้แจงรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ทั้งนี้มีการนำใบกัญชาสดปรุงเป็นเมนูอาหาร ได้แก่ ไข่เจียวและเทมปุระ พร้อมกับน้ำชาจากยอดอ่อนกัญชาแห้ง ให้กับผู้ร่วมทดลองรับประทานด้วย ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก

อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในเรื่องการปลูกกัญชงเพื่อการค้าพาณิชย์ หลังจากที่กฎกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ เรื่องการอนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชง(Hemp)  เริ่มตั้งวันที่ 29 ม.ค.64  จึงจัดให้มีโครงการนี้นำเอกชนมาเชื่อมโยงกับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจปลูก พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ข้อมูลรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ส่วนมหาวิทยาลัยแม่โจ้พร้อมสนับสนุนถ่ายทอดในเรื่ององค์ความเกี่ยวกับการปลูก โดยเฉพาะการปลูกเชิงคุณภาพและปลูกแบบอินทรีย์ หลังจากที่ประสบความสำเร็จด้วยดีมาแล้วในการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์ระบบอินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งเชื่อมั่นว่ากัญชงจะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญต่อไปในอนาคต

ขณะเดียวกันรองศาสตราจารย์วีระพล เปิดเผยด้วยว่า จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกัญชาและกัญชง โดยผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย ในอนาคตอันใกล้นี้มหาวิทยาลัยกำลังจะมีเมล็ดพันธุ์ที่เป็นสายพันธุ์ของตัวเองที่พัฒนาขึ้นมาและเป็นสายพันธุ์ไทยด้วย ทั้งนี้นอกจากเรื่องการปลูกให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพแล้ว ยังให้คณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยร่วมกันค้นคว้าพัฒนาในเรื่องของการนำกัญชาและกัญชงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วย ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง เครื่องปรุงรส หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าด้วย ซึ่งเบื้องต้นมีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบปรุงอาหารได้ 2 เมนู ได้แก่ ไข่เจียว และเทมปุระ ที่ได้สูตรมาจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กับเครื่องดื่มชา พร้อมเตรียมแผนทดลองทำจำหน่ายให้กับผู้สนใจต่อไปด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook