นักวิชาการจุฬา เฉลยเหตุผลเบื้องหลัง ทำไมกองทัพเมียนมาตัดสินใจทำรัฐประหารอีกครั้ง

นักวิชาการจุฬา เฉลยเหตุผลเบื้องหลัง ทำไมกองทัพเมียนมาตัดสินใจทำรัฐประหารอีกครั้ง

นักวิชาการจุฬา เฉลยเหตุผลเบื้องหลัง ทำไมกองทัพเมียนมาตัดสินใจทำรัฐประหารอีกครั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการจากจุฬาฯ ไขปริศนาเหตุผลเบื้องหลังที่ผู้นำกองทัพเมียนมาตัดสินใจทำรัฐประหารอีกครั้งในวันนี้

หลังจากเกิดกระแสข่าวมาหลายวันก่อนหน้านี้ ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาของวันนี้ (1 ก.พ.) กองทัพเมียนมาตัดสินใจทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล แม้ดูเหมือนเหตุผลที่พอจะปะติดปะต่อได้ผ่านการออกมาให้ข่าวก่อนหน้านี้ของผู้นำกองทัพจะให้น้ำหนักไปที่เรื่องการทุจริตเลือกตั้ง แต่ที่จริงแล้วอาจจะมีเบื้องลึกเบื้องหลังที่มากกกว่านั้น

รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมาขณะนี้ว่า

"ว่าด้วยสถานการณ์ใน #เมียนมา เท่าที่ผมพอจะเข้าใจคือ เดิม NLD และกองทัพ ต่างก็ต้องหวังพึ่งซึ่งกันและกัน แต่ในระยะหลังกองทัพเองก็ไม่ได้มีความเป็นเอกภาพมากนัก

ในอดีตกองทัพสนิทสนมกับจีน ว่าด้วยผลประโยชน์หลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงทรัพยากร แต่ในระยะหลัง เมื่อเมียนมาเปิดประเทศ ต่างชาติกลุ่มใหม่เข้ามามากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์เรื่อง ชนกลุ่มน้อยโกก้างในรัฐฉานติดชายแดนจีนทำให้หลายฝ่ายมองจีนเป็นภัยความมั่นคง

อีกด้านของพรมแดน ทางตะวันตก ปัญหาเรื่องเบงกาลี-โรฮิงญา ที่ชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซงก็ทำให้ หลายๆ ฝ่ายในประเทศกังวล

กองทัพคบจีนก็น่ากังวล รัฐบาลคบตะวันตกก็น่ากังวล ดังนั้นกองทัพกับรัฐบาลที่เคยต้องพึ่งพากันเหมือนเครื่องหมายหยิน-หยาง ที่ต่างกัน ตรงกันข้ามกัน แต่ต้องอยู่ด้วยกัน ถ่วงดุลกัน จึงเสียสมดุล

ประกอบกับ ในกลุ่มกองทัพเอง ระหว่างกลุ่มอาวุโส กับกลุ่มรุ่นใหม่ ก็ดูจะไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อก่อนอาจจะอยู่ด้วยกันได้ แต่ภายหลังเองหลังจากที่กองทัพบางหน่วยได้รับการสนับสนุนจาก อินเดีย (ซึ่งเป็นพันธมิตรสหรัฐ ในยุทธศาสตร์ อินโด-แปซิฟิก และเป็นคู่กรณีกับจีน) โดยเฉพาะเรื่อง เรือดำน้ำ เช่นเดียวกับที่รัฐบาลเองก็ได้รับการสนับสนุนเรื่องวัคซีนโควิดจากอินเดีย

นั่นทำให้ดุลอำนาจ และการพึ่งพาระหว่างจีน ตะวันตก และผู้เล่นใหม่คือ อินเดียเสียสมดุล และสมดุลเดิมระหว่าง NLD และกองทัพ (ซึ่งมี USDP เป็นตัวแทน) ก็เสียสมดุล เพราะกองทัพ มีความแตกตัวออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มนายทหารอาวุโส (สนิทจีน) กลุ่มทหารรุ่นใหม่ที่ยอมรับ NLD มากขึ้น กลุ่มทหารที่ต้องการคบคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่จีน

และจากประวัติศาสตร์เมื่อเสถียรภาพในกองทัพไม่มี การออกมาแสดงกำลังมักจะเกิดขึ้น เช่น หลัง 8888 ทหารฝ่ายเนวิน ถูกโค่นโดยฝ่ายตานฉ่วย

หรือในช่วงทศวรรษ 2000 ที่ตานฉ่วยก็โค่นตัวแทนของตนเองอย่างโซ่วิ่น-หม่องเอ แล้วแต่งตั้งเต็งเส่ง และในอนาคตอันใกล้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มิน อ่อง ลาย ก็กำลังจะเกษียณอายุ ในเดือนกรกฎาคมนี้ ดังนั้นการที่จะต้องกระชับอำนาจ ถ้าจะต้องทำ ก็ต้องรีบทำตอนนี้"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook