อันดับร่วง! เผยดัชนีรับรู้ทุจริต ไทยรั้งที่ 104 ของโลก ตลอด 7 ปี รบ.บิ๊กตู่ ร่วงมา 19 อันดับ

อันดับร่วง! เผยดัชนีรับรู้ทุจริต ไทยรั้งที่ 104 ของโลก ตลอด 7 ปี รบ.บิ๊กตู่ ร่วงมา 19 อันดับ

อันดับร่วง! เผยดัชนีรับรู้ทุจริต ไทยรั้งที่ 104 ของโลก ตลอด 7 ปี รบ.บิ๊กตู่ ร่วงมา 19 อันดับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา  องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ได้ประกาศคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจำปี 2020 (พ.ศ. 2563) จากจำนวน 180 ประเทศทั่วโลก

โดยประเทศเดนมาร์กและประเทศนิวซีแลนด์ ยังครองตำแหน่งอันดับที่ 1 ของโลก ด้วยคะแนนสูงสุด 88 คะแนน

ในขณะที่ประเทศไทยได้ 36 คะแนน เท่ากับปี 2019 (พ.ศ. 2562) จัดอยู่ในอันดับที่ 104 ของโลก ลดอันดับลงมาจากปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 101 ของโลก ส่วนอันดับในประเทศอาเซียน อยู่ในอันดับที่ 5 ขยับขึ้นมาจากปี 2019 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 6 ซึ่งสิงคโปร์ ได้คะแนนสูงสุด คือ 85 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก

เมื่อเทียบคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ที่ประเมินโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา พบว่ามีคะแนนและลำดับขึ้น-ลง ดังนี้

ปี 2557 ได้ 38 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 85 ของโลก ที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน

ด้าน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม รับทราบที่ประเทศไทยมีคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ประจำปี 2020 อยู่ในอันดับ 104 ของโลกจาก 180 ประเทศ ตามประกาศขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อันดับของไทยถูกปรับขึ้นลงตามปัจจัยที่ผันแปรในแต่ละปี เช่น แหล่งข้อมูลที่สำรวจ หรือจำนวนประเทศ เป็นต้น

อนุชา บอกว่า แม้ว่าปีนี้ไทยจะขยับลงไป 3 อันดับ แต่ไทยยังคงรักษาคะแนนรวมไว้ได้ตลอด 3 ปี ตั้งแต่ปี 2018-2020 ที่ 36 คะแนน นอกจากนี้ อันดับของไทยในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 19 จาก 31 ประเทศ ส่วนอันดับในอาเซียนดีขึ้นจากอันดับ 6 เป็นอันดับ 5

โฆษกรัฐบาล เผยว่า นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียด และทบทวนการปฏิบัติงานใหม่ โดยสิ่งใดที่เป็นข้อแนะนำของ TI เช่น การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานตรวจสอบ การสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการเปิดเผยและความโปร่งใสในการได้รับสัญญา นั้น จะต้องได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำ ๆ อีกต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook