ไล่เหตุการณ์ #ม็อบ10กุมภา จากชุมนุมจวกรัฐรับมือโควิดแย่ จบด้วยแก๊สน้ำตา

ไล่เหตุการณ์ #ม็อบ10กุมภา จากชุมนุมจวกรัฐรับมือโควิดแย่ จบด้วยแก๊สน้ำตา

ไล่เหตุการณ์ #ม็อบ10กุมภา จากชุมนุมจวกรัฐรับมือโควิดแย่ จบด้วยแก๊สน้ำตา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหตุการณ์ก่อนชุมนุม

8 ก.พ.

เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และราษฎร โพสต์ลงในเฟซบุ๊ก ว่าจะจัดการชุมนุมที่สกายวอล์ก หน้าศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ แยกปทุมวัน ในชื่อการชุมนุมว่า "รวมพลคนไม่มีจะกิน" ด้วยการเตรียมหม้อหรือกระทะมาร่วม เพื่อจะเคาะขับไล่รัฐบาลและวิจารณ์การเยียวยาผู้ได้รับการผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งการเคาะอุปกรณ์ประกอบอาหารนี้เป็นวิธีประท้วงที่ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหารในเมียนมาใช้

9 ก.พ. 

ศาลอนุญาตให้ฝากขังแนวร่วมผู้ชุมนุม 4 คน ได้แก่ หมอลำแบงค์-ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม, เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายอานนท์ นำภา เพื่อรอการดำเนินคดีในข้อกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และกฎหมายอื่น

วันชุมนุม 10 ก.พ.

16.00 น. 

ประชาชนที่สนใจและเริ่มมารวมตัวกันบนสกายวอล์ก หน้าศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ซึ่งมีตำรวจอยู่ด้านบนด้วย และเมื่อเวลาผ่านไปก็มีผู้มาร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ 

17.00 น.

หลังจากประชาชนมาร่วมมากขึ้น ผู้ชุมนุมก็เคลื่อนมาด้านล่าง บริเวณลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีการปราศรัยในประเด็นต่างๆ ผู้ปราศรัยคนหนึ่ง คือ นางสาวธนพร วิจันทร์ ผู้นำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวระหว่างการชุมนุมว่าที่ผ่านมารัฐบาลไม่จริงใจช่วยเหลือแรงงานนัก

Mladen ANTONOV / AFP

ชาวเมียนมาหลายคนมาร่วมการชุมนุมครั้งนี้ด้วย ผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่งเผยว่า ตนทราบข่าวจากโซเชียลมีเดียและเห็นว่าการชุมนุมนี้เป็นการต่อต้านเผด็จการเช่นกัน ทั้งยังใช้วิธีการเคาะหม้อเหมือนที่เกิดขึ้นในเมียนมา จึงมาร่วมด้วย

Lillian SUWANRUMPHA / AFP

17.30 น.

มีการรายงานว่าผู้ชุมนุมบางคนพยายามนำป้ายผ้าเข้าพื้นที่สกายวอล์ก แต่ตำรวจสกัดเอาไว้ และเริ่มได้ยินการพูดถึงคนถูกตำรวจควบคุมตัว

Jack TAYLOR / AFP

17.30 น.

ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก แนวร่วมผู้ชุมนุมปราศรัยที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลและการบริหารจัดการวัคซีนโรคโควิด-19

Jack TAYLOR / AFP

ระหว่างนั้น แฮชแท็ก #ม็อบ10กุมภา เริ่มไต่อันดับเทรนด์ฮอตในเว็บไซต์ทวิตเตอร์ เพราะผู้ใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าวเริ่มพูดถึงมากขึ้น

18.30 น.

เห็นตำรวจถอนป้ายผ้าที่แขวนบนราวสกายวอล์ก ขณะที่การปราศรัยยังดำเนินต่อไป 

19.30 น.

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แนวร่วมผู้ชุมนุมได้กล่าวว่า มีผู้ชุมนุม 10 คน ถูกตำรวจจับตัวไปจากการชุมนุมครั้งนี้ จึงเชิญชวนผู้ชุมนุมเดินทางไปเรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัวคนเหล่านี้ ณ สถานีตำรวจนครบาล (สน.) ปทุมวัน

Mladen ANTONOV / AFP

19.45 น.

เดินทางมาถึง สน.ปทุมวัน

Mladen ANTONOV / AFP

19.50 น.

ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก ปราศรัยหน้า สน.ปทุมวัน และยื่นเงื่อนไขให้ตำรวจว่า หากไม่ปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวก่อนเวลา 20:30 น. ผู้ชุมนุมจะบุกเข้าไปด้านในของอาคาร สน.ปทุมวัน เหตุนี้ทำให้หลังจากนั้นไม่นานตำรวจเริ่มปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวออกมา

20.05 น.

ผู้ชุมนุมถูกปล่อยตัวแล้ว 7 คน และเหลือ 3

20.07 น.

ผู้ชุมนุมคนที่ 8 ได้รับการปล่อยตัว

20.13 น.

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล กล่าวว่าถ้าตำรวจปล่อยตัวทุกคนจนครบโดยเร็ว ก็จะยุติการชุมนุมเร็วด้วย

20.15 น.

ได้ยินเสียงคล้ายระเบิด จากฝั่งถนนบรรทัดทองหลายครั้ง มีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามวิ่งไปตามหาคนที่เชื่อว่าก่อเหตุ เหตุการณ์เริ่มชุลมุน

ไม่กี่นาทีต่อมา เริ่มมีการรายงานว่าผู้ชุมนุมบางส่วน แสบจมูก ดวงตา และคลื่นไส้ จากไอแก๊สน้ำตาที่ลอยมากับอากาศ นอกจากนี้ยังพบกระป๋องแก๊สน้ำตาใกล้กับจุดชุมนุมอีกด้วย

Lillian SUWANRUMPHA / AFPMladen ANTONOV / AFP

20.26 น.

ตำรวจ สน.ปทุมวัน เปิดเผยว่า ปล่อยผู้ชุมนุมแล้ว 9 คน แต่เหลืออีกคนเพราะมีคดีเกี่ยวกับความมั่นคงพ่วงด้วย จึงต้องใช้เวลาสอบสวน ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนโห่ออกมา ผู้ปราศรัยคนหนึ่งพยายามปราศรัยลดความโกรธแค้นของผู้ชุมนุม

20.50 น.

แถวของตำรวจที่ตั้งไว้ใกล้ถนนบรรทัดทอง ถูกผู้ชุมนุมปิดล้อมหน้าหลัง

Mladen ANTONOV / AFP

21.00 น.

ตำรวจปล่อยตัวผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวเมื่อช่วงที่ผ่านมาของวันนี้ครบทุกคน

รุ้ง ปนัสยา ปราศรัยว่า ราษฎร 2563 จะจัดอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาผู้แทนราษฎร โดยจะจัดคู่ขนานไปกับการอภิปรายไม่ไว้วางในในสภา ระหว่างวันที่ 16-19 ก.พ. และขอให้ผู้ชุมนุมและผู้สนใจติดตามการอภิปรายดังกล่าว 

รุ้ง ปนัสยา ประกาศยุติการชุมนุม และกล่าวให้ผู้ชุมนุมทยอยเดินทางกลับบ้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook