ปัญหาที่ "อาระเบียหรรษา" ก็คือ การต่อสู้ระหว่างนิกายนี่เอง!

ปัญหาที่ "อาระเบียหรรษา" ก็คือ การต่อสู้ระหว่างนิกายนี่เอง!

ปัญหาที่ "อาระเบียหรรษา" ก็คือ การต่อสู้ระหว่างนิกายนี่เอง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมัยโบราณ ชาวกรีซเรียกดินแดนบริเวณทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ของคาบสมุทรอาระเบียว่า Arabia Felix หรืออาระเบียหรรษา ที่ในปัจจุบันคือดินแดนในประเทศเยเมน โดยที่ดินแดนแถบนี้มีปริมาณน้ำฝนที่ชุ่มฉ่ำที่สุดในคาบสมุทรอาระเบียที่เป็นทะเลทรายส่วนใหญ่

ดังนั้นบริเวณที่เรียกว่าอาระเบียหรรษาจึงเป็นดินแดนที่เขียวขจีอุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้นานาชนิดและในสมัยโบราณบริเวณนี้ก็ยังเป็นศูนย์กลางผูกขาดการค้าอบเชยและเครื่องเทศของเส้นทางการค้าเครื่องเทศอีกด้วยจึงเป็นดินแดนที่มั่งคั่งอุดมบูรณ์และหรรษาสมชื่อนั่นเอง

ปัจจุบันดินแดนอาระเบียหรรษาคือดินแดนส่วนหลักของประเทศเยเมนหรือสาธารณรัฐเยเมนคือพื้นที่ร้อนและชื้นตามชายฝั่งตะวันตกของเยเมนและภูเขาทางตะวันตกมีลมมรสุมนำฝนมาตกปีละ 2 ฤดูแต่พื้นที่ ส่วนใหญ่ของเยเมนเป็นทะเลทรายซึ่งร้อนที่สุดอยู่ทางตะวันออกของประเทศ

ประเทศเยเมนตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรอาระบียมีเนื้อที่ประมาณ 527,970 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งจรดทะเลอาหรับและอ่าวเอเดนทางทิศใต้และจรดทะเลแดงทางทิศตะวันตก มีพรมแดนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับโอมานส่วนพรมแดนด้านอื่น ๆ ติดกับซาอุดิอาระเบีย

เยเมน เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะเป็นดินแดนที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลแดงกับมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองท่าเอเดนที่สำคัญต่อการขนส่งสินค้าและน้ำมันของโลก โดยการขนส่งน้ำมันในภูมิภาค ตะวันออกกลางไปสู่ยุโรปจะใช้เส้นทางการเดินเรือจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านคลองสุเอซในประเทศอียิปต์ ผ่านทะเลแดงลงมาทางใต้ ผ่านช่องแคบมันเดบและอ่าวเอเดนในเยเมนออกสู่ทะเลอาหรับและมหาสมุทรอินเดียผ่านไปจนถึงทวีปเอเชีย

การเปิดเส้นทางนี้จะช่วยทำให้การเดินเรือสะดวกสบายยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องเดินทางอ้อมแหลมกู้ดโฮปในทวีปแอฟริกา อีกทั้งเส้นทางนี้ยังสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางจากเป็นเดือนให้ลดลงมา เหลือไม่กี่สิบชั่วโมงได้อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ เยเมนเคยแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน (เยเมนเหนือและเยเมนใต้) เป็นระยะเวลานานกว่า 200 ปี โดยเยเมนเหนือตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรออตโตมาน ส่วนเยเมนใต้นั้นเป็นอาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษเมื่อได้เอกราชมาแล้วก็ถูกแทรกแซงต่างชาติ อาทิ อียิปต์ สหภาพโซเวียต ซาอุดิอาระเบีย ฯลฯ เรื่อยมาจนกระทั่งเพิ่งเข้ามาผนวกรวมเป็นชาติเดียวกันเมื่อปี 2533 (ประมาณ 31 ปีที่ผ่านมา) โดยมีกรุงซานาเป็นเมืองหลวง

นับตั้งแต่เยเมนรวมประเทศแล้วก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของซาอุดิอาระเบียมาโดยตลอด

อาหรับสปริงจุดสงครามกลางเมืองเยเมน

เมื่อเกิดปรากฏการณ์ "อาหรับสปริง" อันเป็นกระแสการชุมนุมขับไล่ผู้นำประเทศในโลกอาหรับซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเผด็จการอำนาจนิยมหรือเผด็จการทหารที่กดขี่ประชาชนชาวอาหรับทุกประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางโดยเริ่มขึ้นที่ประเทศตูนิเซียเป็นอันดับแรก ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 2553

สำหรับประเทศเยเมนก็เกิดปรากฎการ์อาหรับสปริงขึ้นเมื่อปี 2554 เริ่มเกิดการต่อต้าน นายอาลี อับดุลเลาะห์ ซอเลห์ ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งมานานกว่าสองทศวรรษ จนกระทั่งประธานาธิบดีซอและห์ลาออกเมื่อต้นปี 2555 รัฐบาลใหม่นำโดยนายอะดรับบูห์ มันซูร์ ฮาดี (อดีตรองประธานาธิบดีของรัฐบาลซอและห์) ซึ่งพยายามสู้รบกับกองกำลังอัลเคดาห์และกลุ่มกองกำลังของพวกฮูตี

ฮุตี เป็นกลุ่มมุสลิมชีอะห์ที่แตกต่างจากชาวเยเมนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นมุสลิมสุหนี่ กลุ่มนี้ก่อความไม่สงบมาเป็นเวลาหลายปี หลังการสู้รบในกรุงซานาเมื่อเดือน ก.ย. 2557 กลุ่มฮูตี (Houthis) ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านผู้เป็นพี่เบิ้มใหญ่ของชาวตะวันออกกลางผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ก็เข้ายึดเมืองหลวงได้สำเร็จ โดยกลุ่มฮูตีได้แต่งตั้ง นายมูฮัมมัด อาลี อัลฮูตี ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ ในขณะที่ประธานาธิบดีฮาดีหลบหนีไปยังเมืองเอเดนทางตอนใต้ของเยเมน และประกาศว่าตนยังคงเป็นประธานาธิบดีแห่งเยเมน พร้อมทั้งประกาศให้เอเดนเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศ

มหาอำนาจแทรกแซง-ถือหางฝ่ายตัวเอง

กลุ่มฮูตีและกองกำลังอัลเคดาห์ที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีซอเลห์ต่างก็พยายามโจมตีบุกเมืองเอเดน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลฮูดีถูกจับตัวได้ในวันที่ 25 มี.ค. 2558 และในวันเดียวกันชาติอาหรับหลายประเทศนำโดยซาอุดีอาระเบียซึ่งผู้นำของประเทศเหล่านั้นนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ทั้งสิ้นเริ่มปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มฮูตีทางอากาศโดยได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐอเมริกาซึ่งโดยสรุปแล้วสงครามกลางเมืองเยเมนคือสงครามตัวแทนระหว่างซาอุดิอาระเบียผู้นำทางนิกายสุหนี่กับอิหร่านผู้นำทางนิกายชีอะห์นั่นเอง

สงครามกลางเมืองของเยเมนนี้องค์การสหประชาชาติประเมินว่าอัตราการเสียชีวิตของเด็กในเยเมน อยู่ที่ประมาณ 10 คนต่อนาที จากโรคต่างๆ ที่สามารถรักษาได้หากอยู่ในสถานการณ์ปกติ ขณะที่เด็กน้อยอายุต่ำกว่า 5 ปี อีกกว่า 500,000 คน กำลังตกอยู่ในสภาพขาดอาหาร ทางองค์การสหประชาชาติคาดว่า ประชากรเยเมนจำนวน 2 ใน 3 หรือประมาณ 19 ล้านคน กำลังต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน หลังประเทศตกอยู่ท่ามกลางการสู้รบยืดเยื้อมานานร่วม 7 ปีแล้ว

ในที่สุดเมื่อ นายโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาแล้วก็ได้ประกาศว่าสงครามกลางเมืองเยเมนต้องยุติโดยสหรัฐอเมริกาจะเลิกให้การสนับสนุนการโจมตีทางอากาศของซาอุดิอาระเบียในทันทีแต่ยังคงรับรองว่าจะเข้าช่วยซาอุดิอาระเบียอย่างเต็มที่หากซาอุดิอาระเบียถูกโจมตีจากประเทศศัตรูอันเป็นการแบะท่าให้ฝ่ายกบฏฮูตีเข้าครอบครองเยเมนทั้งประเทศได้ต่อไปนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook