"กองปราบ" ย้ำ แต่งงานซ้อนทั้งที่มีทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าผิดกฎหมาย-ฟ้องร้องได้

"กองปราบ" ย้ำ แต่งงานซ้อนทั้งที่มีทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าผิดกฎหมาย-ฟ้องร้องได้

"กองปราบ" ย้ำ แต่งงานซ้อนทั้งที่มีทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าผิดกฎหมาย-ฟ้องร้องได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แนะอีกฝ่ายฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน "กองปราบ" ย้ำ แต่งงานซ้อนทั้งที่มีทะเบียนสมรสแล้ว ถือว่าผิดกฎหมาย

ภายหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ กรณีสิบตำรวจตรี อายุ 34 ปี เข้าพิธีมงคลสมรส กับหญิงสาวรายหนึ่งในพื้นที่ จ.ชัยนาท ระหว่างนั้น ฝ่ายภรรยาหลวง ถือทะเบียนสมรสบุกเข้าไปในงานพร้อมตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบของฝ่ายชาย ขณะที่ผู้คนในสังคมต่างตั้งตำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย

ล่าสุด แฟนเพจ "กองปราบปราม" โพสต์ข้อความอธิบายว่า การแต่งงานซ้อน โดยที่อีกฝ่ายยังมีทะเบียนสมรส ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยระบุว่า

มีทะเบียนสมรสอยู่แล้ว แต่ไปแต่งงานใหม่ ทำได้รึเปล่า??

การที่สามี หรือภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้แอบไปจัดงานแต่งงานกับหญิง หรือชายอื่น มีแขกมีเพื่อน มีญาติพี่น้องมาร่วมแสดงความยินดีด้วยนั้น พฤติการณ์เช่นนี้ทางกฎหมายถือว่า หญิง หรือชายคนนั้นได้ยกย่องชาย หรือหญิงอื่นอย่างสามี หรือภริยาของตนแล้ว

นกรณีเช่นนี้ เรามาดูสิทธิตามกฎหมายของสามี หรือภริยาตามกฎหมาย ว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

  1. สามารถฟ้องหย่า ”สามี หรือภริยา” ได้ (ป.พ.พ. 1516(1))
  2. สามารถฟ้อง ”ชาย หรือหญิงอื่น” เพื่อเรียกค่าทดแทนได้ (ป.พ.พ. มาตรา 1523)
  3. สามารถฟ้อง ”สามี หรือภริยา” เพื่อเรียกค่าทดแทนได้ (ป.พ.พ. มาตรา 1523)
  4. สามารถฟ้องทั้ง ”สามี หรือภริยา" และ "ชาย หรือหญิงอื่น” เพื่อเรียกค่าทดแทนพร้อมกันก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 1523)
  5. ถ้าการหย่าทำให้ “สามี หรือภริยา” ยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ (ป.พ.พ มาตรา 1526 และฎีกาที่ 8046/2556)

ดังนั้น การที่สามี หรือภริยา ที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย แอบไปจัดงานแต่งงาน กับชาย หรือหญิงอื่น นั้นไม่สามารถทำได้
นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นการหักหาญน้ำใจของอีกฝ่ายอีกด้วย

นอกจากนี้ยังแนะนำให้คู่สามี -ภรรยาที่ประสบปัญหาคล้ายกรณีดังกล่าว สามารถเข้าปรึกษาได้ที่ "ศาลเยาวชน และครอบครัว" ในท้องที่ที่ท่านอาศัยอยู่ เพื่อดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook